นิทรรศการออนไลน์

for w3c
ภาพตัวอย่าง

วิฬาร์ วิลาส การเดินทางของแมวในวิถีไทย

นิทรรศการ “วิฬาร์ วิลาส การเดินทางของแมวในวิถีไทย” ประวัติความเป็นมา              แมว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก ลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว บริเวณช่วงขาจะสั้น มีทั้งขนสั้นและขนยาวในบางสายพันธุ์ มีความเชื่อกันว่าแมวมีบรรพบุรุษตระกูลเดียวกับเสือซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากสัตว์ป่าในทวีปแอฟริกา แมวมีชื่อในภาษาละตินหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “เฟลิส คาตัส” (Felis Catus) ชื่อภาษาอังกฤษ คือ “แคท” (Cat) และชื่อที่ปรากฎบนอักษรภาพเฮียโรกลิฟฟิคของอียิปต์ คือ “เมียว” (Miu หรือ Mau)     แมวในอารยธรรมอียิปต์             ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการบูชาแมวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีความเชื่อว่าแมวเป็นเทพเจ้าจำแลง มาเกิดเป็นเทพีบาสเทท (Bastet) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความรัก ความอุดมสมบูรณ์ ช่วยต่อต้านสิ่งชั่วร้ายและความเจ็บป่วย โดยเทพีองค์นี้มีส่วนหัวเป็นแมว มีร่างกายเป็นสตรี ชาวอียิปต์จึงเชื่อกันว่าแมวช่วยทำให้อียิปต์ มีความเจริญรุ่งเรือง เพราะแมวสามารถช่วยควบคุมและกำจัดหนูซึ่งเป็นศัตรูที่ทำลายพืชผลทางการเกษตรและการแพร่เชื้อกาฬโรคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระบาดในสมัยนั้น ส่งผลให้อียิปต์มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และพลเมืองไม่ต้องล้มตายลงด้วยกาฬโรคเหมือนกับประเทศอื่น ๆ จึงสามารถแผ่ขยายอาณาจักรออกไปได้เป็นเวลาหลายพันปีThe British Museum, Bastet, n.d..ที่มา : https://www.britishmuseum.org/collection/object/Y_EA25565 รูปปั้นบรอนซ์ของ Bastet ผลิตในอียิปต์ยุคปลาย ช่วง 900 - 600 ก่อนคริสต์ศักราช               นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายห้ามนำแมวออกนอกราชอาณาจักร ถ้าผู้ใดพบแมวนอกราชอาณาจักรจะต้องนำกลับคืนสู่อียิปต์ และหากผู้ใดทำการฆ่าหรือทำร้ายแมวจะถูกลงโทษถึงประหารชีวิต หรือเมื่อมีแมวตายในบ้านคนในครอบครัวจะต้องโกนขนคิ้วเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ และต้องนำศพแมวที่ตายนั้นไปทำเป็นมัมมี่บรรจุ ลงในหีบศพรูปตัวแมว และฝังในสุสานของแมวเป็นการเฉพาะ บ้างก็มีการทำหุ่นโลหะรูปแมวฝังลงไปด้วย บางครั้งก็มีการสร้างวิหารขนาดใหญ่ให้แมวด้วยเช่นกัน ซึ่งการทำมัมมี่แมวของชาวอียิปต์ถือว่าเป็นเครื่องบูชาทางศาสนา     The British Museum, Animal Mummy; Mummy-wrapping, n.d..ที่มา : https://www.britishmuseum.org/collection/object/Y_EA37348     แมวในอารยธรรมโรมัน               ชาวกรีกได้ลักลอบนำแมวออกจากอียิปต์ จำนวน 6 คู่ หลังจากนั้นมีการขยายพันธุ์และขายต่อไปยังกลุ่มชาวโรมัน โดยชาวโรมันมองว่า “แมว” เป็นสัตว์สัญลักษณ์แห่งเสรีภาพและอิสรภาพ สะท้อนได้จาก เทพเจ้าลิเบอร์ตัส (Libertas) เทพเจ้าแห่งเสรีภาพที่มักจำแลงกายเป็นแมว ที่สำคัญในกองทัพทหารจักรวรรดิโรมันมักจะนำแมวเข้าประจำการในป้อมปราการด้วย เพื่อช่วยในการจับหนูที่กัดกินอาหารในคลังและหนัง ซึ่งเป็นชุดเกราะและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เสียหาย ดังนั้นแมวจึงถูกยกย่องสรรเสริญและกลายเป็น มิตรคู่กายของทหาร ภาพโมเสกแบบโรมัน ช่วงปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช Raddato, Carole, Cat with a Quail Mosaic, House of the Faun, 2019.ที่มา : https://www.worldhistory.org/image/10663/cat-with-a-quail-mosaic-house-of-the-faun/#google_vignette     แมวยุคกลางในทวีปยุโรป               ชาวยุโรปมีความเชื่อว่า “แมว” เป็นตัวแทนของความชั่วร้ายต่าง ๆ และเป็นสัตว์บริวารของพ่อมดและแม่มดโดยเฉพาะแมวดำ หากชาวยุโรปคนใดเลี้ยงแมวจะถูกประณาม อีกทั้งถ้าเป็นคนแก่เลี้ยงแมวด้วยแล้วจะต้องโดนจับเผาทั้งเป็นไม่ว่าจะเป็นคนหรือแมว ซึ่งช่วงนี้เองที่ทำให้เชื้อกาฬโรคระบาดหนักในยุโรปสันนิษฐานว่าเป็นเพราะมีหนูแพร่พันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่แมวกลับลดจำนวนลง ภาพวาดสีน้ำมัน The Witches’ Cove โดย Jan Mandijn สมัยศตวรรษที่ 16 แสดงภาพนิมิตของชาวบอสเชียเกี่ยวกับแมวและการการเฉลิมฉลองของแม่มด Hamer, Suzan, The Witches' Cove, 2018.ที่มา : https://arthur.io/art/follower-of-jan-mandijn/the-witches-cove     แมวในประเทศจีน               ประเทศจีนพบแมวครั้งแรกในราชสำนักจากการถูกนำไปเป็นของกำนัลแด่จักรพรรดิ ซึ่งต่อมาขุนนาง พระ และสามัญชนจึงได้รับอนุญาตให้เลี้ยงแมวได้ โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังมีพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าแมว ซึ่งจัดขึ้นในช่วงฤดูทำนา เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ พิธีดังกล่าวมาจากการที่ประชาชนต้องการขอบคุณ เหล่าแมวที่ช่วยกำจัดหนูนาซึ่งเป็นตัวทำลายพืชผลทางการเกษตร โดยพิธีดังกล่าวได้มีการบันทึกในพงศาวดารสมัยราชวงศ์ถังฉบับเก่าไว้ว่า              “เมื่อถึงทุกสิ้นปี การทำนาแล้วเสร็จ ฮ่องเต้จะจัดพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้า 100 องค์ ในเขตชานเมืองทางใต้ของเมืองหลวง ซึ่งเทพเจ้าแมวก็เป็นหนึ่งในนั้น อาหารที่จะนำมาบูชาแมวเป็นชุดเล็ก คือ แกะและหมูอย่างละหนึ่ง”              นอกจากนี้ ชาวบ้านในสมัยราชวงศ์ถังยังให้เกียรติแมว โดยหากผู้ใดต้องการเลี้ยงแมวจะต้องได้รับคำมั่นสัญญาจากเจ้าของแมวตัวเมียเสียก่อน แล้วรอให้ลูกแมวคลอด หรือหากจะรับแมวแม่ลูกอ่อนออกไป ก็ต้องส่งสินสอดให้คล้ายกับการแต่งงานของคน ส่วนในสมัยราชวงศ์ซ่งแมวถูกยกย่องว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ซื่อสัตย์และเป็นสัตว์สัญลักษณ์แห่งความโชคดีอีกด้วย ภาพวาดแมวชุด “Tang Yuan Playing in Spring” ของจักรพรรดิเซวียนเต๋อ แห่งราชวงศ์หมิง ที่มา : https://roll.sohu.com/a/529311459_120217020     แมวในประเทศญี่ปุ่น               แมวถูกนำไปเลี้ยงในประเทศญี่ปุ่นโดยชาวจีนซึ่งมากับเรือสินค้าจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง ชาวญี่ปุ่นในสมัยโบราณนิยมเลี้ยงแมวเพื่อปกป้องคลังอาหารเช่นเดียวกับอียิปต์ อีกทั้งหนูยังทำลายกัดกินพระไตรปิฎกที่จัดเก็บในวัด พระจึงต้องอาศัยแมวเป็นตัวช่วยในการจับหนู แมวในประเทศญี่ปุ่นจึงถูกยกย่องว่าเป็นผู้ปกป้องหนังสือหายาก และในวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมองว่าแมวเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี ซึ่งจะเห็นได้จากเครื่องรางรูปแมวกวัก ชื่อว่า “มาเนกิ เนะโกะ (Maneki Neko)” Nyan Nyan Ji ศาลเจ้าแมว ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น แมวกวักในประเทศญี่ปุ่น ชื่อว่า มาเนกิเนะโกะ (Maneki Neko) บ้านและสวน Pets, Nyan Nyan Ji, 2565.ที่มา : https://www.facebook.com/BaanlaesuanPets/posts/pfbid056ix5fzRYEyPoxSd9Sw9t27v7nUcscKFKzJhsFJFwuP8V7sfgRxpmrknN8GgUb1ilJapan National Tourism Organization, มาเนกิเนะโกะ (Maneki Neko), ม.ป.ป..ที่มา : https://www.jnto.or.th/newsletter/maneki-neko/     แมวในประเทศไทย               ประเทศไทยมีการเลี้ยงแมวมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพื่อใช้จับหนูที่ทำลายพืชผลทางการเกษตรเช่นเดียวกับประเทศอียิปต์และญี่ปุ่น เดิมเรียกแมวว่า “ชมา” แต่ไม่เป็นที่นิยม ต่อมาในสมัยอยุธยาแมวถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่ขุนนาง เพราะมีความเชื่อว่าหากเลี้ยงแมวที่มีลักษณะมงคลจะทำให้มียศถาบรรดาศักดิ์ที่สูงขึ้น ดังปรากฎหลักฐานเป็นสมุดไทยบันทึกตำราแมวดีและไม่ดี              ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แมวได้ถูกเลี้ยงเฉพาะในวัง ประชาชนไม่มีสิทธิ์เลี้ยงแมวได้โดยเฉพาะพันธุ์ขาวมณีและวิเชียรมาศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแมววิเชียรมาศ ให้กับนายโอเวน กูลด์ (Mr. Owen Gould) กงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย เพื่อเป็นทูตสันถวไมตรี ซึ่งได้นำไปให้แก่น้องสาวที่ประเทศอังกฤษอีกทอดหนึ่ง หลังจากนั้นแมวคู่นี้ได้ถูกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน The Crystal Palace ที่ประเทศอังกฤษ จากการประกวดในครั้งนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ชาวอังกฤษนิยมหันมาเลี้ยงแมวไทยกันมากขึ้น จนได้จัดตั้ง The Siamese Cat Clubs ในปี พ.ศ. 2443 และ The Siamese Cat Society of the British Empire ในปี พ.ศ. 2471 ทำให้แมววิเชียรมาศจดทะเบียนเป็นสัตว์พันธุ์แท้ของโลกโดยใช้ชื่อว่า “ไซมิสแคท (Siamese Cat)” แมวไทยจึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าแมวไทยสามารถทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงได้ทรงพระราชทานแมวไทยให้กับหลาย ๆ ประเทศ จนแมวไทยและประเทศไทยกลายเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เจ้าฟ้าชายซาเรวิช อะเล็กเซ (Tsarevich Alexei) มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิรัสเซีย พระราชโอรสของพระเจ้าซาร์นิโครัสที่ 2 ทรงอุ้มแมวพันธุ์วิเชียรมาศ เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรกับแมวพันธุ์วิเชียรมาศ Cats of Thailand, แมววิเชียรมาศ, ม.ป.ป.. ที่มา :  https://catsofthailand.wordpress.com               ในปี พ.ศ. 2502 นางยีน จอห์นสัน (Mrs.Jean Johnson) ได้เดินทางมาประเทศไทย และได้นำแมวโคราช (แมวสีสวาด แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา) กลับไปเลี้ยงที่สหรัฐอเมริกา 2 ตัว ชื่อ “นารา” และ “ดารา” จึงมีการก่อตั้งสมาคมผู้เลี้ยงแมวไทยพันธุ์โคราชขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในเวลาต่อมาได้มีการจดทะเบียนแมวโคราชเป็นสัตว์ประจำชาติไทยในปี พ.ศ. 2552   แมวพันธุ์วิเชียรมาศ แมวโคราช (แมวสีสวาด แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา) ALTV All Around, แมววิเชียรมาศ, 2564. ที่มา : https://www.inu-manga.com/manga/in-this-life-i-will-be-the-lord/ ข่าวสด, สวัสดี สีสวาด, 2563. ที่มา : https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_493446               หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคต แมวไทยที่มีการเลี้ยงอยู่ในวังได้ถูกลืมและถูกมองข้ามความสำคัญไป เป็นสาเหตุทำให้แมวถูกทิ้งตามวัดและสถานที่ต่าง ๆ ส่งผลให้แมว เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ แมวไทยสายพันธุ์แท้จึงหายสาบสูญและหายากในปัจจุบัน แมวจรจัดซึ่งเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ Tnews, คนใจร้ายนำน้องแมวมาปล่อยวัด, 2564. ที่มา : https://www.tnews.co.th/social/552547     ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีไทยที่เกี่ยวข้องกับแมว               แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นการเกิด การแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างแมวกับความเชื่อของคนไทย มีทั้งเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์มงคล เลี้ยงไว้แล้วจะให้คุณแก่เจ้าของ เช่น โชคลาภ ความเจริญในยศถาบรรดาศักดิ์ และความเชื่อเรื่องแมวเป็นสัตว์ไม่มงคล เลี้ยงไว้แล้วจะทำให้เกิดโทษแก่ผู้เลี้ยง เป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย           แมวในประเพณีการเกิด               คนไทยจะใช้แมวคราว ร่วมกับฟักและหินบดยาในพิธีลงอู่หรือลงเปลของเด็กทารก โดยในพิธีกรรม ต้องอุ้มเด็กทารกลงนอนในเปลพร้อมกับของ 3 สิ่งดังกล่าว จากนั้นไกวเปล 3 ครั้ง ขณะที่ไกวเปลนั้นผู้ใหญ่จะกล่าวคำให้พรแก่เด็กว่า “ให้เย็นเหมือนฟัก ให้หนักเหมือนแฟง ให้อยู่เรือนเหมือนก้อนเส้า เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว” ซึ่งของแต่ละชนิดมีความหมายต่างกันจนเป็นที่มาของพิธีกรรม โดยหินบดยา หมายถึง ให้ใจคอหนักแน่น ฟัก หมายถึง ให้ใจเย็นเป็นฟัก และแมวคราวเปรียบเหมือนแมวที่นอนอยู่ติดบ้าน ไม่เที่ยวเตร่ และหากเป็นเด็กผู้ชายจะให้มีสมุดและดินสอร่วมด้วยโดยถือว่าเมื่อเด็กโตขึ้นจะได้เป็นคนรู้หลักนักปราชญ์ ส่วนเด็กผู้หญิงให้มีเข็มและด้ายร่วมด้วยโดยถือว่าเมื่อโตขึ้นจะได้เก่งในเรื่องเย็บปักถักร้อยและงานบ้านงานเรือน              “แมวคราว” คือ แมวตัวผู้ขนาดเขื่อง เป็นแมวผู้ใหญ่มีหนวดเครา เปรียบเสมือนคนที่บรรลุนิติภาวะจึงเป็นแมวไม่ทิ้งถิ่น มีบทบาททั้งในประเพณีการเกิดและการแต่งงาน ในสมัยก่อนมักนิยมใช้แมวที่มีชีวิตจริง ๆ ตัวสีขาว แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนเป็นตุ๊กตาหรือรูปปั้นเซรามิกแทน โดยจะเลือกตัวที่นอนขด ให้มีลักษณะคล้ายกับแมวที่นอนเฝ้าบ้าน แมวคราว KiNdCONNEXT, ขาวมณี, 2564.ที่มา : https://kindconnext.com/mankind/khaomanee/           แมวในประเพณีแต่งงาน               ประเพณีการแต่งงานของคนไทยมักจะมีพานส่งตัวเข้าหอ ซึ่งประกอบด้วย แมวคราวนอนหวด 1 ตัว ไก่ขาว 1 คู่ ฟักเขียว 1 ลูก ครกบดยา 1 ชุด ถุงเงินถุงทอง ขันน้ำใบเล็ก 1 ใบ และไม้เท้า ทุกสิ่งล้วนมีความหมาย เพื่อความเป็นศุภมงคลแก่ชีวิตคู่ และในพิธี “การปูที่นอนและส่งตัวเจ้าสาว” โดยการเชิญคู่สามีภรรยาสูงอายุที่เป็นคู่แต่งงานที่มีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตสมรสเป็นคู่ปูที่นอน เรียกว่า “ฤกษ์เรียงหมอน” เพื่อเป็นเคล็ดตามความเชื่อให้คู่แต่งงานใหม่ มีชีวิตครอบครัวที่มีความสุขเช่นเดียวกับคู่สามีภรรยาที่ได้รับเชิญมา ในการทำพิธีนี้ให้นำหินบดยา ฟักเขียว ถุงใส่ถั่วงา และข้าวเปลือกวางลงบนที่นอนก่อน พร้อมทั้งอุ้มแมวตัวผู้สีขาววางลงบนฟูก แล้วกล่าวคำให้พรเป็นสำนวนว่า “ใจเย็นเหมือนฟัก ใจหนักเหมือนหิน อยู่กินกันจนแก่จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเหมือนแมวคราว” พานส่งตัวเข้าหอ แมวในประเพณีการแต่งงาน ยาเล็ก, พานส่งตัวเข้าหอ, 2564.ที่มา : https://www.lekphanumas.com/2021/02/blog-post_65.htmlเลขา, เกิดหรือแต่งงานก็ต้องมีแมว, 2561.ที่มา : https://www.readhowl.com/2018/04/04/cat-marry-birth/           พิธีแห่นางแมว               พิธีแห่นางแมว เป็นพิธีที่ทำกันเฉพาะเมื่อยามฝนแล้งไม่ตกตามฤดูกาล โดยนำแมวเพศเมียพันธุ์สีสวาด 1 - 3 ตัว ซึ่งแมวพันธุ์นี้จะมีขนสีเทาเข้มคล้ายกับสีของเมฆฝน พร้อมกับดอกไม้ 5 คู่ เทียน 5 คู่ ใส่ในกระบุงหรือชะลอม ก่อนที่จะนำนางแมวเข้ากระบุง คนที่เป็นผู้อาวุโสที่สุดในหมู่บ้านจะพูดกับนางแมวว่า “นางแมวเอย ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ” จากนั้นสอดไม้คานให้สองคนหามเป็นขบวนแห่วนไปทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน เมื่อผ่านบ้านใดเจ้าของบ้านก็จะนำน้ำมาสาดใส่แมวเพื่อให้แมวส่งเสียงร้องออกมา โดยเชื่อว่าการที่แมวร้องนั้นเป็นสัญญาณที่ฝนจะตกนั่นเอง ทั้งนี้การแห่นางแมวจะมีการร้องเพลงประกอบในขบวนว่า              “นางแมวเอย มาร้องแจ้วแจ้ว นางแมวขอไก่ ขอไม่ได้ ร้องไห้ขอฝน ขอน้ำมนต์รดแมวข้าที มีแก้วนัยน์ตา ออกมาเดือนหก ฝนตกทุกที มาปีนี้ไม่มีฝนเลย พ่อตาลูกเขย นอนก่ายหน้าผาก พ่อหม้ายลูกมาก มันยากเพราะข้าว คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าหัวห้อย พาเด็กน้อย มาเล่นนางแมว มาร้องแจ้วฝนก็เทลงมา ฝนก็เทลงมา” ปัจจุบันพิธีแห่นางแมว ชาวบ้านมักใช้ตุ๊กตาแมวแทนการใช้แมวจริง เพื่อหลีกเลี่ยงการทรมานสัตว์   พิธีแห่นางแมว เลขา, พิธีแห่นางแมว, 2561ที่มา : https://www.readhowl.com/2018/04/04/cat-rain/     แมวในราชสำนัก               พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร เป็นหนึ่งในพิธีเกี่ยวเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธี ดังกล่าว คือ การสมโภชปราสาทราชมณเฑียร สถานที่ประทับดั้งเดิมของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี หากเทียบกับประเพณีชาวบ้านก็เปรียบได้กับการขึ้นบ้านใหม่ เป็นพระราชพิธีที่ต้องมีการนำแมวเข้ามาในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยมีความหมายเพื่อให้เกิดความโชคดีมีลาภ ให้อยู่เย็นเป็นสุข ตลอดจนขับไล่ภูตผีปีศาจหรือ สิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ และตามความเชื่อดั้งเดิมที่กล่าวว่า แมวมีเก้าชีวิต ซึ่งหมายถึง ความยั่งยืนสถาพร แมวในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แมวในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10  ผู้จัดการออนไลน์, แมว-ไก่ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, 2562. ที่มา : https://mgronline.com/entertainment/detail/9620000044597สำนักพระราชวัง, บรมราชาภิเษก : แมวไทย "วิเชียรมาศ", 2562. ที่มา : https://www.bbc.com/thai/thailand-48166415 แมวทรงเลี้ยง แมวทรงเลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คุณติโต (แมวทรงเลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) Kessel, Dmitri, Roi Du Siam, 2492. ที่มา : https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/37174.html แมวทรงเลี้ยงในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คุณใบตอง (แมวทรงเลี้ยงในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี) ที่มา : https://www.nanmeebooks.com/product/live-in-sra-pathum-palace-1/2112294429 แมวทรงเลี้ยงในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ คุณ Tomcat คุณ Lucille (ลูซีล) มติชนออนไลน์, Tomcat, 2563.ที่มา : https://www.matichon.co.th/court-news/news_2216200มติชนออนไลน์, Lucille, 2564.ที่มา : https://www.matichon.co.th/court-news/news_2795889      แมวมงคลของไทย               สมุดข่อยโบราณ เรื่อง ตำราดูลักษณะแมวของสมเด็จพระพุฒาจารย์พุทธสรมหาเถระ (นวม พุทฺธสโร) วัดอนงคาราม เป็นตำราที่บันทึกลักษณะของแมวไทยพันธุ์โบราณ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์พุทธสรมหาเถระ (นวม พุทฺธสโร) ท่านให้ความสนใจและสั่งให้คัดลอกรวบรวมไว้ในสมุดข่อย ในตำรากล่าวถึงลักษณะของแมวดีและแมวร้าย 23 ชนิด แบ่งเป็นแมวดี 17 ชนิด และแมวร้าย 6 ชนิด เนื้อหาแต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ แมวดี 17 ชนิด   นิลรัตน์มีสีดำทั้งตัว รวมถึงเล็บ ลิ้น ฟัน ดวงตา หางยาวตวัดได้จนถึงหัว     วิลาศ มีลำตัวสีขาวจากคอไปตลอดท้อง จากสองหูไปจนถึงหางและขาทั้งสี่มีสีขาว และลำตัวสีดำอยู่บริเวณข้างและหน้า ดวงตาสีเขียว   ศุภลักษณ์หรือทองแดง มีสีน้ำตาลเข้มเหมือนสีทองแดงเสมอกันทั้งตัว ตามีสีเหลืองเป็นประกาย เลี้ยงไว้แล้วจะแคล้วคลาดจากภยันตราย     เก้าแต้ม เป็นแมวสีขาว มีสีดำแต้ม 9 แห่ง คือ บริเวณหัว คอ โคนขาหน้าและโคนขาหลังทั้ง 4 ข้าง ไหล่ทั้ง 2 ข้าง และโคนหาง   มาเลศหรือดอกเลา มีขนเรียบสีดอกเลา โคนขนจะมีสีขุ่น ๆ เทา ในขณะที่ส่วนปลายมีสีเงิน ตาเป็นประกายคล้ายหยดน้ำค้างบนใบบัว     แซมเศวต มีขนสีดำแซมขาว มีขนบางและสั้น รูปร่างเพรียว มีนัยน์ตาดั่งหิ่งห้อย    รัตนกัมพล มีขนสีขาวดั่งหอยสังข์ รอบตัวตรง ส่วนอกมีลักษณะคล้ายสายคาดสีดำ ตาสีทอง      วิเชียรมาส มีขนสั้นแน่นสีขาว มีแต้มสีดำ 8 แห่ง คือ ปาก หาง หูทั้งสองข้าง และเท้าทั้งสี่ข้าง   นิลจักร มีลำตัวดำสนิทเหมือนปีกกา คอมีขนสีขาวอยู่รอบเหมือนกับปลอกคอ      มุลิลา มีขนสีดำเรียบเป็นมัน หูสองข้างมีสีขาว ตามีสีเหลือง เหมือนดอกเบญจมาศ    กรอบแว่นหรืออานม้า มีขนสีขาวทั้งตัว ยกเว้นบริเวณขอบตาทั้งสองข้างเป็นสีดำ เหมือนกรอบแว่นตา และกลางหลังจะมีวงสีดำเหมือนอานม้า      ปัดเศวตหรือปัดตลอด มีขนสีดำเป็นมันราบเรียบ ยกเว้นปลายจมูกจนถึงปลายหางมีสีขาว ดวงตามีสีเหลืองคล้ายพลอย   กระจอก ไม่กระจอกเหมือนชื่อ มีลำตัวกลมมีสีดำ รอบปากมีสีขาว ตาสีเหลือง      สิงหเสพย์ มีลำตัวสีดำ แต่มีสีขาวอยู่บริเวณรอบริมฝีปาก จมูก และรอบคอนัยน์ตาสีเหลืองทอง   การเวก มีลำตัวสีดำ ตาเป็นประกายสีทอง จมูกสีขาว      จตุบท มีลำตัวสีดำ เท้าทั้งสี่ข้างมีสีขาว ตาสีเหลืองเหมือนดอกโสน    โกญจา มีสีดำละเอียด นัยน์ตาสีดอกบวบแรกแย้ม ปากและหางเรียว ท่าทางการเดินสง่าเหมือนสิงโต          ที่มา : ตำราดูลักษณะแมว.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนศ, 2518. (ที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพจ่าเผ่นผยองยิ่ง (ชุ่ม สุวรรณจินดา) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2518)     ตำราแมว     วันสำคัญที่เกี่ยวกับแมว วันแมวญี่ปุ่น (Neko No Hi)               “วันแมวญี่ปุ่น” เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยสมาคม Japan Pet Food ด้วยเสียงโหวตสนับสนุนจากทาสแมวกว่า 9,000 คน ตกลงเลือกวันที่ 22 เดือน 2 จากการออกเสียงที่เลียนแบบเสียงร้องของแมวว่า “เนียะ เนียะ เนียะ” ซึ่งออกเสียงคล้ายกับคำว่า “นิ” ที่แปลว่า 2 ในภาษาญี่ปุ่น จึงทำให้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นวันแมวญี่ปุ่น กิจกรรมในวันนี้ เช่น การโพสต์รูปแมวหรือวีดีโอเกี่ยวกับแมว การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับแมว การประกวดแต่งตัวคอสเพลย์แมว   พนักงานรถไฟวาดรูปแมว เนียบโปริ (Nyappori) คาแรกเตอร์แมวของสถานี Nippori เมืองอาราคาวะ จังหวัดโตเกียว บนพื้นกระเบื้องสถานีเนื่องในวันแมวญี่ปุ่น Moshi Moshi Nippon, Cat Day 2021, 2021.ที่มา : https://www.moshimoshi-nippon.jp/399394Tonari ญี่ปุ่น, เนียบโปริ (Nyappori), 2566.ที่มา : https://www.facebook.com/tonarijapanth/posts/pfbid036LahbMAhhgkwo4WFzurGVGnNiGCmAjmHEZRjrby3orCGSJ5uTGBadwr51uJkzTYmlSiy, Sherilyn, National Cat Day, 2022.ที่มา : https://en.japantravel.com/news/national-cat-day/68647 วันแมววิเชียรมาศ (National Siamese Cat Day)               วันที่ 6 เมษายน ถือเป็นวันแมววิเชียรมาศ ก่อตั้งขึ้นโดย เจซ ชูเมกเกอร์-แกลโลเวย์ (Jace Shoemaker-Galloway) นักเขียนและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2557 เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความเป็นอยู่ของแมววิเชียรมาศที่อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงในประเทศต่าง ๆ และสนับสนุนให้คน รับเลี้ยงแมววิเชียรมาศที่เคยมีชื่อเสียงในอดีตที่มา : https://thatsmeow.com/cat-day/     วันกอดแมวสากล (National Hug Your Cat Day)               วันที่ 4 มิถุนายน เป็นวันกอดแมวสากล โดย Marisa D’Vari (มาริสา ดีวาริ) นักเขียนและโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ชาวอเมริกัน เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ “มีมี” แมวพันธุ์เปอร์เซียที่เสียชีวิตไป ต่อมาจึงชักชวนให้คนที่เลี้ยงแมวหันมาแสดงความรักแก่แมว จนได้รับความนิยมในหมู่ของคนรักแมวในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ จนกลายเป็นวันกอดแมวสากลที่มา : https://newsd.in/national-hug-your-cat-day-u-s/     วันลูกแมวแห่งชาติ (National Kitten Day)               วันที่ 10 กรกฎาคม เป็นวันลูกแมวแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ริเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดย คอลลีน เพจ (Colleen Paige) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ (Pet & Family Lifestyle Expert) เพื่อช่วยเหลือลูกแมวจรจัด ไร้บ้าน ให้ได้รับการดูแล ส่งเสริมการรับเลี้ยงและดูแลสุขภาพของลูกแมว ลดปริมาณแมวจรจัด รวมทั้งส่งเสริมให้เจ้าของมีความรับผิดชอบที่มา : https://thatsmeow.com/cat-day/     วันแมวสากล (International Cat Day)               วันที่ 8 สิงหาคม เป็นวันแมวสากล ริเริ่มโดยกองทุนระหว่างประเทศเพื่อสวัสดิการสัตว์ (International Fund for Animal Welfare - IFAW ) เมื่อปี พ.ศ. 2545 เพื่อประกาศให้เป็นวันเฉลิมฉลอง ชื่นชมแมว และตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงแมวที่มีส่วนช่วยบรรเทาความเครียด ลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งในบางประเทศเรียกว่า วันแมวโลก (World Cat Day)ที่มา : https://thatsmeow.com/cat-day/     วันยกย่องแมวดำ (Black Cat Appreciation Day)               วันที่ 17 สิงหาคม เป็นวันยกย่องแมวดำ โดย เวย์น เอช มอร์ริส (Wayne H. Morris) ในปี พ.ศ. 2554 เพื่อระลึกถึงน้องสาวและ ซินแบด (Sinbad) แมวดำอายุ 20 ปี ของเธอที่เสียชีวิตในปีเดียวกัน ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญของสหรัฐอเมริกา โดยตามสถานสงเคราะห์สัตว์หลายแห่ง หรือบ้านพักพิงสัตว์ต่าง ๆ จะรณรงค์ให้รับแมวดำไปเลี้ยง เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนได้ตระหนักถึงคุณค่าของแมวดำ และเป็นการปรับทัศนคติและความเชื่อเกี่ยวกับแมวดำที่มา : https://thatsmeow.com/cat-day/     วันยกย่องแมวส้ม (Ginger Cat Appreciation Day)               วันที่ 1 กันยายน เป็นวันยกย่องแมวส้ม เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 โดย คริส รอย (Chris Roy) ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ชาวอเมริกันที่ผันตัวเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสัตว์ เพื่อระลึกถึง ดูเบิร์ต (Doobert) แมวส้มที่เสียชีวิตไป และเพื่อให้คนได้เห็นความสำคัญของแมวสีส้มที่มักถูกทอดทิ้งเป็นอันดับที่สอง รองจาก “แมวดำ”ที่มา : https://worldtimeshindi.com/ginger-cat-appreciation-day-september-1-2022-history     วันแมวดำ (National Black Cat Day)               วันที่ 27 ตุลาคม เป็นวันแมวดำ โดยเพิ่มขึ้นมาจากวันยกย่องแมวดำ (Black Cat Appreciation Day) เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 โดย Cats Protection องค์กรการกุศลในสหราชอาณาจักรที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือแมวจรจัด”ที่มา : https://twitter.com/burystrays/status/1453327447580151812     วันแมวแห่งชาติ (National Cat Day)               วันที่ 29 ตุลาคม เป็นวันแมวแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Cat Day) โดย คอลลีน เพจ (Colleen Paige) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ (Pet & Family Lifestyle Expert) เป็นผู้ริเริ่มและสนับสนุนให้คนหันมาให้ความสำคัญเรื่องสวัสดิภาพของสัตว์มากขึ้น และมีองค์กร American Society for the Prevention of Cruelty to Animals ได้นำแนวคิดนี้ไปสานต่อกระทั่งเป็นกิจกรรมประจำปีเพื่อช่วยเหลือแมวไร้บ้านและแมวที่ถูกทารุณกรรม”ที่มา : https://thatsmeow.com/cat-day/     แมวในวิถีปัจจุบัน ดนตรีสำหรับแมว               ดนตรีสำหรับแมว หรือเพลงบำบัดคลายเครียดสำหรับแมว ริเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดย เดวิด ทาย (David Teie) นักเล่นเชลโล นักแต่งเพลง และนักวิจัยดนตรีชาวอเมริกันจาก University of Maryland ผู้มีความสนใจเรื่องดนตรีสำหรับสัตว์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ดนตรีสำหรับแมวสามารถทำให้แมวแสดงพฤติกรรมทางด้านบวก และช่วยลดความเครียดของแมวได้ โดยดนตรีสำหรับแมวนี้ ถูกสร้างขึ้นจากเสียงที่แมวได้ยิน เช่น เสียงนกร้อง เสียงจากธรรมชาติ มาผสมผสานกับเสียงเชลโลเป็นท่วงทำนองที่ไม่สูงไปกว่าเสียงแมวร้องปกติ เพื่อทำให้แมวรู้สึกผ่อนคลาย และไม่รำคาญเวลาฟัง David Teie ผู้ริเริ่มโครงการดนตรีสำหรับแมว ตัวอย่างดนตรีสำหรับแมว https://www.musicforcats.com/ McKenna, Ewen, Music for cat, 2015.ที่มา : https://www.washingtonpost.com/video/entertainment/listen-this-music-is-scientifically-proved-to-appeal-to-cats/2015/10/15/31ec6f54-6e9b-11e5-91eb-27ad15c2b723_video.html แมวเน็ตไอดอล               ปัจจุบันแมวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สินค้าและบริการของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก มีการสร้าง คอนเทนต์เกี่ยวกับแมวในโซเชียลมีเดียซึ่งได้รับความนิยม มีผู้ชื่นชอบและติดตามจำนวนมาก จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับแมวและเจ้าของแมวในการเป็น Social media influencer และ Brand ambassador              “นาลา” แมวพันธุ์ผสมลายสลิดผู้พลิกชีวิตของ วรีสิริ เมธาจิตติพันธ์ เจ้าของคนไทยในสหรัฐอเมริกา ที่ใช้บัญชี Instagram ชื่อ nala_cat (@nala_cat) ได้รับประกาศนียบัตรจาก Guinness World Records ว่าเป็นแมวที่มีชื่อเสียงและมีผู้ติดตามใน Instagram มากที่สุดในโลก เป็นแมวตัวแรกและตัวเดียวที่ได้เซ็นสัญญากับ Creative Artists Agency เอเย่นต์ชื่อดังที่เป็นตัวแทนให้กับดาราฮอลลีวูดชั้นนำ ได้แสดงในภาพยนตร์ ไนน์ ไลฟส์ (Nine Lives) รวมทั้งมีหนังสือของตัวเองชื่อ Nala Cat ฯลฯ  นาลา แมวที่มีผู้ติดตาม Instagram มากที่สุดในโลก Nala_Cat, Nala Cat.ที่มา : https://www.instagram.com/nala_cat/?hl=en               แมวที่มีชื่อเสียงและผู้ติดตามในไทยจำนวนมาก มีด้วยกันมากมายหลากหลายสายพันธุ์ สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ผู้คนในสังคมใช้ชีวิตด้วยการแข่งขันและความเครียด สัตว์เลี้ยง เช่น แมว จึงได้รับความสนใจอย่างมาก ทำให้เจ้าของ (หรือนิยมเรียกว่า “ทาส”) คลายความเครียดเมื่อมีแมวมาคลอเคลีย อีกทั้งแมวยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีประสาทสัมผัสไว สามารถรับรู้และปลอบใจเจ้าของเมื่อเวลาเศร้าได้ ผู้คนจึงนิยม เลี้ยงแมวกันมากขึ้น แมวที่มีผู้ติดตามหลักแสนถึงหลักล้านในไทย ตัวอย่างเช่น Egg family - ครอบครัวไข่ : ที่มีสมาชิกมากหลากหลายสีสัน Egg family - ครอบครัวไข่, Egg family, 2564.ที่มา : https://www.facebook.com/egggang/?locale=th_TH   Meeboon : แมวสองพี่น้องขวัญใจโซเชียล มีบุญและออมบุญ Meeboon, มีบุญและออมบุญ.ที่มา : https://www.facebook.com/Luckymeeboon/ Kingdom Of Tigers ทูนหัวของบ่าว : ที่มีสมาชิกครอบครัวหลากสายพันธุ์ Kingdom Of Tigers ทูนหัวของบ่าว, Kingdom Of Tigers Family, 2565.ที่มา : https://www.facebook.com/kingdomoftigers/?locale=th_TH   เค้าเรียกผมว่าแมว : บ้านแมว Story หลากหลาย เค้าเรียกผมว่าแมว, ครอบครัวเค้าเรียกผมว่าแมว, 2566.ที่มา : https://www.facebook.com/theycallmemeaow/?locale=th_TH ชิเอลแมวมึน : แมวหนุ่มหล่อต่างสไตล์ ชิเอลและคิรัวร์ ชิเอลแมวมึน, ชิเอลและคิรัวร์.ที่มา : https://www.facebook.com/Cielmeowmun/?locale=th_TH เน็ตไอดอลมาสคอตแมวและพรีเซนเตอร์แมว               แมวมักถูกนำมาใช้เป็นมาสคอต หรือ ตัวแทนสัญลักษณ์นำโชค มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สำหรับกลุ่มธุรกิจ องค์กร ทีมกีฬา การแข่งขันกีฬา หรืองานกิจกรรมที่สำคัญต่าง ๆ แคน มาสคอต ซีเกมส์ 2007จัดที่จังหวัดนครราชสีมา     สิงหลา จากตำนานเกาะหนูเกาะแมวของจังหวัดสงขลา มาสคอตการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45     “น้องนวล” แมวพรีเซนเตอร์การประชุมเอเปค 2022     “เหมียวมั่น” มาสคอตของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน     “สวาทแคท (Swat Cat)” สัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มีที่มาจากแมวสีสวาด หรือแมวโคราช     Olympic Council of Asia, แคน, 2007.ที่มา : https://ocasia.org/games/19-nakhon-ratchasima-2007/media/?type=Mascotอนิรุทธิ์ เอมอิ่ม, สิงขลาและสิงขร, 2559.ที่มา : https://news.gimyong.com/article/1244mfa_thailand, น้องนวล, 2565.ที่มา : https://www.instagram.com/p/CjJdifyPFWi/?img_index=2Swatcat Academy, Swatcat Academy.ที่มา : https://www.facebook.com/SwatcatAcademy/สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, เหมี่ยวมั่น รวมพลังหาร 2, 2559.ที่มา : https://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/gas/link-erc-pipeline/item/11700-poster-meawmun\ คอตแมวและพรีเซนเตอร์แมวบำบัด               การนำแมวมาช่วยในการบำบัด (Cat therapy / Feline-assisted therapy) สามารถช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี แมวถูกนำมาใช้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่กลัวสุนัข หรือไม่สามารถไปบำบัดด้วยสัตว์ใหญ่ได้ เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่มีจิตวิทยาสูง สามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนได้ดี รู้ว่าเจ้าของต้องการขอความช่วยเหลือเมื่อไหร่ สามารถเตือนภัยให้กับเจ้าของได้                แมวบำบัดต้องมีลักษณะดังนี้ เป็นมิตร เข้ากับคนแปลกหน้าได้ง่าย ยอมให้กอดได้ มีนิสัยที่สงบ ไม่ตกใจง่าย ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีทนต่อสิ่งกระตุ้นที่ผิดแปลกได้ดี ไม่ดุร้าย ยอมให้สวมใส่ปลอกคอ กระพรวน หรือสายจูงได้ มีการทำความสะอาดและดูแลสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว               กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถใช้แมวบำบัด ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคสมองเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ความบกพร่องทางการเห็นหรือการได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา ออทิสติก สมาธิสั้น และผู้ป่วยจิตเวชอื่นๆ แมวบำบัดที่คอยมอบความสุขให้กับผู้ป่วย                 คาเฟ่แมว หรือ Cat cafe ได้รับการบรรจุอย่างเป็นทางการในพจนานุกรมออกฟอร์ดภาษาอังกฤษ ฉบับออนไลน์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา มีลักษณะเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่ม (ทั้งของคนและแมว) มีแมวหลากหลายสายพันธุ์เป็นจุดขายเพื่อดึงดูดลูกค้า สามารถเล่นกับแมวได้ โดยผู้ใช้บริการชำระค่าบริการเป็นรายชั่วโมง บางแห่งสามารถให้ผู้ใช้บริการนำสัตว์เลี้ยงของตนเองเข้ามาใช้บริการในส่วนที่จัดให้โดยเฉพาะอีกด้วย คาเฟ่แมวจึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบันสำหรับคนรักสัตว์เลี้ยง   Cat Cafe Rangsit ที่มา : https://www.facebook.com/CatcafeRangsit/   Makura Cat Café (มาคูระ แคทคาเฟ่) ที่มา : https://www.facebook.com/MakuraCatCafe/ Kitty Cat Cafe (คิตตี้ แคท คาเฟ่) ที่มา : https://www.facebook.com/kittycatcafee/ Mohu Mohu Café (โมฮุโมฮุ คาเฟ่) ที่มา : https://www.facebook.com/mohumohucafe/ เครื่องรางของขลังเกี่ยวกับแมว               เพชรตาแมว หรือ พลอยไพฑูรย์ อัญมณีมงคลเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าผู้ใดได้ครอบครอง จะทำให้ค้าขายดี มีโชคลาภอยู่เสมอ ตามความเชื่อของคนโบราณ เชื่อว่าแมวตาเพชรมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับแมวหนึ่งในล้านตัว ผู้ที่ได้ครอบครองจะต้องสะสมบุญบารมี ประพฤติตนเป็นคนดี และอยู่ในศีลธรรม              ในแง่วิทยาศาสตร์อาจกล่าวได้ว่า เพชรตาแมวเกิดจากแมวที่ตาเป็นต้อหิน โดยดวงตาข้างนั้นจะมีน้ำออกในตา แม้แมวไม่เจ็บปวด แต่ตาข้างนั้นจะไม่สามารถใช้การได้ และเมื่อแมวตัวดังกล่าวตายลง ดวงตาข้างที่เป็นต้อก็จะแข็งขึ้นราวกับก้อนหิน แต่จะมีความสวยงาม แวววาว ราวกับเพชร ดังที่เรียกว่า “เพชรตาแมว” เพชรตาแมว เพชรตาแมว, เพชรตาแมว, 2563.ที่มา : https://www.facebook.com/olecateye/posts/pfbid0S8GqJ6knUuZoWXgJaT6vJqnKkowXPHhVo9r1DFsuDUZJ8nT8NoH3T44mthuunDZJl               รกแมว เป็นเครื่องรางของขลังตามธรรมชาติ นิยมใช้ด้านเมตตามหานิยม โดยธรรมชาติแม่แมว มักจะหลบไปคลอดลูกในที่ลับตาและกินรกของตัวเองตามสัญชาตญาณของสัตว์ แต่หากแมวตัวไหนให้โชคแก่เจ้าของจะไม่กินรกเข้าไป เจ้าของสามารถเก็บรกแมวมาไว้ติดตัวเพื่อเสริมโชคลาภได้ โดยการนำรกแมวคลุกกับผงขมิ้นหรือผงแป้งโดยห้ามตัดแบ่งรกแมว และนำไปผึ่งลมจนแห้งสนิทแล้วจึงนำมาใส่กรอบไว้บูชา              ลูกกรอกแมว เป็นเครื่องรางของขลังที่มีอานุภาพคล้ายกับกุมารทองที่ให้คุณแก่ผู้ครอบครอง ด้านเมตตามหานิยม ทำมาค้าขาย โชคลาภ ปกป้องคุ้มครอง บอกเหตุเตือนภัย ป้องกันภูตผีปีศาจ คนที่เลี้ยงลูกกรอกแมว จะต้องเป็นคนมีใจเมตตาต่อสัตว์จึงจะได้ผลดี รกแมว                                                               ลูกรอกแมว พระเครื่อง55, รกแมว, 2564.ที่มา : https://www.พระเครื่อง55.comพรพ่อพระเครื่อง, ลูกกรอกแมว.ที่มา : https://www.pornpoephrakruang.com/productdetail.asp?pid=38741  

ภาพตัวอย่าง

ศุภฤกษ์เบิกชัย สวัสดีปีใหม่

ศุภฤกษ์เบิกชัย สวัสดีปีใหม่ ความเป็นมาของวันขึ้นปีใหม่ไทย           ในสมัยโบราณคนทั่วโลกมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดวันขึ้นปีใหม่ที่คล้ายคลึงกันโดยคำนึงถึงเหตุและผลที่เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ดินฟ้าอากาศ และจารีตประเพณี เพราะวันขึ้นปีใหม่ย่อมหมายถึงวาระแห่งความรื่นเริงและสิริมงคลในชีวิต เป็นนิมิตหมายที่ดีในการเริ่มต้นสิ่งใหม่และมอบความปรารถนาดีให้แก่กันหลังจากตรากตรำกับภารกิจการงานมาตลอดทั้งปี คนไทยในสมัยโบราณก็เช่นเดียวกันวันขึ้นปีใหม่ครั้งแรกจึงได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ข้างต้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่นับได้ ๔ ครั้งซึ่งมีเหตุผลและความเหมาะสมที่แตกต่างกัน ดังนี้ ครั้งแรก วันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับ วันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย บรรพบุรุษไทยเริ่มมีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่เป็นครั้งแรกตั้งแต่ยังมีถิ่นฐานอยู่บริเวณประเทศจีนทางตอนใต้ ตามทางสอบสวนปรากฏว่าเป็นของไทยแท้ และไม่ได้เลียนแบบมาจากที่ใด มูลเหตุมาจากดินฟ้าอากาศในประเทศของเราดังพระบรมราชาธิบายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงฤดูทั้ง ๓ ไว้ว่า วิธีนับวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยโบราณถือว่าเดือนอ้าย แรม ๑ ค่ำ เป็นวันขึ้นต้นปีเพราะฤดูหนาวที่เรียกว่าเหมันตะเป็นเวลาที่พ้นจากความมืดครึ้มของฟ้าฝนและสว่างไสวขึ้นเปรียบเสมือนเวลาเช้าถือเป็นต้นปี ฤดูร้อนที่เรียกว่าคิมหฤดูเป็นเวลาสว่างร้อนเหมือนเวลากลางวันถือว่าเป็นกลางปี ส่วนฤดูฝนที่เรียกว่าวัสสานะเป็นเวลาที่มืดมัวและมีฝนพรำเปรียบเสมือนเวลากลางคืนถือว่าเป็นปลายปี เพราะฉะนั้นจึงได้นับชื่อเดือนเป็นหนึ่งมาแต่เดือนอ้าย ครั้งที่ ๒ วันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เมื่อชาวไทยย้ายถิ่นฐานลงมาสู่ดินแดนแหลมทอง จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ครั้งแรกสาเหตุน่าจะมาจากอิทธิพลของพราหมณ์ที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียเมื่อพราหมณ์เหล่านี้เดินทางเข้ามาสู่แผ่นดินไทยจึงนำลัทธิธรรมเนียมและจารีตประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนแนวคิดในการเปลี่ยนศกใหม่ในวันสงกรานต์ตามแบบสุริยคติของอินเดียเหนือเข้ามาเผยแพร่ด้วย จึงส่งผลให้ไทยกำหนดวันขึ้นปีใหม่เป็น วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ (เดือนเมษายน) และถือเป็นวันสงกรานต์ด้วย และได้ใช้ติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ ๓ วันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับ วันที่ ๑ เมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่สองครั้งที่ผ่านมาได้ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความลำบากในการกำหนดวันขึ้นปีใหม่ มีพระราชปรารถว่าวันขึ้นปีใหม่ของไทยซึ่งนับตามจันทรคตินั้นมักจะเลื่อนไปเลื่อนมาไม่แน่นอนเป็นการยุ่งยากแก่การจดจำ และเมื่อต้องมีการติดต่อกับต่างประเทศก็ยิ่งรู้สึกลำบากมากขึ้นจวบจนถึงรัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พุทธศักราช ๒๔๓๒) วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๑ เมษายนพอดี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ประกาศให้ถือวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๓๒ เป็นต้นมานับเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติครั้งแรกของไทย           ครั้งที่ ๔ วันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับ วันที่ ๑ มกราคม ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เห็นว่าเมื่อไทยยอมรับปฏิทินสุริยคติตามแบบสากลแล้ว ก็ควรเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นแบบสากลเพื่อความสะดวกในการติดต่อกับต่างประเทศ จึงกำหนดให้ถือวันที่ ๑ มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๔  เป็นต้นมา ส่งผลให้พุทธศักราช ๒๔๘๓ มีจำนวนเดือนเพียง ๙ เดือนขาดไป ๓ เดือน วันขึ้นปีใหม่ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ต่างถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งเพราะเป็นวาระเริ่มต้นชีวิตใหม่ในอีกรอบขวบปีหนึ่ง และต่างถือว่า เป็นวันที่อุดมด้วยมงคลฤกษ์ และศุภนิมิตอันดีงาม ฉะนั้น ในวันนี้จึงมีการจัดพระราชพิธี พิธี งานรื่นเริง กิจกรรม และประเพณีบำเพ็ญกุศลทางศาสนา ตลอดจนการอวยพรและขอรับพรจากกันและกัน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองมิ่งขวัญอันจะนำมาซึ่งศิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่ตนและครอบครัว ตลอดจนมิตรสหายวงศ์ญาติที่เคารพนับถือ   พระราชพิธีขึ้นปีใหม่อันเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ พระราชพิธีขึ้นปีใหม่ในพระราชสำนักมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ครั้นสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดพระราชพิธีที่คล้ายคลึงกัน มีการเปลี่ยนแปลงพระราชกรณียกิจบางอย่างให้เหมาะสมกับกาลเวลา โดยเฉพาะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระราชพิธีขึ้นปีใหม่แบ่งเป็น ๒ พิธี คือ การบำเพ็ญพระราชกุศล และการรื่นเริงปีใหม่ การบำเพ็ญพระราชกุศล ได้แก่ พระราชกุศลสดับปกรณ์พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ผ่านมา พระอัฐิพระบรมวงศ์ พิธีบวงสรวงเทวดา คือ พระสยามเทวาธิราช พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เลี้ยงพระถวายอาหารบิณฑบาต สดับปกรณ์ในพระราชวังบวร และที่หอพระนาก   พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมอัฐิ   พระโกศ พระบรมอัฐิ และพระอัฐิประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร พระโกศ พระบรมอัฐิ สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระอัฐิพระราชวงศ์ในหอพระนาก   การรื่นเริง  ในทุกปีโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการเลี้ยงพระกระยาหารที่เรียกกันว่า เลี้ยงโต๊ะปีใหม่ (ดินเนอ) พระราชดำรัสพระราชทานพร พระราชทานของฉลากเลี้ยงโต๊ะปีใหม่ ปฏิทิน บางปีจัดงานแฟนซีเดรสส์ ออกร้านขายของในพระบรมมหาราชวัง จัดการแสดงละครหลวง การแสดงเล่นกลของรอยัลแมจิกโซไซเอตี   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านาย และข้าราชการฝ่ายหน้า แต่งแฟนซีในงานขึ้นปีใหม่ เจ้านายและข้าราชการฝ่ายในแต่งแฟนซีเป็นแขกและพม่า เจ้าจอมเอื้อน ในรัชกาลที่ ๕ เจ้าจอมมารดาห่วง ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ฉลองพระองค์แฟนซีในงานขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุขเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เจ้านายซึ่งทรงแสดงละครเรื่องนิทราชาคริช ในงานขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๔๒๓   รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีขึ้นปีใหม่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลยังคงปฏิบัติเช่นเดิม แต่มีพระราชพิธีที่เพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลง คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ เถลิงศกสงกรานต์ และพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่าพระราชพิธีตรุษะสงกรานต์ เริ่มการพระราชพิธีตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม ถึงวันที่ ๓ เมษายน ส่วนการรื่นเริง มีงานอุทยานสโมสร กระทรวงวังจัดที่ลงพระนามและนามถวายพระพร และพระราชทานปฏิทินหลวง ข้าราชการกำลังขึ้นไปดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่บริเวณหน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในงานพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลนี้ บางปียังคงมีการรื่นเริงต่าง ๆ พระราชทานเลี้ยงพระบรมวงศานุวงศ์ มีการแสดง พระราชทานฉลากของขวัญ พระราชทานปฏิทินแก่ข้าราชการ และปวงชนชาวไทย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๔ จึงได้กำหนดการพระราชพิธีขึ้นปีใหม่ระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม ถึง ๒ มกราคม มีรายละเอียด คือพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สรงนํ้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระพุทธรูปสำคัญ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามถวายอาหารบิณฑบาตพระสงฆ์รับพระราชทานฉัน สดับปกรณ์ผ้าคู่พระบรมอัฐิสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระอัฐิพระบรมวงศ์ พระบรมอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้า และพระอัฐิพระราชวงศ์ ลงนามถวายพระพรในพระบรมมหาราชวัง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พุทธศักราช ๒๔๙๐ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้ยกการพระราชกุศลสดับปกรณ์ผ้าคู่ในวันขึ้นปีใหม่ไปไว้ในพระราชพิธีสงกรานต์ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้งดการพระราชกุศลสวดมนต์ เลี้ยงพระในวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนเป็นเสด็จออกทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตร พุทธศักราช ๒๕๐๑ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรขึ้นปีใหม่ ในวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันที่ ๓๑ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันสิ้นปี ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๑๘ โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรขึ้นปีใหม่เป็นงานส่วนพระองค์ ณ พระราชฐานที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศาสนุวงศ์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตร ในวาระขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำรัสพระราชทานพรปีใหม่แก่ประชาชนชาวไทย ในวาระขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๑๒   การอวยพรส่งความสุขปีใหม่ การส่งความสุขเป็นของขวัญ ของที่ระลึกแก่บุคคลอันเป็นที่รักและนับถือในเทศกาลขึ้นปีใหม่มีหลายรูปแบบตามสถานะของบุคคล เช่น การส่งบัตรอวยพร ปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน และอื่น ๆ ในอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพรปีใหม่แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนพสกนิกรผ่านพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรการอวยพรที่มีค่าและพสกนิกรต่างจดจ่อรอเวลานั้น คือ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงพระราชทานพรวันขึ้นปีใหม่แก่ประชาชนชาวไทยของพระองค์เป็นประจำทุกปี และพระราชทานบัตรส่งความสุขที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง ข้อความพระราชทานแต่ละปีจะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมืองที่ประเทศไทยต้องประสบในรอบปีที่ผ่านมา ถือเป็นพรอันล้ำค่าอีกทั้งแฝงไปด้วยคำสอนและข้อคิดให้พสกนิกรน้อมนำไปเป็นแนวทางในการเริ่มต้นปีด้วยปัญญาและสติพระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช ๒๔๐๙ จาก The Bangkok Recorder ฉบับวันเสาร์ที่ ๑๓ มกราคม คริสต์ศักราช ๑๘๖๖     พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่แก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่ตามเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ พุทธศักราช ๒๔๕๐     พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช ๒๔๕๘   พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร พระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๐๐ พระราชดำรัสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรพระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๐  โคลงให้พรปีใหม่ของพระบรมวงศานุวงศ์   บัตรส่งความสุข / บัตรอวยพร / ส.ค.ส.พระราชทาน บัตรอวยพรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     บัตรอวยพรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ส.ค.ส. พระราชทานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส.ค.ส. พระราชทานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร     ส.ค.ส. พระราชทานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว   ส.ค.ส. พระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี   ส.ค.ส. พระราชทานของพระบรมวงศานุวงศ์         บัตรส่งความสุข บัตรอวยพรปีใหม่ของบุคคลต่าง ๆ หนังสือที่ระลึกในวันขึ้นปีใหม่ ลิลิตนิทราชาคริช พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเป็นของขวัญปีใหม่แก่พระบรมวงศานุวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๒๓   หนังสือที่ระลึกในวันขึ้นปีใหม่   วชิรญาณวิเศษฉบับปีใหม่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๐๙ (พุทธศักราช ๒๔๓๓) ปฏิทิน: ของขวัญปีใหม่   เมื่อใกล้จะถึงวันขึ้นปีใหม่ สิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปนึกถึงก็คือ ปฏิทิน สมุดบันทึก และบัตรอวยพร หรือ ส.ค.ส. โดยเฉพาะปฏิทินนั้น เป็นที่ต้องการและดูเหมือนว่าจะเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันไปแล้ว ปฏิทิน (calendar) ในสมัยโบราณอาจจะเขียนเป็น ประดิทิน ประนินทิน หรือ ประฏิทิน ซึ่งก็คือ ระเบียบวิธีการจัดแบ่งช่วงเวลาให้เป็นวัน เดือน ปี ขึ้นเป็นแบบแผน โดยอาศัยวิชาดาราศาสตร์เป็นหลักในการจัดทำ เพื่อประโยชน์สำหรับดู วัน เดือน ปี ในการกำหนดอายุ กำหนดการพิธีต่าง ๆ และใช้สำหรับระบุในการบันทึกเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ปฏิทินของไทยแต่ก่อน เป็นปฏิทินแบบจันทรคติ คือใช้ดวงจันทร์เป็นหลัก เรียกวันเป็น วันข้างขึ้น วันข้างแรม กรมโหรหลวงมีหน้าที่คำนวณ วัน เดือน ปี จัดทำปฏิทินแต่ละปีขึ้นเป็นต้นแบบในสมุดไทยดำ บอกรายการวันขึ้นแรมในแต่ละเดือนเป็นลำดับไปตลอดทั้งปี ผู้ใดประสงค์จะได้ปฏิทินก็จะขอคัดสำเนาไปใช้ทั้งในส่วนราชการและส่วนตัว ภายหลังจึงมีการจัดพิมพ์ปฏิทินขึ้นบนกระดาษฝรั่ง การพิมพ์ปฏิทินในเมืองไทยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้จัดพิมพ์หนังสือ Bangkok Calendar, For the year our Lord ขึ้นในวันที่ ๑๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๓๘๕ ปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพิมพ์เป็นเล่มมีรายละเอียดวัน เดือน ปี และช่องว่างสำหรับจดบันทึก (ลักษณะคล้ายกับสมุดบันทึก) แต่การพิมพ์ปฏิทินนี้ยังเป็นภาษาอังกฤษ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๐๔ และเลิกพิมพ์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๖ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะของปฏิทินที่พิมพ์มีรูปแบบอย่างไรนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานมาจนถึงปัจจุบัน แต่รายละเอียดยังคงใช้แบบจันทรคติ ภายหลังจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันทางสุริยคติ การจัดทำปฏิทินจึงเริ่มใช้วันทางสุริยคติตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๓๒ เป็นต้นมาประเภทของปฏิทิน    ปฏิทินหลวง คือกำหนดวัน เดือน ทางสุริยคติ จันทรคติของปีนักษัตร วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และกำหนดการพระราชพิธีประจำปี ปฏิทินหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า ประกาศมหาสงกรานต์ เขียนเป็นภาพปีนักษัตรสงกรานต์ แขวนไว้ที่ประตูพิมานไชยศรี ในพระบรมมหาราชวัง สำหรับให้ทางราชการและประชาชนทราบ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ทำปฏิทินหลวงเป็นเล่มเล็ก ๆ คงใช้ชื่อว่า ประกาศสงกรานต์ และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ทำปฏิทินหลวงเป็นสมุดพก ใช้ข้อความที่ปกว่า ปฏิทินหลวง พระราชทานสำหรับความสุขปีใหม่ สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นราชประเพณีสืบมา ซึ่งภายหลังได้พระราชทานปฏิทินหลวงแก่ประชาชนที่มาลงนามถวายพระพรในวันขึ้นปีใหม่ด้วย ปฏิทินราษฎร์ เป็นปฏิทินที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงาน ห้างร้าน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ยึดหลักเหมือนกัน คือ บอกวัน เดือน ปี แตกต่างกันเพียงรายละเอียด วิธีการและรูปแบบที่จัดทำขึ้นเท่านั้น ซึ่งมีหลากหลายตามยุคสมัย จากหนังสือ “สิ่งพิมพ์สยาม” โดย เอนก นาวิกมูล พ.ศ. ๒๕๔๒   ปัจจุบันการพิมพ์ปฏิทินเพื่อแจก คงมีอยู่ทุกปีและยังเป็นที่นิยมไม่เสื่อมคลาย ห้างร้านต่างประชันขันแข่งกันทำปฏิทินที่สวยงาม เพื่อสร้างความประทับใจให้ผู้รับ นอกจากนั้นหน่วยงานราชการบางแห่งก็ได้จัดพิมพ์ปฏิทินและสมุดบันทึกมอบแก่ข้าราชการ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น อีกทั้งยังมีการจัดประกวดปฏิทินที่ดี มีประโยชน์ ได้รับความรู้อีกด้วย เช่น ปฏิทินเรื่อง เครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ (Royal Regalia) จัดทำโดยบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับรางวัลสุริยศศิธร ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ออกแบบปฏิทินดีเด่นประจำปี ๒๕๓๙ ชนิดแขวน ประเภท เทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์สมุดบันทึกประจำวัน           พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ จาก “อนุทิน ฤๅสมุดสำหรับจดหมายรายวัน ในพระพุทธศักราช ๒๔๗๑” บทนี้ ทำให้ทราบถึงจุดประสงค์ของสมุดบันทึกประจำวัน หรือไดอารี หรือที่พระองค์ทรงเรียกว่า อนุทิน ได้เป็นอย่างดี           สมุดบันทึกประจำวัน หรือ ไดอารี (diary) หรืออนุทิน เป็นปฏิทินเล่มแบบหนึ่ง โดยเว้นพื้นที่สำหรับการจดบันทึกในแต่ละวันให้มากขึ้น หรือบางเล่มผู้ผลิตใช้เพียงกระดาษเปล่าโดยไม่มี วัน เดือน ปี แล้วเย็บเข้าเล่มเท่านั้น เพื่อใช้ในการจดบันทึกต่าง ๆ สมุดบันทึกประจำวันแบบนี้มีผู้นิยมใช้ทั้งพระราชวงศ์ พระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป           อนึ่ง ก่อนที่จะมีสมุดบันทึกประจำวันที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ยังมีสมุดบันทึกอีกชนิดหนึ่งที่มีการจดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความคิดของผู้บันทึก เรียงตามลำดับ วัน เดือน ปี จึงนับว่าการบันทึกชนิดนี้เป็นสมุดบันทึกประจำวันด้วย สมุดบันทึกที่คนไทยสมัยโบราณใช้บันทึกเหตุการณ์บ้านเมือง และเรื่องเฉพาะตน ได้แก่ หมวดพระราชวงศ์ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หมวดพระสงฆ์ หมวดข้าราชการ ปฏิทิน: ของขวัญปีใหม่   ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดงานบันเทิงรื่นเริงและมหรสพที่หลากหลายรูปแบบ ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยเริ่มมีกระแสความนิยมจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีในวันที่ ๓๑ ธันวาคม เวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. ถึง ๐๐.๓๐ น.ของวันที่ ๑ มกราคม มีทั้งการสวดมนต์ที่บ้าน การสวดมนต์หมู่ตามวัดต่าง ๆ และศาสนสถานในศาสนาอื่นทั่วประเทศ ตามหลักศาสนบัญญัติของศาสนานั้น ๆ ซึ่งกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ริเริ่มจัดมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๔๘ ประกอบด้วย การทำบุญ รักษาศีล เจริญจิตตภาวนา ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ลั่นฆ้องชัยต้อนรับปีใหม่ในวันที่ ๑ มกราคม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และสวดมนต์ให้ประเทศไทย ประชาชน ครอบครัว พร้อมทั้งตนเองให้มีความสุขตลอดปีใหม่ ตลอดจนเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนลด ละ เลิกอบายมุขในเทศกาลปีใหม่ กิจกรรมการนับถอยหลังเข้าสู่วินาทีแรกในการขึ้นศักราชใหม่ซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาติทางตะวันตก ภายหลังเริ่มเป็นที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลายและยิ่งใหญ่มากขึ้น โดยประชาชนรวมตัวกันร่วมนับถอยหลังเข้าสู่วินาทีแรกของปีใหม่มีการจุดพลุดอกไม้ไฟ ร้องเพลง และสิ่งบันเทิงอื่น ๆ ที่สร้างความสนุกสนาน วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปีอันถือเป็นวันขึ้นปีใหม่วันแรกของปี สำหรับประชาชนชาวไทยที่ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญตักบาตร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตสำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในศักราชใหม่ ยังเป็นการแสดงออกถึงการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับสังคมไทย กิจกรรมทางศาสนา การจัดงานบันเทิงรื่นเริงและมหรสพ การจัดพิมพ์สมุดภาพ ภาพชุด และแผ่นภาพมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ   การส่งมอบความสุขและความปรารถนาดีให้แก่กันในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ทุก ๆ ปี กรมศิลปากรในฐานะผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม ได้ส่งความสุขปีใหม่ด้วยการพิมพ์สมุดภาพ (สมุดบันทึกประจำวัน) ภาพชุด (ปฎิทินตั้งโต๊ะ) และแผ่นภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม (ส.ค.ส.) เพื่อส่งความระลึกถึงแก่ข้าราชการ พนักงาน และผู้ปฏิบัติงานภายใต้กรมศิลปากรทั่วประเทศ โดยเนื้อหาสาระของเรื่องดังกล่าวเป็นองค์ความรู้ของกรมศิลปากรด้านต่าง ๆเพื่อผู้สนใจจะได้รับความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของมรดกศิลปวัฒนธรรม อันนำไปสู่ความศรัทธาเลื่อมใสและตระหนักในคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมที่บรรพชนได้สร้างสรรค์ไว้ สมุดบันทึกของกรมศิลปากร ปฏิทินของกรมศิลปากร   เพลงพรปีใหม่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบรพิตร ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี ๒ วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ สวัสดีวันปีใหม่พา                    ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม         ต่างสุขสมนิยมยินดีข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า              ให้บรรดาปวงท่านสุขศรีโปรดประทานพรโดยปรานี         ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัยให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์          ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัยให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่                ผองชาวไทยจงสวัสดีตลอดปีจงมีสุขใจ                     ตลอดไปนับแต่บัดนี้ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์       สวัสดีวันปีใหม่เทอญ    

ภาพตัวอย่าง

ช้างมงคล

นิทรรศการ “ช้างมงคล”   ต้นกำเนิดของช้าง มีเรื่องราวกล่าวไว้อย่างพิสดาร จัดเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์อย่างหนึ่งตามความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์ กับยังมีบันทึกเรื่องราวไว้เป็นตำรา ปรากฏเป็นศาสตร์ที่สำคัญแขนงหนึ่งของประเทศอินเดียที่มีมาแต่โบราณ คือ ตำรา คชศาสตร์ มีเนื้อหากล่าวไว้ถึงกำเนิดของช้าง ๔ ตระกูล ดังนี้             ในไตรดายุคหนึ่ง ขณะที่พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์บรรทมอยู่ ณ เกษียรสมุทร บังเกิดมีดอกบัวผุดขึ้นทางพระนาภีของพระองค์ ดอกบัวนั้นมี ๘ กลีบ ๑๗๓ เกสร พระวิษณุนำดอกบัวไปถวายพระอิศวรครั้งนั้นพระอิศวรแบ่งดอกบัวอันบังเกิดด้วยเทวฤทธิ์ของพระวิษณุออกเป็น ๔ ส่วน จัดเป็นส่วนของพระองค์เอง ๘ เกสร นอกนั้นแบ่งประทานแก่ พระพรหม ๘ กลีบ พร้อมกับเกสรอีก ๒๔ เกสร ประทานแก่พระวิษณุ ๘ เกสร และประทานแก่พระอัคนี ๑๓๓ เกสร เทพเจ้าทั้งสี่ได้เนรมิตดอกบัวในแต่ละส่วนของพระองค์ให้บังเกิดเป็นช้างขึ้นในโลก ปรากฏเป็นคชพงศ์ หรือ ช้างตระกูลต่าง ๆ ๔ ตระกูล แต่ละตระกูลมีชื่อตามนามเทพเจ้าผู้เนรมิตให้บังเกิดขึ้น คชพงษ์ทั้ง ๔ ตระกูล เมื่อได้กำเนิดขึ้นแล้ว ต่างก็มีรูปร่างลักษณะ อุปนิสัย และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เป็นไปตามฤทธิ์และอำนาจที่ได้รับถ่ายทอดมาจากเทพเจ้าผู้เนรมิตให้บังเกิดขึ้น   คำศัพท์เรียกส่วนต่างๆ ของช้าง             เป็นช้างที่พระอิศวรเนรมิตให้บังเกิดขึ้น ในคัมภีร์คชลักษณ์กล่าวว่าเมื่อพระอิศวรโยนเกสรดอกบัวทั้งแปดในส่วนของพระองค์บนพื้นโลกแล้วเนรมิตให้บังเกิดเป็นช้าง ๘ หมู่ เรียกว่า อัฐคชาธาร เป็นช้างศุภลักษณ์วรรณะกษัตริย์ สมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งวรรณะ กล่าวคือ มีผิวหนังละเอียด เกลี้ยง สดใส มีขนสีเดียวกับสีตัว สีดำสนิทเสมอกันตลอดตัว หน้าใหญ่ น้ำเต้ากลม โขมดสูง ขมับเต็มไม่พร่องเสมอกันทั้ง ๒ ข้าง กระบอกตาใหญ่และงาม ใบหูใหญ่ ระบายหูอ่อนนุ่ม หูข้างขวามีขนมากกว่าข้างซ้าย คอกลม งวงเรียวเป็นต้นเป็นปลาย งาทั้งคู่ใหญ่เสมอกันและงอนขึ้นอยู่ในระดับเดียวกัน สนับงา มี ๒ ชั้น ปากรีมีรูปปากเหมือนปากหอยสังข์ อกใหญ่ ขาทั้งสี่ใหญ่เรียวดูอ่อน มีรอยรัดข้อเท้า ฝักบัวกลม หางเป็นข้อห่างๆ ช่อม่วง ยาวเอียงไปทางขวา ผนดท้องตามวงหลัง ส่วนหน้าสูงกว่าท้าย เมื่อเดินยกคอหลังโค้งขึ้นเล็กน้อยเป็นคันธนู ท้ายเป็นสุกร ทุกส่วนของร่างกายงามพร้อม           อัฐคชาธารทั้ง ๘ หมู่ นอกจากจะมีลักษณะเฉพาะตามคชลักษณ์ของคชชาติอิศวรพงศ์แล้วยังมีชื่อและลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละหมู่ ดังต่อไปนี้           ๑. อ้อมจักรวาล มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่มีงาซ้ายตรงยาวเสมอหน้างวง งาขวายาวกว่างาซ้าย และปลายงาอ้อมผ่านงวงมาทับอยู่บนงาซ้ายเล็กน้อย เป็นช้างที่มีความกล้าหาญยิ่ง         ๒. กัณฑ์หัตถี หรือ คชกรรณหัสดี บางตำราใช้ชื่อว่า กันหัศ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่งาช้างซ้ายอ้อมผ่านเหนืองวงไปด้านขวาปลายงางอนขึ้นตรงไพรปากข้างขวา ส่วนงาอ้อมผ่านเหนืองวงไปด้านซ้าย ปลายงางอนขึ้นตรง ไพรปากข้างซ้าย ปลายงาที่งอนขึ้นทั้ง ๒ ข้าง อยู่ในระดับเดียวกันเป็นลักษณะงากอดงวง เป็นช้างที่มีพลานุภาพมากชนะแก่ศัสตราวุธทุกชนิด และชนะแก่ศัตรูทั้งปวง         ๓. เอกทันต์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่มีงาเดียวงอกออกจากเพดานใต้งวง เมื่อยกงวงไปเบื้องซ้าย งาจะอยู่ทางขวา ถ้ายกงวงไปเบื้องขวา งาจะอยู่ทางซ้าย เป็นช้างที่มีกำลังมาก เป็นพาหนะของพระอินทร์ เทวดาชื่อ “คชนาค” ได้นำช้างนี้ไปไว้ที่ป่าวรรณวิหารมิได้มาอยู่ที่เมืองมนุษย์จึงไม่มีใครเคยพบเห็น         ๔. กาฬวกะหัตถี หรือ กาฬทันต์หัตถี บางตำราเรียกว่า “กาลหัตถี” มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ทุกส่วนของร่างกายมีสีดำ คือ ตัวดำ ขนดำ ตาดำ งาดำ และเล็บดำ เป็นช้างที่ห้าวหาญปราบศัตรูให้ราบคาบมีชัยชนะทุกเมื่อ         ๕. จตุรศก หรือ จัตุศก มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่งาทั้งสองข้าง มีต้นงากลมแล้วแยกออกเป็นข้างละ    ๒ งา ทั้งซ้ายและขวา รวมเป็น ๔ งา เป็นช้างที่เข้มแข็ง กล้าหาญ สามารถปราบศัตรูได้ทั้งปวง         ๖. ทันตรำพาน หรือ โรมทันต์ บางตำราเรียกว่า “พทันตรภาร” มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่มีต้นงาซ้ายและงาขวาไขว้กันอยู่ กล่าวคือ ต้นงาขวาทับอยู่เหนือต้นงาซ้าย ทำให้ปลายงาขวางอนออกไปทางซ้าย ส่วนปลายงาซ้ายงอนออกไปทางขวา เป็นช้างที่กล้าหาญยิ่ง คุ้มกันโทษภัยทั้งปวงแม้เพียงได้เห็นศัตรูก็ยอมแพ้          ๗. สีหชงค์ หรือ สิงหชงฆ์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ขาคู่หน้าสูงกว่าขาคู่หลัง แข้งกลม เรียวแข็งประดุจสิงหราช เป็นช้างที่เข้มแข็ง ห้าวหาญยิ่ง         ๘. จุมปราสาท มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ปลายงาทั้งซ้ายและขวามีสีแดง และมีรัศมี ประดุจแสงแก้ว เป็นช้างที่มีฤทธิ์เดชและอำนาจยิ่ง           ในคัมภีร์คชลักษณ์กล่าวว่า เมื่อพระพรหมได้รับกลีบดอกบัวและเกสรจากพระอิศวรแล้ว ได้โยนกลีบดอกบัวทั้ง ๘ ลงบนพื้นโลก เนรมิตให้บังเกิดเป็นช้าง ๘ หมู่ให้อยู่ประจำตามทิศต่าง ๆ ทั้ง ๘ ทิศเรียกว่า คชอัฐทิศ ส่วนเกสรดอกบัวได้มอบให้นางเทพอัปสร มหาอุปากาลี หรือบางตำราว่า ชื่อ มหาอุปกาสี เป็นเทพอัปสรที่พระอิศวรสาปให้ลงมาอยู่ในถ้ำเทวีสินทรบรรพตในป่าหิมวันต์ ขณะที่นางอาศัยอยู่ในถ้ำนั้น ได้กินเถาคชลดาวัลย์เป็นอาหาร เมื่อพระพรหมประทานเกสรดอกบัวให้นางแล้ว นางได้เนรมิตให้บังเกิดบุตรเป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ ๑๐ หมู่           ช้างตระกูลพรหมพงศ์ทุกหมู่ล้วนมีลักษณะเฉพาะตระกูลพรหมพงศ์ คือ เป็นช้างศุภลักษณ์ วรรณะพราหมณ์ สมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งวรรณะ กล่าวคือ มีผิวหนังละเอียดอ่อน ขนเส้นเล็กละเอียดอ่อนเรียบและยาวงอกขึ้นขุมละ ๒ เส้น สีขนมีสีเดียวกับสีตัว ขนหู ขนตา ขนปาก และขนหลังยาวมีกระขาวประดุจดอกกรรณิการ์ทั่วตัว หน้าใหญ่ น้ำเต้าแฝดโขมดสูง นัยน์ตางามใสประดุจแก้ว คิ้วสูง งวงเรียวเป็นต้นเป็นปลาย และสั้น ดูงดงาม งายาวใหญ่สมส่วน สีเหลืองประดุจสีดอกจำปา อกใหญ่สีขาว เท้าทั้ง ๒ ข้าง ใหญ่เรียว มีรอยรัดข้อเท้า ฝักบัวกลม ขณะยืนส่วนหน้าสูงกว่าส่วนท้าย ทุกส่วนของร่างกายงามพร้อม           คชอัฐทิศ เป็นช้าง ๘ หมู่ อยู่ประจำทิศทั้ง ๘ ช้างทุกหมู่ต่างมีลักษณะเฉพาะตระกูลพรหมพงศ์ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ทั้งยังมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละหมู่อีกด้วย ดังต่อไปนี้         ๑. ไอราพต เป็นช้างประจำทิศบูรพา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายประดุจสีเมฆเมื่อครึ้มฝน รูปร่างสูงใหญ่กว่าช้างทั้งปวง นัยน์ตาใหญ่แวววาวประดุจดาวประกายพรึก งาทั้งคู่ใหญ่ยาวงอนขึ้นเบื้องขวา งวงดั่งนาคราช ใบหูทั้ง ๒ ข้างกว้าง ปลายใบหูยาวและอ่อนเมื่อปรบไปเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ปลายใบหูจรดถึงกัน โขมดสูงงาม หลังราบ งามประดุจคันธนู เท้าทั้ง ๔ กลมดั่งกงจักร มีเล็บเสมอกันทุกเล็บ หางบังคลอง ส่วนหน้าสูง ส่วนท้ายต่ำอย่างราชสิงหราช เมื่อร้องมีเสียงประดุจเสียงสังข์         ๒. บุณฑริก เป็นช้างประจำทิศอาคเนย์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายขาวบริสุทธิ์ประดุจดอกบัวหลวง หรือสีของเถ้าไม้หลัว (ขี้เถ้าไม้ฟืน) มีกลิ่นตัวหอมประดุจดอกบัวสัตตบงกช บางตำราว่า ดอกบัวสัตตบุษย์เหี่ยว ศีรษะใหญ่ งาใหญ่สั้นมีสีดั่งสีสังข์ หรือสีวัวเผือก บางตำราว่า สีผ้าขาวอันงามบริสุทธิ์ เล็บงามสีขาวนวลดั่งทอง ผนดท้องสีดุจเมฆฝนเมื่อใกล้จะตก         ๓. พราหมณ์โลหิต เป็นช้างประจำทิศทักษิณมีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายแดงงาม บริสุทธิ์ประดุจสีโลหิต นัยน์ตางาม คอกลม งาใหญ่ รูปร่างใหญ่แต่เตี้ย เมื่อร้องมีเสียงดังประดุจเสียงแตรกาหล เป็นช้างที่มีกำลังกล้าแข็งห้าวหาญยิ่ง         ๔. กุมุท หรือ กระมุท เป็นช้างประจำทิศหรดี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายประดุจสีดอกกุมุท หรือดอกบัวสายสีขาว งามบริสุทธิ์ รูปร่างสูงใหญ่ ตัวยาวกลม ใบหูอ่อน งายาวงอนขึ้นเหมือนวงเดือนเมื่อขึ้น ๓ ค่ำ      เมื่อร้องมีเสียงดังเสียงแตร เป็นช้างที่มีความห้าวหาญยิ่ง         ๕. อัญชัน หรือ อังชัน เป็นช้างประจำทิศประจิม มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเขียวประดุจสีดอกอัญชัน งามบริสุทธิ์ บางตำราว่าสีเขียวประดุจสีภูเขาอันงามบริสุทธิ์ยิ่ง ศีรษะใหญ่ คอใหญ่ งาใหญ่ตรง เมื่อร้องมีเสียงประดุจลมพัดเข้าในปล้องไม่ไผ่ ไพเราะหนักหนา มีกำลังกล้าแข็งห้าวหาญยิ่ง         ๖. บุษปทันต์ เป็นช้างประจำทิศพายัพ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายประดุจสีหงษบาท หรือสีหมากสุก ผิวเนื้อละเอียด มีกระที่หน้า หน้าใหญ่ ตัวใหญ่งาม งาน้อยงอนขึ้นเบื้องขวา มีสีขาวงามบริสุทธิ์ประดุจสีสังข์ และที่เป็นสีดั่งดอกกุมุทก็มี เมื่อร้องมีเสียงดังประดุจเสียงฟ้าร้อง หรือฟ้าคำรามในฤดูฝน เป็นช้างที่มีความกล้าหาญ มีกำลังอำนาจมาก         ๗. เสาวโภม หรือ สารวภูม เป็นช้างประจำทิศอุดร มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเขียวบริสุทธิ์ประดุจสีหญ้าแพรกอ่อน บางตำราว่ามีสีเขียวประดุจสีใบตองแก่ รูปร่างสูงใหญ่ หน้าใหญ่ ลำตัวยาวกลมเหมือนใส่เสื้อรัดรูป นัยน์ตาดำ งามีขนาดเล็กยาว เท้าทั้งสี่มีสีดั่งตองอ่อน มีกระสีแดงงามบริสุทธิ์ทั่วตัว เมื่อร้องมีเสียงดังประดุจเสียงนกกระเรียน เป็นช้างที่มีกำลังมากและกล้าหาญยิ่ง         ๘. สุประดิษฐ์ หรือ สุบันดิษ เป็นช้างประจำทิศอีสาน มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดังสีเมฆเมื่อเวลาสนธยา บางตำราว่ามีสีแดงดั่งสีปัทมราค หรือสีดอกบัวหลวงแดงบริสุทธิ์ ผนดท้องมีรอยย่นเป็นปล้องขวางลำตัวประดุจท้องงู งาตรงยาวปลายงางอนขึ้นมีสีขาว บางตำราว่ามีขนปากยาวอัณฑโกษอ่อน เต้ามันอ่อน เมื่อร้องมีเสียงดังประดุจเสียงฟ้าร้อง             ช้าง ๑๐ หมู่ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้วต่างก็มีลักษณะเฉพาะตระกูลพรหมพงศ์ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นและยังมีลักษณะเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละหมู่ด้วย คือ         ๑. ฉัททันต์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายขาวประดุจสีเงินบริสุทธิ์ งามีสีขาวดั่งสีเงินยวง มีรัศมีเป็นประกาย ๖ สาย งวงมีสีแดง หางแดง เล็บแดง สันหลังสีแดงประดุจดังบัลลังก์ศิลาอันแดง ร่างกายงามพร้อมด้วยสรรพสิริอันเป็นมงคลยิ่ง เป็นช้างที่มีกำลังมาก สามารถเดินในจักรวาลระยะทางสามล้านหกแสนหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์ ไปแต่เช้าและกลับมาถึงที่เดิมได้อย่างรวดเร็วไม่ทันสาย บางตำราว่าไม่ทันถึงสามนาทีก็มาถึง และไม่เหนื่อยแม้แต่น้อย         ๒. อุโบสถ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเหลืองประดุจสีทองอุไร รูปร่างสูงใหญ่งามพร้อมด้วยสรรพสิริสมบูรณ์ยิ่ง มีกำลังแข็งแรงมาก สามารถเดินในจักรวาลระยะทางสามล้านหกแสนหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์ ไปแต่เช้าและกลับมาถึงที่เดิมได้ภายในเวลาเที่ยงก็ยังไม่เหนื่อย แต่กำลังน้อยกว่าช้างฉัททันต์ ๑๐ เท่า         ๓. เหมหัตถี หรือ เหมหัสดี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเหลืองดั่งสีทอง รูปร่างสูงใหญ่ มีกำลังมากแต่น้อยกว่าช้างอุโบสถ ๑๐ เท่า         ๔. มงคลหัตถี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดำดั่งไม้กฤษณา บางตำราว่าสีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ หรือดำดั่งสีดอกอัญชัน กลิ่นตัวและมูลมูตรหอมดั่งกลิ่นไม้กฤษณา รูปร่างสูงใหญ่ มีกำลังมากแต่น้อยกว่าช้างเหมหัตถี   ๑๐ เท่า         ๕. คันธหัตถี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดำดุจไม้กฤษณา กลิ่นตัว และมูลมูตรหอมดั่งกลิ่นสุคนธรส รูปร่างสูงใหญ่งาม มีฤทธิ์กล้าหาญและมีกำลังมาก แต่น้อยกว่าช้างมงคลหัตถี ๑๐ เท่า         ๖. ปิงคัล หรือ ปิงคันหัสดินทร์ หรือ บังคัล มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเหลืองอ่อนดั่งสีดวงตาของแมว รูปร่างสูงใหญ่งดงาม มีกำลังกล้าแข็งแต่น้อยกว่าช้างคันธหัตถี ๑๐ เท่า         ๗. ตามพหัตถี หรือ ตามพะหัสดี หรือ ตามหัตถี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายแดงประดุจสีทองแดง หรือสีทอง อันบุคคลหล่อน้ำใหม่ รูปร่างสูงใหญ่ มีฤทธิ์เดชมากแต่กำลังน้อยกว่าช้างปิงคัล ๑๐ เท่า         ๘. บัณฑร หรือ บรรนาเคนทร์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายขาวดั่งสีเงินยวง หรือสีของยอดเขาไกรลาส รูปร่างสูงใหญ่งามพร้อม มีฤทธิ์เดชห้าวหาญ แต่กำลังน้อยกว่าช้างตามพหัตถี ๑๐ เท่า         ๙. คังไคย หรือ คังไคยนาเคนทร์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายน้ำตาลอ่อน ดั่งสีน้ำคลอง หรือน้ำในแม่น้ำ รูปร่างสูงใหญ่งดงาม มีกำลังกล้าแข็งแต่กำลังน้อยกว่าช้างบัณฑร ๑๐ เท่า         ๑๐. กาลวกหัตถี หรือ กาลวกหัสดี หรือ กาลาวหัตถี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดำดั่งสีของปีกกา รูปร่างสูงใหญ่ มีกำลังห้าวหาญ แต่กำลังน้อยกว่าช้างคังไคย ๑๐ เท่า           ช้างอำนวยพงศ์ คัมภีร์คชศาสตร์กล่าวว่า เมื่อช้างบังเกิดขึ้นในโลกแล้ว โดยธรรมชาติมีการผสมกันระหว่างช้างอัฐทิศกับช้างหมู่อื่นๆ ยังให้บังเกิดเป็นช้างอีกกลุ่มหนึ่งในตระกูลพรหมพงศ์ มีจำนวน ๑๔ หมู่ เรียกว่า “ช้างอำนวยพงศ์” ซึ่งทุกหมู่ต่างก็มีลักษณะเฉพาะตระกูลพรหมพงศ์ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว และยังมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ของหมู่อีกด้วย ดังต่อไปนี้         ๑. เมฆ กำเนิดจากพลายไอยราพตกับพังอพมุ ซึ่งสีกายดั่งสีหมอกเมฆ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเทาดำดั่งสีเมฆเทื่อครึ้มฝน มีงา ๔ งา เล็บขาวสดใส หางยาวจรดพื้นดิน         ๒. อำนวยสุประดิษฐ์ กำเนิดจากพลายบุณฑริกกับพังลิงคณะ ซึ่งสีกายเขียวอมเหลือง มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายสีแดง งาสั้น ผิวหนังละเอียด เล็บขาวนวลดั่งสีหวายตะค้า         ๓. นิลกะ หรือ นิลภ กำเนิดจากพลายพราหมณ์โลหิตกับพังกนิลา ซึ่งสีกายเหลือง มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายม่วงเข้มดุจสีดอกสามหาวโรย ลำตัวยาวใหญ่และกลม         ๔. ปิสลักส์ หรือ บิศลัก กำเนิดจากพลายพราหมณ์โลหิตกับพังกนิลา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายแดงดั่งโลหิต ลำตัวกลม         ๕. มหาปัทมะ หรือ มหาปัท กำเนิดจากพลายกุมุท หรือ กระมุท กับพังอนูปักรมา ซึ่งสีกายแดงอ่อน มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายแดงดั่งดอกบัวสัตตบุษย์บาน ผิวเนื้อละเอียด         ๖. อุบลมาลี กำเนิดจากพลายกุมุท หรือ กระมุท กับ พังอนูปักรมา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเขียวดั่งสีก้านดอกบัวสัตตบุษย์         ๗. จบสระ หรือ จบตระ กำเนิดจากพลายกุมุท หรือ กระมุท กับพังอนูปักรมา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายสีสำลาน (สีขาวอมชมพูอย่างสีผิวของควายเผือก)         ๘. อำนวยพงศ์ (ไม่ปรากฎนาม) กำเนิดจากพลายกุมุท หรือ กระมุท กับพังอนูปักรมา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่มีกระดำทั่วกายแต่ดูงดงาม         ๙. นิล หรือ นิลชา กำเนิดจากพลายกุมุท หรือ กระมุท กับพังอนูปักรมา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดำ นัยน์ตาสีขาว งาขาว เล็บขาว         ๑๐. ปะระมาลี หรือ ประมาถี กำเนิดจากพลายอัญชัน หรือ อังชัน กับพังตามพะวรรณ ซึ่งสีกายทองแดง มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายสีน้ำเงินอ่อนดั่งสีท้องฟ้า         ๑๑. พสานิล หรือ ภสาร กำเนิดจากพลายบุษปทันต์กับพังสุภทันตี ซึ่งสีกายขาว มีขนาย (งาช้างพัง) ขาว เล็บขาว มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายขาวเหลืองอ่อน งาเหลืองดุจทองคำ         ๑๒. สาหะ หรือ สหสารสรรพ กำเนิดจากพลายบุษปทันต์กับพังสุภทันตี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายขาวเจือเขียวอ่อน งาเหลืองดุจสีดอกบวบ         ๑๓. บุษปทันต์ กำเนิดจากพลายเสาวโภม หรือ สารวภูม กับพังลิงคณะ ซึ่งสีกายเขียวแก่ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายแดงดั่งดอกบัวแดง ใบหน้ากว้างใหญ่ ลำตัวยาว กลมเกลี้ยง         ๑๔. สุประดิษฐ์ กำเนิดจากพลายสุประดิษฐ์กับพังอัญชนวดี ซึ่งสีกายดั่งสีดอกอัญชัน มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเขียวดั่งสีหญ้าแพรก           เมื่อพระวิษณุได้รับประทานเกสรดอกบัวมาจากพระอิศวรแล้วได้โยนเกสรบัวทั้ง ๘ ลงบนพื้นโลก เนรมิตให้บังเกิดเป็นช้าง ๘ หมู่ นามว่า อัฐคช เป็นช้างศุภลักษณ์วรรณะแพศย์ สมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งวรรณะ กล่าวคือ ผิวหนังหนา สีขนสีเดียวกับตัว ขนเกรียน หน้าใหญ่ น้ำเต้ากลม โขมดใหญ่และงาม นัยน์ตาใหญ่สีขาวขุ่น คางใหญ่ คอใหญ่และสั้น อกใหญ่ งวงยาวเรียวเป็นต้นเป็นปลาย ตัวใหญ่สั้นและงาม หลังราบ หางยาวบังคลอง กระชั้นควาญงาม เท้าทั้ง ๔ ใหญ่ เรียว มีรอยรัดข้อเท้า ฝักบัวกลม มีกระละเอียดสีแดงเสมอกันบริเวณลำตัวและใบหู เมื่อร้องมีเสียงดังก้องกังวาน            อัฐคช เป็นช้าง ๘ หมู่ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่วิษณุพงศ์ดังกล่าวข้างต้น และยังมีคชลักษณ์เฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละหมู่ ดังต่อไปนี้           ๑. สังขทันต์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกาย เหลืองงามบริสุทธิ์ดั่งสีทองคำเนื้อนพคุณ งาเล็กสีขาวงามบริสุทธิ์และงอนขึ้นเบื้องขวา เมื่อร้องเวลาเช้าเสียงดังประดุจเสือ แต่เวลาสายัณห์เสียงร้องดังประดุจเสียงไก่         ๒. ตามพหัสดินทร์ หรือ ตามพะหัสดิน มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายแดงประดุจสีทองแดงอันหม่น ห้าวหาญยิ่ง         ๓. ชมลบ หรือ ชมลพ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ปลายใบหูตอนบนยาว เมื่อปรบไปเบื้องหน้าจะจรดถึงกัน         ๔. ลบชม หรือ ลพชม มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ปลายใบหูตอนบนยาว เมื่อปรบไปเบื้องหลังจะจรดถึงกัน          ๕. ครบกระจอก หรือ ครบกจอก มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่หู หางและเล็บ งามพร้อม โดยเฉพาะเล็บมีเท้าละ ๕ เล็บ ทั้ง ๔ เท้า         ๖. พลุกสะดำ หรือ พลุกสดำ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่งางอนขึ้นเบื้องขวา         ๗. สังขทันต์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดำสนิทไม่มีสีอื่นปน งาสีขาวดุจสีสังข์แลดูงามพร้อม         ๘. โคบุตร มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเหลืองดังสีโค งางอนขึ้นเล็กน้อย หางกลม มีขนหางขึ้นรอบดุจหางโค เสียงร้องประดุจเสียงโคอุสุภราชไพเราะยิ่งนัก มีฤทธานุภาพห้าวหาญ ผจญเภทภัยและศัตรูแผ่นดินได้ทั้งปวง เป็นมหามงคลแก่พระเจ้าแผ่นดิน หรือผู้พบเห็น จะเจริญด้วยยศ มีบริวารเป็นอันมาก บางตำรากล่าวว่า ช้างนี้เกิดจากแม่โคซึ่งกินเชือกเขา (เถาวัลย์) หัตถีลดาอันมีในถิ่นที่ช้างเผือกอาศัยอยู่ แม่โคนั้นตั้งครรภ์นาน ๓ ปี จึงตกลูกเป็นช้างโคบุตรนี้             เมื่อพระอัคนีได้รับประทานเกสรดอกบัวจากพระอิศวรแล้ว ได้โยนเกสรดอกบัวทั้งหมดลงบนพื้นโลก เนรมิตให้บังเกิดเป็นช้างวรรณะศูทร โดยแบ่งส่วนเกสรจำนวน ๔๗ เกสรให้ บังเกิดเป็นคชชาติอัคนิพงศ์ศุภลักษณ์ ๔๗ หมู่เกสรดอกบัวอีก ๘๑ เกสร ให้บังเกิดเป็นคชชาติอัคคนิพงศ์ทุรลักษณ์ หรืออัปลักษณ์ ๘๑ หมู่ ส่วนเกสรดอกบัวที่เหลือก็เนรมิตให้บังเกิดเป็นคชชาติอัคนิพงศ์ทุรโทษ ๕ หมู่ และอัคคนิพงศ์ลหุโทษ ๗ หมู่ แต่ละหมู่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้           คชชาติอัคนิพงศ์ศุภลักษณ์ เป็นช้างที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งวรรณะ กล่าวคือ มีผิวหนังกระด้าง เส้นขนหยาบ ขนมีสีเดียวกับสีตัว หน้าเป็นกระเล็กๆ สีแดงเสมอกันเหมือนแววนกยูงดูงดงาม หน้างวงแดง ปากแดง นัยน์ตาสีน้ำผึ้ง หูแดง ตะเกียบหูห่าง ขนหูหยาบ งาสีแดงเรื่อ ๆ สันหลังแดง หางสั้นเขิน เท้าทั้ง ๔ ข้างใหญ่เรียว มีรอยรัดข้อเท้า ฝักบัวกลม เส้นขนหางกลมละเอียดดูงาม สีกายหม่น ไม่ดำสนิท ช้างอัคนิพงศ์ศุภลักษณ์ทั้ง ๔๗ หมู่ นอกจากจะมีลักษณะ เฉพาะหมู่แล้ว ยังมีลักษณะพิเศษของแต่ละหมู่อีกด้วย ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้         ๑. ประพัทจักรวาฬ หรือ พัทจักรวาล หรือ พระพัทจักรภาฬ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เวลาเดินเชิดงวงขึ้นเหนือกระพองศีรษะ เรียกกันเป็นสามัญว่า เดินบังเมฆ         ๒. พระอุธรดุม หรือ พระอธรดุม มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่รูปร่างสูงใหญ่ อกใหญ่ สวยงาม มีกำลังแรง กล้าหาญองอาจยิ่ง         ๓. รัตนกุมพล หรือ รัตนกัมพล มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ปลายงาขวาซ้อนทับอยู่เหนือปลายงาซ้ายเป็นลักษณะประสานกัน เป็นช้างที่มีคุณเป็นอันมาก คุ้มโทษภัยต่าง ๆ ได้ หากคล้องช้างโทษได้ ๑๐๐๐ ตัว เพียงได้รัตนกุมพลตัวเดียวก็พ้นโทษภัยทั้งปวง แม้จะประสมโขลงก็หาโทษมิได้         ๔. เศวตพระพร หรือ เสวตพพร มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายขาวบริสุทธิ์ประดุจสีสังข์ ขนขาว นัยน์ตาสีขาว หางขาว และเล็บขาว รูปร่างสูงใหญ่ เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเผือกสีสังข์         ๕. ประทุมหัสดี หรือ ประทุมหัตถี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกาย ขน หาง และเล็บ มีสีแดงประดุจดอกบัวหลวงโรย งามบริสุทธิ์ (งามปลอด) นัยน์ตาสีขาวบริสุทธิ์ เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเผือกโท         ๖. เศวตาคชราช หรือ เสวตพระคชราช หรือ เสวตพระคชสาร มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกาย ขน หาง และเล็บ มีสีประดุจใบตองอ่อนแห้ง นัยน์ตาสีขาวบริสุทธิ์ เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเผือกตรี         ๗. ประทุมทันต์ หรือ มณีจักรราชาเนียมเอก มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ทุกส่วนของร่างกายสั้น แต่ดูงาม งางอกพ้นจากไพรปากสั้นเพียง ๒ นิ้ว เมื่อยกงวงขึ้นจึงเห็นงามีรูปดังจาวมะพร้าว กล้าหาญยิ่ง เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเนียมเอก         ๘. ประทุมทนต์ หรือ มณีจักรราชาเนียมโท มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ทุกส่วนของร่างกายสั้น แต่งดงาม งางอกพ้นจากไพรปากสั้นเพียง ๕ นิ้ว มีรูปดั่งไข่ไก่ กล้าหาญยิ่ง เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเนียมโท         ๙. ประทุมทันต์มณีจักร หรือ มณีจักรราชาเนียมตรี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ทุกส่วนของร่างกายสั้นแต่ดูงาม งางอกพ้นจากไพรปากเพียง ๕ นิ้ว งามีรูปดั่งปลีกล้วย กล้าหาญยิ่ง เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเนียมตรี         ๑๐. นพสุบัณ หรือ นพสบรร มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่มีอวัยวะ ๙ ส่วนของร่างกายยาวจรดพื้นดิน ได้แก่ งวง งาทั้งสอง หาง อัณฑโกษ และเท้าทั้งสี่ รูปร่างสง่างาม กล้าหาญยิ่ง เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเก้าเท้า         ๑๑. ปิตหัสดินทร์ หรือ ปีตหัษดีนทร์ หรือ บิตหัสดินทร์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเหลืองงามบริสุทธิ์ งาขาวดั่งสีสังข์งอนขึ้นเบื้องขวา เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างตัวเหลือง         ๑๒. พิฆเนศวรมหาพินาย หรือ พิคเนศวรมหาพินาย หรือ พิษเนศวรมหาวินาย มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่มีงาซ้ายข้างเดียวมาแต่กำเนิด นัยน์ตาสีขาว เล็บขาว มีฤทธิ์เดชมาก เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างทอกซ้าย หรือช้างงาเดียวซ้าย         ๑๓. เทพามหาพิเนฆมหาไพฑูริย์ หรือ พระมหาวิเนกมหาไพทูน หรือ หักกรมเทพา พระมหาวิเนก มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่มีงาขวาข้างเดียวมาแต่กำเนิด นัยน์ตาสีขาว เล็บขาว หางดอก มีกำลังอานุภาพมาก  ผู้ใดหรือเมืองใดมีไว้ก็เป็นมงคล ถ้าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดได้ไว้ทอดพระเนตรเป็นนิจจะเกิดมงคลยิ่ง เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างทอกโทน หรือช้างงาเดียว         ๑๔. นิลทันต์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่งาทั้งสองมีสีดำสนิท กล้าหาญแข็งแรงยิ่ง         ๑๕. นิลจักษุ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดำสนิท นัยน์ตาทั้งคู่มีสีดำ กล้าหาญและเป็นมงคลยิ่ง         ๑๖. นิลนัข หรือ นิลนักขา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เล็บทั้ง ๔ เท้ามีสีดำสนิทประดุจสีนิล งามบริสุทธิ์         ๑๗. เหมทันต์ หรือ เหมทันต มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่งาทั้งคู่สีเหลืองงามบริสุทธิ์ เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างงาเหลือง         ๑๘. เหมจักษุ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่นัยน์ตาทั้ง ๒ ข้างเหลืองงามบริสุทธิ์ เรียกกันเป็นสามัญว่า   ช้างตาเหลือง         ๑๙. เหมนัข หรือ เหมนักขา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เล็บทั้ง ๔ เท้าเหลืองงามบริสุทธิ์ เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเล็บเหลือง         ๒๐. รัตจักษุ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่นัยน์ตาทั้งคู่สีแดงเหมือนแก้วมณี กล้าหาญ แข็งแรง ออกศึกมีชัยชนะทุกเมื่อ เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างตาแดงหรือช้างแดง         ๒๑. มณีรัตนนัข หรือ รัตนนักขา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เล็บทั้ง ๔ เท้า สีขาวใสดังแก้ว รวมทั้งข้อเท้าทั้ง ๔ ข้างก็ขาวบริสุทธิ์ด้วย เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเล็บขาว         ๒๒. รัตนัข หรือ รัตนักขา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เล็บทั้ง ๔ เท้า สีแดงดุจแก้วมณี เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเล็บแดง         ๒๓. เศวตทันต์ หรือ เสวตรทันต มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่งาทั้งคู่สีขาวบริสุทธิ์ดังสีสังข์ไม่มีไรงาแม้แต่น้อย เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างงาขาว         ๒๔. เศวตจักษุ หรือ เสวตรจักษุ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่นัยน์ตาทั้งคู่สีขาวบริสุทธิ์ดั่งแก้วขาว เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างตาขาว         ๒๕. เศวตนขา หรือ เสวตรนักขา มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เล็บขาวดั่งสีสังข์บริสุทธิ์หาเสี้ยนโตนดมิได้ เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเล็บขาว         ๒๖. เทพคีรี หรือ เทพคิรี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายเขียวอ่อนงามดั่งสีภูเขาอันสดใส หรือสีผลหว้าดิบ เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างเขาเขียว         ๒๗. จันคีรี หรือ จันทคิรี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดั่งสีภูเขาขาว หรือสีเถ้า         ๒๘. นิลานิโรช หรือ นิลหัษดิน หรือ นิลหัสดินทร์ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดำสนิท ดุจสีดอกสามหาว หรือสีม่วงเข้มจนเกือบดำ         ๒๙. เสาวโรฐ หรือ เสาวโรจ หรือ สูวโรด มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายแดงดั่งสีของปากนกแขกเต้า และปากล่างม้วนเข้า กับมีสีแดงเหมือนสีกาย         ๓๐. คชดำพงศ์ถนิม หรือ ดำผงถนิม หรือ กำพงสนิม มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่รูปร่างใหญ่ สีกายดำสนิท ตั้งแต่ศีรษะตลอดถึงปลายงวง หลัง ปลายหาง และเท้าทั้งสี่มีสีแดงประดุจสีดอกแจงดูเหมือนห่มคลุมด้วยเสื้อ เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างห่มเสื้อ         ๓๑. สมพงศ์ถนิม หรือ สมผงถนิม หรือ สมพงสนิม มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่รูปร่างสูงใหญ่สมส่วน กาย ขน นัยน์ตา เล็บ ล้วนมีสีดำบริสุทธิ์ กับมีกระสีดำตลอดตัว         ๓๒. กุมประสาท หรือ ภูมประสาท มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่โขมดสูงใหญ่งดงาม เป็นมงคลยิ่ง         ๓๓. จัตุรกุมภ์ หรือ จตุรกุมพ หรือ จตุรภมุพ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ลำขาทั้งสี่กลมงามประดุจกลึง ฝักบัวใหญ่กลมงดงามสมส่วน เรียกกันเป็นสามัญว่า ช้างแขนกลม         ๓๔. ขลุมประเจียด หรือ คลุมประเจียด มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ขนอ่อนดุจดอกหญ้าละเอียดขึ้นอยู่รอบขอบใบหู         ๓๕. พาลจักรี หรือ สารสดำ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่งางอนขึ้นเสมอกันทั้ง ๒ ข้าง ส่วนปลายงานั้นงอนไปทางขวา         ๓๖. มุขสโรช หรือ มุกขศโร มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เสียงร้องดังก้องสะเทือนพสุธาประดุจเสียงแตร         ๓๗. เมฆครรชิต หรือ สัทเมฆครันชิต มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เสียงร้องดั่งเสียงฟ้าร้องคำราม         ๓๘. โกญจศัพท์ หรือ โกญจสับท มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เสียงร้องประดุจเสียงร้องของนกกระเรียน         ๓๙. สรสังข์ หรือ สังขสระ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เสียงร้องดังประดุจเสียงเป่าสังข์         ๔๐. ศัพทเภรี หรือ สัพเภรี มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่เสียงร้องประดุจเสียงกลองชัย         ๔๑. ภัทร หรือ พัทร มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่รูปร่างสูงใหญ่ถึง ๗ ศอก ลำตัวโอบรอบยาว ๑๐ ศอก ลำตัวยาว ๙ ศอก งาสีเหลืองดั่งน้ำผึ้ง หลังโก่งขึ้นเล็กน้อยประดุจคันธนู เท้ากลม ฝักบัวกลม เล็บเกรียนประดุจเล็บช้างเถื่อน ส่วนหน้าสูงกว่าส่วนท้าย น้ำมันตกมีสีเขียว บางตำรากล่าวว่า ช้างนี้มีบิดาเป็นกระต่าย          ๔๒. มิค หรือ มิคะ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายแดงดั่งสีชาด รูปร่างสูงใหญ่ถึง ๖ ศอก ลำตัวโดยรอบยาว ๘ ศอก นัยน์ตาดั่งตาราชสีห์ งาทั้งคู่สีแดงดั่งสีชาด ราวคอราบ ท้องใหญ่ ขนตัวยาว น้ำมันตกมีสีเขียว บางตำรากล่าวว่า ช้างนี้มีบิดาเป็นเนื้อ         ๔๓. สังคิน มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่สีกายดำเทาดุจหมอกคลุม รูปร่างสูงใหญ่ถึง ๕ ศอก ลำตัวโดยรอบยาว ๘ ศอก ลำตัวยาว ๗ ศอก ศีรษะใหญ่ หน้าใหญ่ คางสั้น หูใหญ่ นัยน์ตาใหญ่ งาทั้งคู่มีสีเหลืองเป็นมันดั่งทองคำ หางสั้นเขิน น้ำมันตกมีสีดำประดุจเขม่า บางตำรากล่าวว่า ช้างนี้มีบิดาเป็นนาค         ๔๔. กุญชเรศ หรือ กุญชรคชกรร มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่รูปร่างสูงใหญ่ โดยเฉพาะส่วนท้ายใหญ่ บางตำรากล่าวว่า ช้างนี้ตัวเล็กเท้าใหญ่ มีบิดาเป็นวานร         ๔๕. ครอบจักรวาฬ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ฝักบัวกลม เล็บเท้ามีครบ ๕ เล็บ ขณะยืนอยู่จะเห็นเล็บทั้งห้าเหมือนกลีบบัวบาน ครั้นยกเท้าขึ้นจะเห็นเส้นรอบฝักบัวเหมือนกันทั้ง ๔ เท้า ช้างนี้อยู่ในเมืองใด เมืองนั้นเป็นมงคลยิ่งนัก         ๔๖. ร่องมดโอภาร มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่งวงสีขาวตลอดหลังถึงปลายหางขาว มีฤทธิ์เดชมาก         ๔๗. พิธาเนสูน มีลักษณะพิเศษเฉพาะหมู่อยู่ที่ผมดกเป็นพู่ดูงดงามยิ่ง มีกำลังแข็งแรงอย่างยิ่ง   รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒)           ๑. พระบรมไกรสร บวรสุประดิษฐ์ อัฐทิศพงศ์ มงคลดิเรก เอกมหันต์อนันตคุณ สมบูรณ์เลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายสีประหลาด พระยานครราชสีมา น้อมเกล้า ฯ ถวาย ขึ้นระวางสมโภชวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๔ ปี มะโรง จุลศักราช ๑๑๔๖ (พ.ศ. ๒๓๒๗)            ๒. พระบรมไกรสร บวรบุษปทันต์ สุวรรณลักขณา มหาศุภมงคล วิมลเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายเนียม พระยาราชบุรี น้อมเกล้า ฯ ถวาย ขึ้นระวางสมโภชวันอังคาร ปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๔๖ (พ.ศ. ๒๓๒๗)           ๓. พระอินทรไอยรา รัตนาเคนทร์ คเชนทรบดินทร์ อนันตคุณ สมบูรณ์เลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพังสีประหลาด จัดเป็นช้างเผือกตรี ลูกเถื่อน คล้องได้ที่เมืองภูเขียว สีนวลเหมือนสีใบตองแห้ง จักษุ เล็บ ขนตัว ขนหาง ขาว เจ้าของฝึกไว้ใช้สอย มีผู้ทักท้วงว่า เป็น ช้างสำคัญ เจ้าของกลัวว่า จะต้องไปเป็นของหลวง ตัดหางเสีย พระองค์โปรดให้จัดส่งไปทอดพระเนตร ทรงพระพิโรธเจ้าของมาก จึงไม่ทรงพระราชทานสิ่งใดเลย และโปรดให้เอาหางโคผูกเข้าต่อเป็นช้างโคบุตร พระยานครราชสีมา น้อมเกล้า ฯ ถวาย ขึ้นระวางสมโภช วันอาทิตย์ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๑๕๖ (พ.ศ. ๒๓๓๗) ต่อมารัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “พระอินทรไอยรา คชาชาติฉัททันต์ พิศผิวพรรณเผือกตรี สียอดตองตากแห้ง วิษณุแกล้งรังรักษ์ มงคลลักษณ์ เลิศฟ้า”           ๔. พระเทพกุญชร บวรศรีเศวต เอกชาติฉัททันต์ อนันตคุณสมบูรณ์เลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพังเผือกเอก ลูกเถื่อน คล้องได้ที่เมืองภูเขียว พระยานครราชสีมา น้อมเกล้า ฯ ถวาย ขึ้นระวางสมโภชวันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา จุลศักราช ๑๑๖๓ (พ.ศ. ๒๓๔๔) ซึ่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จไปรับที่บ้านศาลาลอย กรุงศรีอยุธยา ในวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ ก่อน  แล้วล่องแพลงมายังกรุงเทพฯ วันพุธ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ พระเทพกุญชรฯ นี้  มีขนาดสูง ๔ ศอก คืบ ๖ นิ้ว จักษุ เล็บ ขนตัว ขนหาง และลักษณะทั้งปวง ขาวบริสุทธิ์ ต้องด้วยลักษณ์ เศวตรภรณ์ เผือกเอก ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ. ๒๓๕๕ พระราชทานนามใหม่ว่า “พระเทพกุญชร บวรศรีเศวต อมรเมศนฤมิตร เผือกผ่องพิศโสภา มิ่งมงคลานาเคนทร์ คชคเชนทร์เฉลิมขวัญ ชาติฉัททันต์สูงศักดิ์ วิไลลักษณ์เลิศฟ้า พระเทพกุญชร” ล้มในสมัยรัชกาลที่ ๓            ๕. พระบรมฉัททันต์ สุวรรณรัศมี ศรีศุภลักษณ์ อรรคทศคชาพงศ์ มงคลเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายสีทองแดง สูง ๖ ศอก คล้องได้ที่เพนียด วันอาทิตย์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน จุลศักราช ๑๑๖๕ (พ.ศ. ๒๓๔๖) สมโภชขึ้นระวาง เดือน ๙ ปีกุน            ๖. พระบรมนัขมณี ศรีรัตนคเชนทร บวรวิศณุพงศ์ วงศ์คชพรรณ อนันตคุณ สมบูรณ์เลิศฟ้า (ตระกูล วิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายที่มีเล็บครบ พบที่เมืองนครศรีธรรมราช พระยาศรีธรรมราช น้อมเกล้า ฯ ถวาย และขึ้นระวางสมโภช ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๕๙)           ๗. พระบรมคชลักษณ์ อรรคคเชนทร สุเรนทรฤทธิ์ สิทธิสมพงศ์ มงคลเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายกระ เจ้าเมืองเวียงจันทน์น้อมเกล้า ฯ ถวายและขึ้นระวางสมโภช ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๕๙) โดยโปรดให้สร้างโรงพักช้างที่วัดสระเกศ             ๘. พระบรมนาเคนทร์ คเชนทรชาติดามพหัตถี ศรีสุวรรณเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายสีทองแดง พระยานครราชสีมา น้อมเกล้า ฯ ถวาย ขึ้นระวางสมโภช วันอังคาร เดือน ๓ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๖๙ (พ.ศ.๒๓๕๐) โดยโปรดให้สร้างโรงพัก ช้างที่วัดสระเกศ            ๙. พระบรมคชลักษณ์ อรรคชาติดามพหัตถี ศรีทศพงศ์ รณรงค์เลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายสีทองแดง เจ้าทุ่ง น้อมเกล้า ฯ ถวายและขึ้นระวางสมโภช วันอังคาร แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ปี เถาะ จุลศักราช ๑๑๖๙ (พ.ศ. ๒๓๕๐) โดยโปรดให้สร้างโรงพักช้างที่วัดสระเกศ            ๑๐. พระบรมเมฆเอกทนต์ วิมลสุประดิษฐ์ สิทธิสนธยา มหาศุภมงคล วิมลเลิศฟ้า (ตระกูลอิศวรพงศ์) เป็นช้างพลายงาเดียว ขึ้นระวางสมโภช วันอังคาร แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๖๙ (พ.ศ. ๒๓๕๐)   รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒ – ๒๓๖๗)           ๑. พระยาเศวตรกุญชร อดิศรประเสริฐศักดิ์ เผือกเอกอรรคไอยรา มงคลพาหนนารถ บรมราชจักรพรรดิ วิเชียรรัตนาเคนทร์ ชาติคเชนทร์ฉัททันต์ หิรัญรัศมีศรีพระนคร สุนทรลักษณเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นลูกช้างพลายเผือกบริสุทธิ์ สูง ๒ ศอก คืบ ๘ นิ้ว พบที่ทุ่งยังเขากระพ้อ ปลายน้ำเมืองโพธิสัตว์ นายมก ซึ่งเป็นพ่อหมอ นายคง ซึ่งเป็นควาญ คล้องได้ และพระยาอภัยภูเบศร เจ้าเมืองพระตะบอง ได้กราบบังคมทูลลงมายังกรุงเทพฯ จุลศักราช ๑๑๗๔ (พ.ศ. ๒๓๕๕) รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้า ฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นเทพพลภักดิ์ และเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช เดินทางไปรับ เมื่อช้างมาถึงบ่อโพงจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ นำเงินไปพระราชทานหมอควาญและผู้คุมช้าง ๑๐ ชั่ง            ๒. พระบรมหัสดินทร์ วรินทร์ราชพาหนะ พื้นขาวกระสมพงษ์ สารทรงประเสริฐศักดิ์ (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายกระ สูง ๕ ศอก พระยาเชียงใหม่ น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อเดือน ๔ ปีกุน สัปตศก พ.ศ. ๒๓๕๗           ๓. พระบรมนาเคนทร์ คเชนทราธาร กำแหงหาญห้าวเหี้ยม ลักษณะเนียมประทุมทันต์ เฉลิมขวัญพระนคร เกียรติขจรจบสกล มิ่งมงคลเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างเนียม เจ้านครเวียงจันทน์ น้อมเกล้า ฯ ถวาย  เมื่อปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ (พ.ศ. ๒๕๕๔) โดยมีท้าวเพี้ยหมอควาญ เป็นผู้คุมลงมาถวายถึงกรุงเทพฯ วันอาทิตย์ เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ            ๔. พระยาเศวตรไอยรา บวรพาหนะนารถ อิศราราชบรมจักร ศรีสังขศักดิ์อุโบสถ คชคเชนทรชาติ อาจาริยเผือกผ่องบริสุทธิ์ เฉลิมยุทธยายิ่ง วิมลมิ่งมงคล จบสกลเลิศฟ้า (ตระกูลอิศวรพงศ์) เป็นช้างพลายเผือก สูง ๓ ศอก คืบ ๖ นิ้ว คล้องได้ในป่าแขวงเมืองเชียงใหม่ เมื่อปีชวด อัฐศก พ.ศ. ๒๓๕๙ พระยาเชียงใหม่ น้อยธรรม  ได้มีหนังสือกราบทูลพระกรุณา ซึ่งรัชกาลที่ ๒ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีตราแจ้งให้นำลงมาน้อมเกล้า ฯ ถวาย ซึ่งพระยาเชียงใหม่ ได้คุมช้างมาลงแพ เมืองกำแพงเพชร และถึงกรุงเทพฯ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ ปีชวด อัฐศก ส่วนพระยาเชียงใหม่ โปรดเกล้า ฯ เลื่อนขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ช้างเผือก            ๕. พระยาเศวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิ์สมบูรณ์ เกิดตระกูลสรรพสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศรราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร สุธารักษ์รังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุธยา ขัณฑเสมามณฑลมิ่งมงคลเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกรูปงาม หู หาง คา ชน และเล็บ สี ขาว แต่ที่ตัวช้างเป็นเจือสีเหลือง สูง ๓ ศอก คล้องได้ในป่าแขวงเมืองน่าน และพระยาน่าน น้อมเกล้า ฯ ถวายเมื่อปีชวด อัฐศก พ.ศ. ๒๓๕๙ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔)           ๑. พระบรมไกรสร กุญชรชาติอำนวยพงศ์ มงคลคชยศอนันต์ มหันตคุณวิบุลยลักษณ์เลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นพลายกระ สูง ๔ ศอก ๑ คืบ ๑๐ นิ้ว  พระยาราชนิกุล น้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๓๗๙           ๒. พระบรมกุญชร บวรขลุมประเจียด เกียรติคุณวิบูลยยศ คชอัคนิพงศ์ มงคลลักษณเลิศฟ้า (ตระกูล อัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายสีทองแดง มีตาสีขาว เล็บและขนยาว เป็นสีเหลือง เรียกว่า ขลุมประเจียด ขนาดสูง ๔ ศอก ๓ นิ้ว หมื่นราชากลกรณ์ จับได้ที่บ้านเหล่าช้าง และน้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๓๗๙            ๓. พระบรมนัขนาเคนทร วเรนทรดุรงค์ฤทธิ์ พงศ์พิษณุรังสรรค์ อนันตคุณพรุณศาสตร์ วิลาสลักษณ์เลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายเล็บครบ สูง ๓ ศอก ๑๑ นิ้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา น้อมเกล้า ฯ ถวาย มาจากเมืองพระตะบอง วันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๖            ๔. พังหงสาสวรรค์ จับได้ที่ป่าแขวงเมืองสําโรงทอง สูง ๔ ศอก เจ้าพระยาบดินทรเดชา มอบให้จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ คุมมาจากเมืองพระตะบอง น้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๓๘๗           ๕. พระบรมไอยเรศ สีสุริเยศยอแสง ดามพแสดงกมเลศฤทธิ์ สิทธิมงคล คุณวิบุลยศ คชวิลาศลักษณเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายลูกโขลง สีทองแดง สูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว ซึ่งหลวงคชศักดิ์ น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันเสาร์ เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๗ ต่อมารัชกาลที่ ๔  ทรงแปลงชื่อใหม่เป็น “พระบรมไอยเรศ วิเศษสรรพางศ์ ศรีสุริยสายัณห์ยอแสง ดามพแสดงกุมภเรศฤทธิ์ ประสิทธิมงคล คุณวิบูลยยศ คชวิลาศรัตนเลิศฟ้า”           ๖. พระบรมสังขทันต์ ฉวีวรรณนิลขจิตร พงศ์วิษณุรังรักษ์ ประเสริฐศักดิ์ระบือบุญ อนันตคุณภิญโญยศ มงคลคชเลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายสีเขียว เหมือนครามแห้ง มีงาข้างเดียว สีขาว สูง ๕ ศอก ๖ คืบ พระยาศรีสหเทพ (เพ็ง) น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันศุกร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๗            ๗. พระบรมคชลักษณ์ ศักดิสารจุมปราสาท ชาติรัตกัมพล มงคลสรรพอนันตคุณ ศรีสุนทรเลิศฟ้า (ตระกูลอิศวรพงศ์) เดิมชื่อ พลายพนมกร สูง ๔ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว เจ้าพระยาพระคลัง น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๗            ๘. พระบรมนขาคเชนทร์ (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลาย สูง ๔ ศอก ๒ นิ้ว เจ้าราชวงศ์เชียงใหม่น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก พ.ศ. ๒๓๘๘           ๙. พระบรมนาเคนทรนขา (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพังเล็บครบ พระยาน่าน น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๘           ๑๐. พระบรมศุภราช สมมุติชาติโคบุตร กฤษณทรงครุฑปราสาทสรรค์ ศรีสุพรรณเนื้อริน วรรณนิลผุดผาด สารสวัสดิมงคลคุณ สุนทรลักษณ์เลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายด่าง สูง ๕ ศอก เจ้าเชียงใหม่    น้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๓๘๙           ๑๑. พระยามงคลคชวงศ์ อัคนีทรงปราสาทสรรค์ พรรณผกาโกเมศ ทวาเศวตรบวร แก้วกุญชรเฉลิมกรุง ฟุ้งเฟื่องเดชกระเดื่องดิน คุณภิญโญยศ คชลักษณวิลาศเลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายสีเปลือกมะพร้าว สูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๓ นิ้ว เจ้าเมืองชนบท น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๑๔ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๙๑              ในรัชกาลนี้ยังมีช้างพลายอีก ๒ เชือกที่เจ้าเมืองเชียงใหม่ และพระยารามัญแขก น้อมเกล้า ฯ ถวาย แต่มิได้ขึ้นระวาง คือ                ๑. เจ้าเชียงใหม่ นำช้างพลายสีประหลาด สูง ๓ ศอก ๑ คืบ น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๑๔ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๙ ไม่ได้ขึ้นระวาง แต่พระราชทานให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนเดชอดิศรไปทรงเลี้ยงไว้ที่วัง                 ๒. พระยาสงขลา น้อมเกล้า ฯ ถวาย ช้างพลายกระ จุดดำเท่าเม็ดพริกไทย พื้นขาวมัวเสมอทั้งตัว ขนาด    สูง ๕ ศอก ๙ นิ้ว ที่พระยารามัญแขก ส่งมาให้ น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๖ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๙๒ แต่ล้มเสียก่อน             นอกจากนี้ยังได้พบว่าในรัชกาลที่ ๓ ทรงมีช้างต้นอีกหลายเชือก ดังปรากฏนามในริ้วกระบวนแห่กฐินพยุหยาตราสถลมารค ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส นิพนธ์ ในประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ดังนี้  ๑. เจ้าพระยาไชยานุภาพ สูง ๖ ศอกคืบ ๙. พลายประกายมาศ สูง ๖ ศอก ๘ นิ้ว ๒. เจ้าพระยาปราบไตร สูง ๖ ศอก ๑ คืบ  ๑๐. พลายกุณฑลหัตถี สูง ๖ ศอก ๕ นิ้ว  ๓. พลายมงคลจักรวาฬ สูง ๖ ศอก ๑๑ นิ้ว ๑๑. พลายคเชนทรรัตน สูง ๖ ศอก ๓ นิ้ว ๔. พลายพิมานจักรพรรดิ สูง ๖ ศอก ๑๑ นิ้ว ๑๒. พลายสวัสดิกุญชร สูง ๖ ศอก ๓ นิ้ว ๕. พลายจักรอมรินทร์ สูง ๖ ศอก ๑๐ นิ้ว ๑๓. พลายเทพนิรมิต สูง ๖ ศอก ๖. พลายศิลปนารายณ์ สูง ๖ ศอก ๙ นิ้ว ๑๔. พลายดุสิตพิมาน สูง ๖ ศอก ๗. พลายมโนนฤมิต สูง ๖ ศอก ๙ นิ้ว ๑๕. พลายมหาคชาธาร สูง ๖ ศอก ๘. พลายวิจิตรเจษฎา สูง ๖ ศอก ๙ นิ้ว ๑๖. พลายกาลอัคคี สูง ๖ ศอก           รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑)           ๑. พระวิมลรัตนกริณี สุทธศรีสรรพางคพิเศษ ทุติเศวตวรรโณภาส พงศกมลาสนรังสฤษดิ์ ราชบุญฤทธิสมาหาร โสภาจารจุฬาหล้า มหาอุดมมงคล พรรษผลพิบูลยประสิทธิ์ ศุภสนิทพาหนนาถ ลักษณวิลาศเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพังเผือกโท สีแดงเจือทองหม่น ๆ สูง ๔ ศอก ๒ นิ้ว คล้องได้ที่ป่าฉมาตฉบา แขวงท่าลัด เมืองยโสธร พระสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองยโสธร น้อมเกล้าฯ ถวายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ โปรดให้มีการสมโภชที่ชาลาหน้าโรงช้าง ในพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานเสื้อผ้า เงินตรา แก่พระสุนทรราชวงศา ๓ ชั่ง แก่หมอควาญ คนเลี้ยง ๔ ชั่ง            ๒. พระวิสูตรรัตนกรณี โบกษรหัสดีตระกูล สกลบริบูรณ์บริสุทธิ์เศวต คงพิเศษวรลักษณ์ เฉลิมราชศักดิ์สยาม โลกยาธิเบนทร์ ปรเมนทรมหาราชาธิราช บุญวราดุลยฤทธิสมาหาร สรรพาการศุภโสภณ มงคลคุณประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพังเผือกโท สีแดงเจือเหลือง สูง ๔ ศอก ๑๑ นิ้ว คล้องได้ที่บ้านป่า   ฉมาตฉบา เมืองยโสธร พระสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองยโสธร นำมา น้อมเกล้า ฯ ถวายที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ โปรดให้มีการสมโภชที่ท้องสนามชัย หน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ และพระราชทานเสื้อผ้า เงินตรา แก่พระสุนทรราชวงศา และพระราชทานเงิน หมอควาญ ๕ ชั่ง            ๓. พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ฉัททันตคเชนทรชาติ วรราชรัตนกรีลักษณ์ จตุรพักตร์พิสุทธิพงศ์ มิ่งมงคลสกลสรรไพบูลย์ ปรเมนทรเรนทรสูรบารมิตาสมาหาร สุนทราจารจริตงามสยามโลกดิลก คชนายกนาคินทร์ หัสดินทรรัตนรุ่งฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกโท สีดินแดงเจือฝุ่นเจือสีเหลือง สูง ๓ ศอก ๒ นิ้ว คล้องได้ที่เขาจองแมว แขวงฉมาตฉบา พระรัตนวงศา เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ นำมาน้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๐๖ โปรดให้มีการสมโภชที่ท้องสนามชัย หน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ พระราชทานเสื้อผ้า และเงิน แก่พระรัตนวงศา ๑ ชั่ง ๕ ตำลึง และพระราชทานเงินแก่หมอควาญ เจ้าของช้างต่อ ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ช้างเชือกนี้ปลูกโรงที่เขื่อนเพชร ด้านตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งรื้อไปแล้ว            ๔. ช้างพังเผือกโท (ตระกูลพรหมพงศ์ ช้าง ๑๐ หมู่ หมู่เหมหัตถี) ผิวสีเหลืองเจือแดง จักษุเหมือนน้ำทอง  ขนตัวและขนหาง เป็นสีเหลือง อยู่ในตระกูลเหมหัตถี สูง ๓ ศอก ๑ คืบ พระศรีวรราชกับท้าวเพี้ย คล้องได้ที่ป่าฉมาตฉบา และพระสุนทรราชวงศา นำมาน้อมเกล้า ฯ ถวาย ทอดพระเนตรที่เขาแก้ว แขวงเมืองสระบุรี พ.ศ. ๒๔๐๓ เมื่อเสด็จ ฯ ไปนมัสการพระพุทธบาท โปรดให้มีละครทำขวัญช้าง และโปรดให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ฯ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาปราบปรปักษ์) คุมช้างลงมากรุงเทพฯ แต่ช้างเป็นไข้ ล้มเสียก่อนที่บ้านเริงราง               ๕. พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ สรรพางคพิบูลยลักษณ เผือกเอกอรรคอุดม บรมรัตนราชกรณี ยิ่งอย่างดีศรีพระนคร สุนทรสุภโสภณ มิ่งมงคลคชคุณ อดุลยกิริยามารยาท ช้างชาติอุโบสถ ลักษณะปรากฏพร้อมมูล บริบูรณบัณฑรนัขเนตร โลมเกศกายฉวีวรรณศรีทองผ่องแผ้ว เป็นกุญชรีแก้วกำเนิดพรหมพงศ์ ดำรงราชบารมี สมเด็จพระสยามาธิบดี ปรเมนทรมหาราชวรวิลาศเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพังสีประหลาด จัดเป็นช้างเผือกเอก สูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว พระรัตนวงศาอุปฮาดราชวงศ์ เมืองสุวรรณภูมิ คล้องได้ที่บ้านฉมาตฉบา แขวงป่าลัดแด น้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๐๕ โปรดให้ปลูกโรงสมโภชที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พระราชทานเสื้อผ้า เครื่องอุปโภคบริโภค ให้พระรัตนวงศา และพระราชทานเงิน หมอควาญ ๑๐ ชั่ง            ๖. ช้างเผือกเอก (ตระกูลอัคนิพงศ์) สีขาวบริสุทธิ์ จักษุขาวใสบริสุทธิ์ ขนหางสีขาวเจือเหลือง สีตัวขาวเจือชาด จะงอยปากล่างขบขึ้นไปเหมือนปากนกแก้ว คล้องได้ที่บ้านนา แขวงนครนายก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ ทรงคล้อง ได้ พ.ศ. ๒๔๐๗ ทรงนำมาฝึกที่บ่อโพง นำมาฉลองที่วัดชุมพลนิกายาราม มีมหรสพสมโภช ๓ วัน ๓ คืน แต่ช้างป่วยและล้มก่อน           ๗. พระศรีสกนธ์กฤษณ์ สุทธสนิทฉวีวรรณ สังฆทันตสรรพางคโสภณพิเศษ นิลเนตรนิลขับวรลักษณมหา กุฬาวชาตรีกมลาสน์รังสฤษดิ์ ราชบุญฤทธิ์สมาคมอุดมคติผล มิ่งมงคลคชินทร สยามาธิบดินทรพาหนะนารถประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายนิล พระสุวรรณวิมลศรี วัดสุวรรณดาราราม น้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๐๗            ๘. พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร์ พิเศษสรรพวรลักษณ์ เศวตนัขทักษิณกทันต์ ประสิทธิสรรพศุภผล เจริญราชวรชนมายุกาล คชาธารประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) ทรงคล้องได้ที่เพนียด พ.ศ. ๒๔๐๗ เป็นช้างลูกโขลง ปลายงาสีแดงเจือเหลือง            ๙. พระบรมนัขสมบัติ (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายเล็บครบ สูง ๕ ศอก ๓ นิ้ว นายสุง บุตรพระไชยบาดาล น้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๐๗           ๑๐. พระไชยนิลนัข (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างเล็บดำ สูง ๔ ศอก ๔ นิ้ว ข้าหลวงเดิม น้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๐๗            ๑๑. พระพิชัยกฤษณวรรณ (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายเล็บดำ สูง ๓ ศอก คล้องได้ที่เพนียด พ.ศ. ๒๔๐๗            ๑๒. พระบรมคชรัตน์ (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายกระ สูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว หลวงจินดารักษ์ น้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๐๗ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓)           ๑. พระเศวตวรวรรณ สรรพวิสิฐคชลักษณ์ ดำพงษ์ถนิมศักดิ์ธำรง มิ่งมงคลรัตนาศน์ จักรพรรดิราชกุญชร พรรณกพรพหลเดช วรัคเนตรนิลสนิท พิศผิวกายผ่องประภัศร สารสุนทรบัณฑรโลมพิเศษ สุทธเศวตสอดประสาน นิลวรรณผ่านเล่ห์นฤมิต อรรคนิศรแสร้งเศกสรร ต้องแบบบรรพ์สำหรับคช จรดกาลก่อนห่อนเคยมี มาเฉลิมศรีพระนคร เอกอดิศรสยามาธิบดินทร์ ปรมินทรจุฬาหล้า อุดมมหาดิเรกยศ เกียรติปรากฏวิบูลย์สวัสดิ์ หัสดินรัตนประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายด่างดำพงษ์ถนิม เป็นช้างลูกบ้านเมืองพร้าว พระเจ้ากาวิโลรสุริยวงษ์ พระเจ้านครเชียงใหม่ น้อมเกล้า ฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๑๓            ๒. พระมหารพีพรรณคชพงษ์ ทรงสุรเดชวิเศษศักดิ์ สกลลักษณเลิศลบ ขจรจบศรีธรรมราช คเชนทรชาติอุบลมาลี วรรณฉวีสัตบุษวิสุสธพงศ์จตุรภักตร์ รัตนัคพาหนนารถ ดำรงราชกฤษตภินิหาร สมภารสู่คู่พระบารมี เฉลิมศรีอมรโกสินทร์ องค์พระสยามมินทรจุฬาหล้า ปรมินทรมหาราชบพิตร สฤษดิ์พรรษผลคลประจักษ์ วรางคลักษณเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายสีประหลาด พระศิริธรรมบริรักษ์ ปลัดเมืองนครศรีธรรมราช   น้อมเกล้า ฯ ถวายและขึ้นระวางสมโภช พ.ศ. ๒๔๑๓ พร้อมกับพระเศวตวรรณฯ            ๓. พระเศวตสุวภาพรรณ สรรพสินิทคชคุณ สมบูรณ์ลักษณวรเดช ทุติยเศวตวรรณวิจิตร สยามวิเศษสุทธเนตรนัขโลมฉวี ศรีสมานกายฉายเฉิด ดิลกเลิศเฉลิมกรุง ภมรผดุงรัตนโกสินทร์ สยามมินทโรดมบรมนารถ อรรควรราชพาหนเทพ เสพสวัสดิ์พิพัฒผล มิ่งมงคลเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกโท คล้องได้ที่ป่าฉมาตฉบา เมืองกระแจะ แขวงรแด พระยารัตนวงษ์เจ้า เมืองสุวรรณภูมิ และพระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์   น้อมเกล้าฯ ถวาย และขึ้นระวางสมโภช พ.ศ. ๒๔๑๕            ๔. พระเทพคชรัตนกิริณี ศุภศรีสกนธเศวต วรเชฐดไนยวิไลลักษณ์ เฉลิมราชศักดิ์สยามวิชิต พงศ์อัคนิศรมหิศรเดชนุพาหนนารถนฤบดินทร์ คชนาคินทรวิลาศเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพังเผือกโท คล้องได้ที่ดงฉมาดฉบา แขวงรแด พระยารัตนวงษา เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ น้อมเกล้า ฯ ถวาย และขึ้นระวางสมโภช พ.ศ. ๒๔๑๗            ๕. พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ สุทธาดิสัยพรรณสกนธพิเศษ ทุติยเศวตนิฐวรสังกาศ อัคนิศรเทวราชรังสฤษดิ์ ราชบุญฤทธิบารมี รัตนคชาธารวรพาหนนารถ บรมราชาธิราชธำรง วราภิพงษ์คชลักษณ์ สุนทรศักดิอิศริยพัฒน์ กิริณีรัตนเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพังเผือกโท คล้องได้ที่ดงฉมาตฉบา ราชบุตร เมืองขอนแก่น น้อมเกล้า ฯ ถวาย และขึ้นระวางสมโภช จุลศักราช ๑๒๓๖ (พ.ศ. ๒๔๑๗)            ๖. พระบรมทันตวรลักษณ์ นาเคนทรศักดิ์สิงหสุรเดช พงษ์พิเศษทุติยปทุมทันต์ อัคนิศรสรรแสร้งประสิทธิ์ อุดมฤทธิ์อเนกคุณวิบูลย์สวัสดิ์ เฉลิมสยามรัตนราไช สวรรยาธิปไตยบรมอาศน์ คชพาหนนารถสุทธิวิมล มหันตมงคลเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายเนียม ซึ่งเจ้านครลำปาง น้อมเกล้า ฯ ถวาย และขึ้นระวางสมโภช พ.ศ.๒๔๑๗ ในวันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ จุลศักราช ๑๒๓๖ (พ.ศ. ๒๔๑๗)           ๗. พระเศวตวรลักษณ์ คเชนทรศักดิสุนทรสกนธ์ พรรณโกกมลพิษผ่องผุด สรรพาวควิสุทธจำรูญ กมุทตระกูลพงษ์จตุรภักตร์ บรมอรรคบารมิตาสมาหาร สู่สมภารบงกชบาท พาหนนารถนฤบดินทร์ ปรมินทรมหาจุฬาอดุลยเดช อุดมพิเศษมหาพรรษคติผล มิ่งมงคลคชาชรรัตน ศุภสวัสดิประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกโท คล้องได้ที่ป่าดงกระมุง แขวงเมืองสมบุกสมบุญ เจ้ายุติธรรม นครจําปาศักดิ์ น้อมเกล้า ฯ ถวาย และขึ้นระวางสมโภช วันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๓๗ (พ.ศ. ๒๔๑๘)           ๘. พระเศวตวรสรรพางค์ บวรางคคชรัตน ลักษณสมบัติวิบูลย์พิเศษ พิสุทธเนตรโลมฉวี ศรีรัตประทุมบวร สารสุนทรทุติยเศวต พิษณุเทเวศรังสรรค์ ลักษณพรรณสบสทร คเชนทรชาติลบชม อุดมเดโชผล อมรเทพยดลบันดาล คู่สมภารพาหนนารถ จอมจุฬาธิราชธำรง อาศน์อิศรองค์พงษ์จักรพรรดิ พิศาลสวัสดิประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกโท คล้องได้ที่เพนียดอยุธยา และขึ้นระวางสมโภช วันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีชวด จุลศักราช ๑๒๓๘ (พ.ศ. ๒๔๑๘)           ๙. พระเศวตวิสุทธิเทพา มหาพิฆเนศวร์ พิเศษสุนทรศักดิทักษิณเอกทันต์ อนันตวิบูลย์คุณประสิทธิ์ สรรพางสนิทพิสิฐพรรณ อัคนิรังสรรค์หันตวรเดช ทุติยเศวตวิสุทธวิมล พิพัฒนศุภผลดลประจักษ์ เจริญราชวรศักดิชนมายุกาล เฉลิมสมภารพาหนะนรินทร์ ปรมินทรจอมจุฬาหล้า อรรคมหาหิทธิคุณ อดุลยลักษณ์เลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกโท คล้องได้ที่ดงฉมาตฉบา ราชบุตร พระศรีวรราช เมืองยโสธร น้อมเกล้า ฯ ถวาย   และขึ้นระวางสมโภช เมื่อวันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด จุลศักราช ๑๒๓๘ (พ.ศ. ๒๔๑๙)           ๑๐. พระเศวตสุนทรสวัสดิ คชินทรรัตนสมบูรณ์ ศักดิตระกูลประทุมหัตถี เนตรนัขฉวีโลมวิมล สารโสภณสกนธพิเศษ ทุติยเศวตวรรโณภาษ อัคนิเทวราชรังสรรค์ ชาติปรจันตกาญจนดิฐ  อเนกบุญฤทธิ์สมาคม เฉลิมบรมราชบารมี จอมธเรศดริเบญจมรัช พิศาลสวัสดิประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกโท คล้องได้ที่ป่าร่อนสวาทจงสระ แขวงเมืองกาญจนดิษฐ์ พระกาญจนดิษฐบดี น้อมเกล้า ฯ ถวายและขึ้นระวางสมโภช วันเสาร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีชวด จุลศักราช ๑๒๓๗ (พ.ศ. ๒๔๑๘)           ๑๑. พระเศวตสกลวรภาศ ผิวผ่องผาดเผือกเอก อุดมดิเรกวิสุทธิมงคล สมะโสภณโลมนัขเนตร ศรีสุวรรณเศวตวิเศษสรรพ์ อุโบสถพันธุพรหมตระกูล ปรมินทรนเรนทร์สูรสยามาธิราช  พาหนนารถมหันตเดช เฉลิมอยุธเยศดิลกภพ เกียรติขจรจบเจริญศักดิ์ ประจักรผลพรุณวิบูลยสวัสดิ์ สุเรนทรินทรรัตนประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกเอก คล้องได้ที่ป่าเขาวงศ์ ดงฉมาตฉบา แขวงรแด เจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์ น้อมเกล้า ฯ ถวาย วันศุกร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๗ ปี มะเส็ง จุลศักราช ๑๒๔๓ (พ.ศ. ๒๔๒๔) พระเศวตสกลวรภาศฯ พระช้างเผือกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนายตาร์ล บอค ชาวเยอรมัน วาด เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๘๑ (พ.ศ. ๒๔๒๔)           ๑๒. พระเศวตรุจิราภาพรรณ สรรพวิบูลยคุณคชลักษณ์ อรรคอุดมปฐมเศวต โลมเนตรนัขนฤมล ทันตโสภณศกสรรพางค์ เหมสมางศวโรภาษ พงษ์กมลาสน์รังสรรค์ อุโบสถพันธุพิสุทธิพงษ์ สารธำรงจักรพรรดิ พาหนรัตนนฤบดินทร์ ปรมินทรบารมิตา สมันนาหาระประสิทธิ์ เฉลิมวิชิตสยามภพ ขจรจบเกียรติคุณ อดุลประเสริฐ เลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกเอก คล้องได้ที่แขวงรแด เจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจําปาศักดิ์ น้อมเกล้า ฯ ถวาย และขึ้นระวางสมโภช พ.ศ. ๒๔๒๘                    ๑๓. พระเศวตวรนาเคนทร์ คเชนทรศักดิ์สมบูรณ์ กมุทตระกูลทุติยเศวตทวัย เนตรสุทธนฤมล กาโรหสกลมงคลลักษณ์ อรรคพาหนนารถ บรมราชาธิราชธำรง พรหมพงษ์พิเศษ พหลเดชคุณ อดุลยประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกโท คล้องได้ที่เขตแดนระหว่างเมืองเชียงแตงกับเมืองสมบูรณ์ แถวเขาชบา เจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์ น้อมเกล้า ฯ ถวาย และขึ้นระวางสมโภช วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๔           ๑๔. ช้างพลายเผือกเอก คล้องได้ดงฉมาตฉบา เจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์ น้อมเกล้า ฯ ถวาย และสมโภช พ.ศ. ๒๔๓๗ ที่บางปะอิน แล้วยังไม่ได้พระราชทานนาม ช้างล้มก่อน           ๑๕. พระศรีเศวตวรรณิภา วรลักษณดิเรกศักดิ์ เนตรนัขพิไลยพรรณ วิสุทธสรรพางคินี เจริญศรีพิเศษสวัสดิ์ บัณฑรรัตโลมสกล มิ่งมงคลคชชวรา อุดมเดชาขจรยศ ปรากฏพรหมพงศ์จรูญ เพ็ญไพบูลย์มารยาท พาหนนารถนฤบดินทร์ ปรมินทรสยามาธิเบศ เฉลิมอยุธเยศมหาสถาน มโหฬารเกียรติคุณ อดุลยผลเพ็ญพิพัฒน์ ศรีสวัสดิ์ประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพังเผือก คล้องได้ที่ป่าห้วยกระจะ เมืองอัตปือ พระดุษฎีตุลกิจ ข้าหลวงรักษาราชการ เมืองสุวรรณภูมิ น้อมเกล้าฯ ถวายและขึ้นระวางสมโภช วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๓           ๑๖. พระเศวตอุดมวารณ์ บวรคชาธารประเสริฐศักดิ์ ศุภเนตรนัขโครวรรณ โลมพรรณเลื่อมประภัศร ดามพกุญชรดิลกชาติ พงศ์กมลาศรังสฤษดิ อดุลยฤทธิเดชาดิเรก เอกอิศราธิบดินทร์ ปรมินทรมหาราชาธิราช ประกาศเกษตรสิทธิสถาพร เฉลิมพระนครรัตนโกสินทรพิศาล มโหฬารพรรษคุณ วิบูลยลักษณเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพลายเผือก บ้านทุ่งปาย นครลำปาง เจ้าบุญวาทยวงศ์มานิต เจ้านครลำปาง น้อมเกล้า ฯ ถวายและขึ้นระวางสมโภช วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๐           ๑๗. ช้างพลายสีประหลาด ซึ่งเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้านครลำพูน น้อมเกล้า ฯ ถวายแต่ล้มเสียที่อยุธยา ก่อนขึ้นระวางสมโภช           ๑๘. ช้างพลายสีประหลาด จากเมืองน่าน ซึ่งพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่าน ถวายแต่ไม่ได้ขึ้นระวาง           ๑๙. เจ้าพระยาไชยานุภาพ เดิมชื่อ พลายปานพลแสน ซึ่งมีลักษณะงาม พระเจ้านครเชียงใหม่ ถวายโปรดเกล้า ฯ ให้ขึ้นระวาง   รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘) พระเศวตวชิรพาห อุดมลักษณคชินทร รัตนกุญชรทุติยเศวต โสมเนตรนัขนฤมล เอกทนต์ทักษิณปรัศ อุบัติฟ้องต้องตำรา เทพามหาพิฆเนศวร์ อัคนิเทเวศร์รังสฤษฏ์ ประสิทธิผล ชนมายุยืนยง กำเนิดคงแขวงนครสวรรค์ พลันมาสู่พระบารมี นฤบดีฉัฏฐรัชกาลคู่สมภาคภูเบศร์ พิเศษสรรพมงคล สุภัทรผลเพียบพูล จรูญพระเกียรติภูมินทร์ หัสดินประเสริฐเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นช้างพลายเผือกโท คล้องได้ที่ตำบลเนินโพธิ์ อำเภอเกยชัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๕  พระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น วสันตสิงห์) คล้องได้เมื่อเป็นพระเฑียรฆราช ปลัดมณฑลนครสวรรค์ ได้ น้อมเกล้าฯ ถวายและสมโภชขึ้นระวาง วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๕    รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๕) พระเศวตคชเดชน์ดิลก ประชาธิปกปทุมรัตนดำริ เทวอัคนีรุฒชุบเชิด กำเนิดนภิสิฉวนเฉวียง ฉวีเยี่ยงบุษกรโกมล นขาขนขาวผ่องแผ้ว แก้วเนตร์น้ำเงินงามลึก วันวณึกบรรณาการ คเชนทรยานยวดยิ่ง มิ่งมงคลฉนำเฉลิมฉัตร สัตตมกษัตทรงศร อมรรัตนโกสินทร รบือรบินบารมีทศ ยืนพระยศธรรมราชัย นิรามัยมนุญคุณ บุณยโศลกเลิศฟ้า (ตระกูลอัคนิพงศ์) เป็นลูกช้างพลายเผือกตรี ของบริษัทบอร์เนียว อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมิสเตอร์ ดี เอฟ แมคฟี ผู้จัดการป่าไม้ บริษัทบอร์เนียว จังหวัดเชียงใหม่ น้อมเกล้า ฯ ถวาย และขึ้นระวางสมโภช เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐   รัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๕๕๙)           ๑. พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์  สรรพมงคลลักษณ์คเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ์ประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรมิตรสารศักดิ์เลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างเผือกโท นายแปลก คล้องได้ที่จังหวัดกระบี่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวัน ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๒   พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมีฯ ในโรงช้างต้นสวนจิตรลดาพระยาช้างต้นเชือกแรกในรัชกาลที่ ๙           ๒. พระเศวตวรรัตนกรี นพิศสิริพงคนัทย์ เอกาทัศน์มงคลสุลักษณ์ ศุภนัขเนตราทิโควรรณ พิษณุพันธุ์ อัครคชาธาร อัฏฐกุลสารดามพหัสดิน ปรมินทรมหาราชพาหน สยามประชาชนสวัสดิคุณ เดชอดุลยเลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายเผือก ตกที่บ้านนายแก้ว ปัญญาคง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ พันตำรวจเอก นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ปัจจุบันล้มแล้ว            ๓. พระเศวตสุรคชาธาร บรมนฤบาลสวามิภักดิ์ ศุภลักษณเนตราทิคุณ ทศกุลวิศิษฎพรหมพงศ์ อดุลยวงศ์ดามพหัตถี ประชาชนสวัสดิวิบูลย์ศักดิ์ อัครสยามนาถสุรพาหน มงคลสารเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้าง พลายเผือก ลูกเถื่อน นายเจ๊เฮง หะระตี กำนันตำบลการอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ได้ลูกช้างพลัดแม่ พันตำรวจเอก ศิริ คชหิรัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ สมโภชขึ้นระวางที่จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ อยู่ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ปัจจุบันล้มแล้ว พระเศวตสุรคชาธาร บรมนฤบาลสวามิภักดิฯ          ๔. ช้างพลายแก้วขาว ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ น้อมเกล้า ฯ ถวาย ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ โปรดเกล้า ฯ ถวายเอกสารใบสำคัญรูปพรรณ ทะเบียนสัตว์พาหนะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ฝากให้เลี้ยงดูอยู่ที่ศูนย์ฝึกลูกช้าง จังหวัดลำปาง ยังมิได้ขึ้นระวางสมโภช ล้มเสียก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙           ๕. พระศรีเศวตศุภลักษณ์ อรรครัตนกิริณี ดามพหัสพิษณุพงศ์ ดำรงสุทธสกนธ์สุคนธชาติ เฉลิมราชกฤดาบารมี ศรีตรังคพิเศษสุทธิ์ อุตดมสารเลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพังเผือก ชื่อเล่นว่า “เจ้าแต๋น” กรมป่าไม้ได้มาจากป่าพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้นำไปเลี้ยงไว้ที่วนอุทยานเขาช่อง จังหวัดตรัง ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังและอธิบดีกรมป่าไม้ น้อมเกล้า ฯ ถวาย และโปรดเกล้า ฯ สมโภชขึ้นระวาง เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต           ๖. ช้างพลาย ชื่อเล่นว่า “ก้อง” ของกรมป่าไม้ได้นำไปเลี้ยง ณ วนอุทยานเขาเขียว จังหวัดชลบุรี ได้ตรวจ สอบแล้ว เป็นแต่เพียง “ช้างสีประหลาด” แต่ยังมิได้น้อมเกล้า ฯ ถวาย ล้มเสียก่อน           ๗. พระเศวตสุทธวิลาส อัฏฐคชชาติพิษณุพงศ์ ดำรงประภาพมหิมัน ตามพรรณไพศิษฏ์ ผริตวรุตตมมงคล  ดาลศุภผลสวัสดิวิบุล อดุลยลักษณ์เลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายเผือก (สีดอ) ชื่อเล่นว่า “บุญรอด” คนงานของกรมป่าไม้ ได้พบลูกช้างที่ป่าบริเวณแม่น้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาได้เลี้ยงไว้ ณ วนอุทยานเขาเขียว จังหวัดชลบุรี อธิบดีกรมป่าไม้  ได้น้อมเกล้า ฯ ถวาย และโปรดเกล้า ฯ สมโภชขึ้นระวาง เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐ ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระเศวตสุทธวิลาส อัฏฐคชชาติพิษณุพงศ์ฯ          ๘. พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิต อัฏฐทิศพงศ์กมลาสน์ อรรคราชทิพยพาหน ถกมลกิตติคุณกำจร อมรสารเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพังเผือกชื่อเล่นว่า “ขจร” นายปรีชาและนางพิมพ์ใจ วารวิจิตร ได้มาจากป่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้นำมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน ณ ทุ่งสีกัน กรุงเทพมหานคร นายปรีชาและนางพิมพ์ใจ น้อมเกล้า ฯ ถวาย และโปรดเกล้า ฯ สมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนาม เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต  พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิตฯ            ๙. พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ พรหมพงศ์อัฏฐทิศพิศาล พิเสธการธรณิพิทักษ์ คุณารักษ์กิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้า (ตระกูลพรหมพงศ์) เป็นช้างพังเผือก ชื่อเล่นว่า “จิตรา” ยายมายิ มามุ ราษฎรบ้านกูมุง หมู่ ๗ ตำบลจะแนะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้ลูกช้างพลัดแม่จากป่าบนเทือกเขากือซา นายวัชระ สิงคิวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส น้อมเกล้า ฯ ถวาย วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ สมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนาม ณ จังหวัดนราธิวาส วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ฯ          ๑๐. พระเศวตภาสุรคเชนทร์ นวเมนทรพาหน สุทธวิมลวิษณุพงศ์ คุณดำรงดามพหัสดินทร์ สุพัชรินทร์อนันตผล คชมงคลเลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายเผือก ชื่อ “ภาศรี” นายสุรเดช มหารมย์ เจ้าของไร่ภาศรี  ใกล้เขื่อนแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี  ได้มาจากชาวบ้านกระเหรี่ยง บ้านหนองปืนแตก ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี นายศุภโยค พาณิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑          ๑๑. พระเทพวัชรกิริณี ดามพหัสพิษณุพงศ์ โสตถ์ธำรงวิสุทธิลักษณ์ อำนรรฆคุณสบสกนธ์ วิมลสารโสภิต  พิบูลกิตติ์เลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างเผือก เดิมชื่อ “ขวัญตา” พระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล เจ้าอาวาสวัดเขาบรรไดอิฐ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี  ได้มาจากนายสนิท ศิริวานิช กำนันตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายศุภโยค พาณิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑   พระเทพวัชรกิริณี ดามพหัสพิษณุพงศ์ฯ            ๑๒. พระบรมนขทัศ วัชรพาหน์พิษณุพงศ์ โสตถิธำรงอัฏฐคช ดิเรกยศอนันตคุณ อดุลสารเลิศฟ้า (ตระกูลวิษณุพงศ์) เป็นช้างพลายเผือก ลูกเถื่อนชื่อ “ดาวรุ่ง” พระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล ได้มาจากราษฎร อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำมาเลี้ยงไว้ที่วัดเขาบรรไดอิฐ คู่กับช้างพัง “ขวัญตา” นายศุภโยค  พาณิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้า ฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑  

ภาพตัวอย่าง

ทีฆายุวัฒนมงคล 100 ปี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต

นิทรรศการ “ทีฆายุวัฒนมงคล” วาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต สกุลเดิม ลีละหุต (นามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นธิดาคนที่ ๖ ของว่าที่อำมาตย์ตรีขุนพิทักษ์ประชารมย์ (อัศว์ ลีละหุต) และนางพิทักษ์ประชารมย์ (ส้มกิ้น ลีละหุต) มีพี่น้องรวม ๑๐ คน คือ ด.ญ.เลื่อน ด.ญ.ล้อม ด.ญ.น้อม ด.ช.แนบ ด.ญ.มุล ด.ญ.แม้น ด.ญ.ม่อม  ด.ช.สมเกียรติ ด.ญ.นิตยา และ ด.ช.เล็ก ลีละหุต ทั้งนี้ในสมัยก่อนนิยมใช้ชื่อพยางค์เดียวทั้งผู้หญิงและผู้ชาย           ต่อมาในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กำหนดให้สตรีมีชื่อ ๒ พยางค์ ดังนั้น ด.ญ.แม้น จึงมีชื่อว่า แม้นมาส และเหตุที่ใช้พยัญชนะ ส สะกด เพราะพยัญชนะ ศ และ ษ ถูกตัดออกจากพยัญชนะไทยในสมัยนั้น เพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น   การศึกษา นางสาวแม้นมาส ลีละหุตเมื่อสำเร็จปริญญาตรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๗๗  —     เริ่มการศึกษาในระดับประถมต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดท่ามอญ (ปัจจุบันคือวัดศรีทวี) อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช        ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๕   พ.ศ. ๒๔๗๙ —     ย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสตรีจุลนาค จังหวัดพระนคร จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖   พ.ศ. ๒๔๘๑—     เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ ๗ - ๘ ที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัย จนสำเร็จการศึกษา และเป็นผู้สอบชั้นมัธยมปีที่ ๘ ได้คะแนนเป็น        อันดับ ๒ ของประเทศ จึงได้รับทุนเล่าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา   พ.ศ. ๒๔๘๖ —     เข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี   พ.ศ. ๒๔๙๒ —     สอบชิงทุนกระทรวงศึกษาธิการ และทุนของมหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทวิชาบรรณารักษศาสตร์ ณ          มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษา ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ นอกจากนี้ในระหว่างปิดเทอมภาคฤดูร้อน ได้        ฝึกงานในห้องสมุดสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อหาประสบการณ์ในการทำงานห้องสมุดทุก ๆ ด้านซึ่งขณะนั้นมีคนไทยเพียง        คนเดียวที่ไปศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์   พ.ศ. ๒๕๑๑ —     ได้รับทุนอบรมระยะสั้น จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้เข้า        อบรมวิธีสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นระยะเวลา ๖ เดือน ในโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์ ประเทศเดนมาร์ก ต่อจากนั้นได้รับการ        ฝึกอบรมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินงานเอกสารของยูเนสโก ต่ออีก ๑ สัปดาห์ ณ สำนักงานใหญ่ของยูเนสโก กรุงปารีส         และได้รับประกาศนียบัตรพิเศษของยูเนสโก(วิธีสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์) โรงเรียนบรรณารักษศาสตร   ชีวิตครอบครัว           นางสาวแม้นมาส  ลีละหุต สมรสกับ นายชาย ชวลิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ ระหว่างเดินทางไปศึกษาในระดับปริญญาโท ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจดทะเบียนสมรส ณ เมืองแอนอาเบอร์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา มีบุตรธิดา รวม ๓ คน คือ           ๑. นางดารกา ชวลิต วงศ์ศิริ           ๒. นางสิริมา ชวลิต บลอม           ๓. นายตติย์ ชวลิต  นางแม้นมาส และนายชาย ชวลิต ขณะเดินทางไปศึกษาต่อ ณ สหรัฐอเมริกา   การทำงาน           เริ่มทำงานเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนภาษาอังกฤษในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ ๑ ปี จากนั้นจึงลาออกไปทำงานหนังสือพิมพ์ประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นิกรรายวัน (พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๔๙๒) ต่อมาได้เข้ารับราชการที่กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้           พ.ศ. ๒๔๙๒ เริ่มรับราชการชั้นตรี ตำแหน่งครูประจำการกรมวิสามัญศึกษา (ปัจจุบันคือกรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติงานในกองการศึกษาผู้ใหญ่           พ.ศ. ๒๔๙๗ โอนไปรับราชการในกรมสามัญศึกษา (เดิม) ตำแหน่งประจำแผนกการศึกษาประชาชน กองการ ศึกษาผู้ใหญ่           พ.ศ. ๒๔๙๘ ศึกษานิเทศก์โท ฝ่ายห้องสมุด กองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา           พ.ศ. ๒๕๐๓ โอนไปรับราชการ กรมวิชาการ ตำแหน่งหัวหน้าแผนกอุปกรณ์ กองอุปกรณ์การศึกษาปฏิบัติงานในห้องสมุดกระทรวงศึกษาธิการด้วย           พ.ศ. ๒๕๐๕ วิทยากรเอก กรมวิชาการ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับหนังสือเรียน ห้องสมุดกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์วัสดุการศึกษา และห้องสมุดศาลาวันเด็ก           พ.ศ. ๒๕๐๗ โอนไปรับราชการกรมศิลปากร ตำแหน่งบรรณารักษ์เอก กองหอสมุดแห่งชาติ   บัตรข้าราชการ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร           พ.ศ. ๒๕๑๒ หัวหน้ากองหอสมุดแห่งชาติ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๑๒ รักษาราชการแทน อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเดินทางไปราชการต่างประเทศ และในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๒ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองหอสมุดแห่งชาติ           พ.ศ. ๒๕๑๙ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปีเดียวกันนี้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ          พ.ศ. ๒๕๒๐ ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมศิลปากร รับผิดชอบงานบริหารและดูแลงานด้านห้องสมุด ด้านจดหมายเหตุ และด้านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ           ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงาน ณ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือแห่งเอเชียและแปซิฟิค ณ เมืองการาจี ประเทศปากีสถาน รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาหนังสือ ฝึกอบรมการสร้างและพัฒนาหนังสือ ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลากว่า ๕ ปี           ๓๐ กันยายน ๒๕๒๕ เกษียณอายุราชการ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ร่วมประชุมของยูเนสโก เรื่อง “ห้องสมุดประชาชนในเอเชีย” ณ กรุงเดลีขณะดำรงตำแหน่งประจำแผนกการศึกษาประชาชน กองการศึกษาผู้ใหญ่ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือในเอเชียและแปซิฟิกของยูเนสโกได้รับเชิญจากคณะกรรมการของแคว้นไฮเดอราบัด ปากีสถานให้ประกอบพิธีสวมยอดเครื่องประดับแสดงคารวะแก่กวีผู้ยิ่งใหญ่ของรัฐที่ล่วงลับไปแล้ว ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ขณะปฏิบัติหน้าที่ ณ ประเทศปากีสถาน   รางวัลและเกียรติคุณ           พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย           พ.ศ. ๒๕๒๙ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน           พ.ศ. ๒๕๓๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า จตุตถจุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑           พ.ศ. ๒๕๓๗ กิตติเมธีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช           พ.ศ. ๒๕๓๘ ศิษย์เก่าอักษรศาสตร์ดีเด่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นิสิตรุ่นที่ ๘ (๒๔๘๒ - ๒๔๘๕) รับโล่จากคณบดี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะศิษย์เก่าอักษรศาสตร์ดีเด่น           พ.ศ. ๒๕๔๑ บุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับโล่เชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี             พ.ศ. ๒๕๔๖ รางวัลนราธิป เป็นรางวัลที่มอบให้นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ กวี นักแปล และบรรณาธิการอาวุโส ที่สร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่อง           พ.ศ. ๒๕๕๐ รางวัลสุรินทราชา เพื่อเชิดชูเกียรตินักแปลจากผลงานเรื่อง ผจญทะเล และวิมานลอย ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ที่ปรึกษาสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยมอบโล่ “รางวัลสุรินทราชา” เนื่องในวันนักแปลและล่าม ครั้งที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๐ รางวัลศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ด้านการพัฒนาห้องสมุด ในโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคมมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับรางวัล “ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต” (ด้านการพัฒนาห้องสมุด) ประจำปี ๒๕๕๐ ตามโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม                     พ.ศ. ๒๕๕๑ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ           พ.ศ. ๒๕๖๕ รับรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ เนื่องใน “วันครู ๒๕๖๕” ครั้งที่ ๖๖ ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕   เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.)  ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก , https://th.wikipedia.org/wiki/ตติยจุลจอมเกล้า       บทบาทด้านบรรณารักษ์           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยวางรากฐานงานห้องสมุดในประเทศไทยให้ก้าวหน้า ทั้งยังมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ งานที่เกี่ยวกับการพัฒนาห้องสมุดในประเทศซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้แก่           ๑. การก่อตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย               คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิฟูลไบรท์ (Fulbright) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมมือกันจัดการฝึกอบรมทางบรรณารักษศาสตร์ระยะสั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ ผลจากการฝึกอบรมในครั้งนั้นก่อให้เกิด “ชมรมห้องสมุด” ขึ้น และเพื่อให้สถานภาพของชมรมห้องสมุดมีความมั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ขอจดทะเบียนเป็น “สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย” อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ มีศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นนายกสมาคมห้องสมุด ฯ คนแรก               ต่อมาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙   สำนักงานสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยยุคแรก สำนักงานสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในปัจจุบัน   ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต วิทยากรอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์โดยความช่วยเหลือจากมูลนิธิฟูลไบรท์ (Fulbright) ประเทศสหรัฐอเมริกา   ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตนำเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทอดพระเนตรร้านจำหน่ายหนังสือในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๑๐ ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ในฐานะนายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนำสมาชิกไปศึกษาดูงานห้องสมุด ในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗   ๒. การพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย   ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตตั้งแต่แรกเริ่มรับราชการได้ทำโครงการเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาห้องสมุดต่าง ๆ เป็นการวางระบบบริหารงานห้องสมุด การดำเนินงานทางเทคนิคการให้บริการ การออกแบบอาคาร ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในงานห้องสมุด ได้แก่    การวางระบบบริหารงานห้องสมุด การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน จัดจำแนกตำแหน่งและกำหนดหน้าที่ใน แต่ละตำแหน่ง กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการทำงานทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณา ผลการปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่ง รวมทั้งเป็นกรรมการกำหนดมาตรฐานห้องสมุดต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศ    การจัดทำมาตรฐานแบบครุภัณฑ์ห้องสมุด และการจัดวางผังห้องสมุดประชาชนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ระหว่างที่ปฏิบัติราชการในกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา    การพัฒนาห้องสมุดต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น การออกแบบห้องสมุดคุรุสภา ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และห้องสมุดโรงเรียนหลายแห่ง เช่น ห้องสมุดทดลองโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ห้องสมุดโรงเรียนตัวอย่าง เพื่อขยายบริการสู่ชุมชนที่บ้านดีลัง จังหวัดลพบุรี และห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาวัดสุตธรรมาราม จังหวัดนครนายก เป็นต้น ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ถวายรายงาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและมอบตู้หนังสือให้ชาวเขา ๕๙ ตู้ เนื่องในวันรัชดาภิเษก ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ถวายการแนะนำหนังสือและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ณ ห้องสมุดโรงเรียนพึ่งบารมี จังหวัดลพบุรี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์วิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร                 ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นผู้นำและสร้างความก้าวหน้าด้านบรรณารักษศาสตร์แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประกอบกับเป็นผู้ที่เสียสละ เอาใจใส่ ปรับปรุงสร้างสรรค์งานให้ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา นำความเจริญสู่วิชาชีพบรรณารักษ์โดยแท้จริง เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติและเป็นผู้สมควรแก่การยกย่องสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงเห็นสมควรมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณสืบไป   การประชุมจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต มอบของที่ระลึกแก่นักเรียนในวันยุวกวี ครั้งที่ ๘ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตเข้าร่วมประชุมสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด หรือ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐     บทบาทด้านการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยวางรากฐานวิชาชีพบรรณารักษ์ เป็นบุคคลแรกที่ได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านบรรณารักษศาสตร์ตามมาตรฐานสากลมาใช้ ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์นับว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นผู้มีคุณูปการต่อวิชาชีพบรรณารักษ์ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ดังนี้             ๑. การร่วมก่อตั้งและพัฒนาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ เพื่อชดเชยความขาดแคลนบุคลากรที่มีวุฒิทางวิชาชีพโดยร่วมจัดทำหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดสอนวิชานี้เป็นแห่งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ เริ่มด้วยหลักสูตรอนุปริญญา ต่อมาขยายเป็นหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และประกาศนียบัตรชั้นสูง โดยได้เข้าร่วมเป็นกรรมการจัดทำหลักสูตรทุกระดับของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มจัดทำหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ ชุดประกาศนียบัตรครู ชุดพิเศษทั้งระดับประโยคครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (พ.ป.)           ๒. เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่แรกเริ่มทั้งในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และปริญญาโท นานกว่า ๑๕ ปี ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น   บทบาทด้านหอสมุดแห่งชาติ          พ.ศ. ๒๕๐๔ หอสมุดแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวง ศึกษาธิการ ในระยะนั้นมีผู้มาใช้บริการหอสมุดแห่งชาติหนาแน่นจนสถานที่คับแคบ จึงมีการสร้างอาคารหอสมุด แห่งชาติหลังใหม่ ณ ท่าวาสุกรี โดยกรมศิลปากรมีนโยบายจะปรับปรุงโครงสร้างและขยายงานหอสมุดแห่งชาติเข้าสู่มาตรฐานสากล จึงแยกงานหอสมุดแห่งชาติออกจากกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ตั้งเป็นกองหอสมุดแห่งชาติ  โดยจัดหาทุนให้เจ้าหน้าที่เดินทางไปศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งขอโอนข้าราชการ  ที่มีความสามารถและประสบการณ์ด้านห้องสมุดจากหน่วยงานอื่น เพื่อทำหน้าที่ในการปรับปรุงและพัฒนากิจการ ของหอสมุดแห่งชาติให้บรรลุเป้าหมาย           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งวิทยากรเอกของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญและมีผลงานด้านกิจการห้องสมุด รับผิดชอบกิจการห้องสมุดของกระทรวง ศึกษาธิการ และเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานในแผนกเด็กห้องสมุดประชาชนคาร์เนกี เมืองพิตต์สเบิร์ก และแผนกวารสารหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยมิชิแกน นับเป็นประสบการณ์สำคัญที่สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาหอสมุดแห่งชาติได้เป็นอย่างดี ซึ่งภารกิจงานสำคัญที่ดำเนินงานระหว่างรับราชการที่กรมศิลปากร มีดังนี้           ๑. การก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติ           พ.ศ. ๒๕๐๗ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้โอน ย้ายมารับราชการที่กรมศิลปากร ในตำแหน่งบรรณารักษ์เอกกองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กรมศิลปากรกำลังก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติที่ท่าวาสุกรี โดยเป็นผู้บุกเบิกงานก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติ และเป็นผู้พิจารณากำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานในอาคารใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะงานตามแบบสากล ตลอดจนร่วมพิจารณาออกแบบครุภัณฑ์ และเครื่องใช้ รวมทั้งกำหนดตำแหน่งที่ตั้งร่วมกับกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร           ๒. การขนย้ายและการจัดห้องสมุด           พ.ศ. ๒๕๐๘ การก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติแล้วเสร็จ การขนย้ายหนังสือตัวพิมพ์ หนังสือตัวเขียน และตู้พระธรรม ตลอดจนการจัดห้องสมุดใหม่เป็นงานใหญ่และต้องการแผนปฏิบัติงานที่รัดกุม การดำเนินงานภายใต้การบริหารงานของศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เขตดุสิต เมื่อแรกสร้าง อาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยและเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙   ผู้ใช้บริการห้องอ่านหนังสือภายในหอสมุดแห่งชาติ   พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เขตดุสิต เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต กราบบังคมทูลอธิบายนิทรรศการพิเศษ ณ อาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี  เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐   สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน-ราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดนิทรรศการ “๑๐๐ ปี วันประสูติพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์” ณ หอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐              ๓. การพัฒนาคุณภาพบุคลากรหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติเป็นแหล่งวิทยาการสำคัญในการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศ มีการปรับปรุงและแบ่งส่วนราชการหอสมุดแห่งชาติใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพบุคลากร มีการจัดหาทุนและสนับสนุนให้ข้าราชการหอสมุดแห่งชาติได้รับการศึกษาระดับสูงขึ้นในระดับปริญญาโท รวมทั้งทุนฝึกอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ           ๔. การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในหอสมุดแห่งชาติ การริเริ่มโครงการจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยขอความร่วมมือจากองค์การยูเนสโกและสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในการขอสนับสนุนทุนในการศึกษาดูงาน และติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยวางระบบงานหอสมุดแห่งชาติ และการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยปฏิบัติงานบรรณานุกรมแห่งชาติ    ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ร่วมหารือกับ Mrs. Salman-El Madini ตัวแทนจาก UNESCO ปารีส ในเรื่องเกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖             ๕. การยกระดับงานหอสมุดแห่งชาติให้เข้าสู่มาตรฐานสากล นอกจากงานจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ  อันเป็นหน้าที่สำคัญของหอสมุดแห่งชาติ และเป็นการยกระดับกิจการของหอสมุดแห่งชาติให้ทัดเทียมกับห้องสมุดอื่นในด้านวิชาการแล้ว ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ยังเป็นผู้ริเริ่มนำกิจการของหอสมุดแห่งชาติออกสู่การสมาคมร่วมมือกับต่างประเทศ โดยได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศขึ้น ได้แก่            การริเริ่มให้มีการใช้เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serials Number – ISSN) ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (International Serials Data System – Southeast Asia Regional Center - ISDS-SEA) โดยได้ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียทั้ง ๕ ประเทศ ด้วยการสนับสนุนขององค์การยูเนสโก และองค์การการพัฒนาการวิจัยระหว่างชาติ (International Development Research Center) ของประเทศแคนาดา และยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลวารสารระดับภูมิภาค ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย และใช้พื้นของหอสมุดแห่งชาติเป็นที่ทำการ ทั้งนี้ได้มีการขอสนับสนุนทุนในการส่งเจ้าหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติไปศึกษาดูงานที่สำนักงานศูนย์ระหว่างชาติ ณ กรุงปารีส           การร่วมก่อตั้งโครงการศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (National Librarians and Documentation Center Consortium in Southeast Asia - NLDC SEA) ซึ่งโครงการนี้ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์เป็นหัวหน้าโครงการ           การริเริ่มก่อตั้งสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Congress of Southeast Asian Librarians - CONSAL) โดยร่วมมือกับบรรณารักษ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๗๐ (พ.ศ. ๒๕๑๓) เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการพัฒนาห้องสมุดและเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างบรรณารักษ์ของประเทศสมาชิกกว่า ๑๐ ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม พม่า กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย การจัดการประชุมกำหนดจัดขึ้นทุก ๆ ๓ ปี โดยมีประเทศสมาชิกหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการประชุม จำนวน ๓ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๒๑ ครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๓๖ และครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CONSAL) ครั้งที่ ๑๖เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค   ตัวแทนประเทศไทยรับมอบธงเพื่อรับมอบเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CONSAL) ครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ การส่งมอบธงและส่งต่อการเป็นเจ้าภาพแก่ประเทศเมียนมา ในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CONSAL)ครั้งที่ ๑๗ ณ ประเทศเมียนมา            การจัดอบรมบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติงาน เป็นการพัฒนาบุคลากรซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนหอสมุดแห่งชาติ มีการจัดอบรมบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อาทิ งานเทคนิคห้องสมุด การให้บริการสารสนเทศด้านวัฒนธรรม เป็นต้น โดยเชิญวิทยากรที่เป็นบรรณารักษ์ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศมาร่วมงานด้วย เป็นการยกฐานะหอสมุดแห่งชาติ ให้ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำทางวิชาการ           การเข้าร่วมประชุมสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด (International Federation of Library Associations and Institutions - IFLA) เป็นการเข้าร่วมประชุมด้านบรรณารักษศาสตร์ในระดับสากล ทำให้กิจการห้องสมุดของประเทศไทยเป็นที่รู้จักในนานาประเทศ ตลอดจนนำไปสู่ความร่วมมือในด้านวิชาการและด้านบริการระหว่างประเทศ ดร.เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยประธานในพิธีเปิดการอบรมบรรณารักษ์ในเอเชียอาคเนย์ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗           ๖. การขยายงานบริการหอสมุดแห่งชาติ           การได้รับบริจาคหนังสือและสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวของพระยาอนุมานราชธนจากทายาท และก่อตั้งเป็น “ห้องสมุดอนุมานราชธน” ณ อาคารหอสมุดแห่งชาติ ชั้น ๓ ตลอดจนการได้รับบริจาคหนังสือจากห้องสมุด ม.จ.สมัยเฉลิม กฤดากร ห้องสมุดหลวงดรุณกิจวิทูร ห้องสมุดพลเรือตรีแชน ปัจจุสานนท์ ห้องสมุดนายเฉลิม ยงบุญเกิดซึ่งล้วนเป็นหนังสือที่มีคุณค่าและหายาก อันเป็นการเสริมศักยภาพของหอสมุดแห่งชาติให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น           การริเริ่มงานโครงการ “ศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์” โดยรับบริจาคหนังสือและเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ จากทายาท คือ ท่านผู้หญิงวิวรรณ วรวรรณ เศรษฐบุตร โครงการนี้ตั้งที่ทำการ ณ หอวชิราวุธ ซึ่งเป็นอาคารหอสมุดแห่งชาติหลังเดิม ณ ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ และมีพิธีเปิดให้บริการแก่ประชาชน เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ (ขณะนั้นศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้ปฏิบัติงานอยู่ต่างประเทศ)   สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒           การก่อสร้างหอพระสมุดวชิรญาณ (อาคาร ๒) ท่าวาสุกรี เขตดุสิต เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลาจารึกและตู้ไทยโบราณที่ย้ายมาจากหอพระสมุดวชิราวุธ มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก ทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ปัจจุบันใช้พื้นที่นี้สร้างอาคาร ๕ ชั้น ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ อาคารหอพระสมุดวชิรญาณ ท่าวาสุกรี สถานที่เก็บรักษาศิลาจารึกและตู้ไทยโบราณ             การสร้างห้องพระมงกุฎเกล้า ฯ ตั้งอยู่ชั้น ๓ ของอาคารหอสมุดแห่งชาติ ใช้เป็นที่เก็บหนังสือส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนหนังสืออื่น ๆ ที่มีคุณค่าและหายาก ต่อมาขยายงานเป็นหอวชิราวุธานุสรณ์   สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดห้องสมุดพระมงกุฎเกล้า ฯ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ วันครบรอบ ๙๐ ปี แห่งพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว       ผลงานประพันธ์และการแปลหนังสือ           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เริ่มเขียนหนังสือมาตั้งแต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ โดยใช้ทั้งชื่อจริงและนามปากกา “รอย โรจนานนท์” “กันย์” “โรจนากร” “ม. ลีละหุต” และ “มนัสนันท์” ผลงานด้านการเขียนประกอบด้วยหนังสือสำหรับเด็ก งานเขียนด้านพุทธศาสนา ด้านสารคดีและบันเทิงคดี นอกจากนี้ยังมีผลงานการแปลหนังสือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย โดยได้แปลหนังสือ สารคดี นวนิยาย หนังสือสำหรับเด็ก บทความในวารสารวิชาการจำนวนมาก           หนังสือสำหรับเด็ก เช่น แม่ไก่สีแดง กระต่ายแหย่เสือ เกียจคร้านเจ้าปัญญา ชาลีขี่ก้านกล้วย ตุ๊กตายอดรัก โสนน้อย หมาน้อยสิบตัว เป็นต้น ผลงานด้านการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก             หนังสือแปล เช่น “การขยายกิจการของห้องสมุดประชาชน แปลจาก Library extension work and publicity” “โรงเรียนในทุ่งกว้าง แปลจาก Prairie school” “วรรณกรรมชิ้นเอกของสหรัฐอเมริกา แปลจาก Great American short stories” “หนังสืออ่านเพิ่มเติมระดับมัธยมศึกษา เรื่อง แฮนส์คริสเตียน แอนเดอร์เสน แปลจาก Hans Christian Andersen” และ “วิมานลอย แปลจาก Gone with the wind” เป็นต้น ผลงานด้านการแปลหนังสือ             งานเขียนด้านพุทธศาสนา ได้แก่ ประทีปแห่งชมพูทวีป และพระพุทธประวัติ           ด้านสารคดีและบันเทิงคดี ได้แก่ คู่มือการใช้สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน แนวทางส่งเสริมการอ่าน ปกิณกะ: การอ่านหนังสือของเด็ก ปกิณกะ: การปฏิรูปห้องสมุด ยอดปรารถนา โรงเรียนของแม่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช: เอกสารมรดกไทย - เอกสารมรดกโลก           ผลงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศ ได้แก่ การระวังรักษาและซ่อมหนังสือ ประวัติหอสมุดแห่งชาติ วิชาบรรณารักษศาสตร์ และห้องสมุดโรงเรียน       งานเขียนด้านพุทธศาสนา งานเขียนด้านสารคดีและบันเทิงคดี     ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับพระราชทานรางวัลวรรณกรรมอาเซียน จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับเสด็จ ฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานนิทรรศการสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน   ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับพระราชทานรางวัลวรรณกรรมอาเซียน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับรางวัลการประกวดหนังสือ พุทธประวัติสำหรับเยาวชน ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐ จาก ม.ล. ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน       คุรุบูชา ทีฆายุวัฒนมงคล วาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕            คุณสมบัติแห่งทองผ่องพิลาส                ดั่งแม้นมาสปูชนีย์ศรีกรมศิลป์ วิสัยทัศน์วิสัยธรรมนำอาจิณ                            การุญรินมอบความรู้สู่สังคม คือผู้ใหญ่มีธรรมล้ำผู้ใหญ่                               วิถีไทยปณิธานประสานสม เกียรติยศงดงามนิยามนิยม                             บูชาชมกราบพระคุณอุ่นอารี            ประชุมเชิญประเมินมิ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์          จตุรพิธพรภิรมย์อุดมดิถี มหาฤกษ์มหาไชยวลัยวลี                                บวงบายศรีเจิมขวัญมั่นมงคล ๑๕ กันยมาสครบคำรบล้ำ                              มาลัยคำนำพิพัฒน์สวัสดิผล ทีฆายุบรรลุล้วนประมวลพิมล                          ไพบูลย์ชนม์จิรังร้อยนิรันดร ลาภยศสุขสรรเสริญเจริญยิ่ง                            ประสงค์สิ่งประสิทธิ์สรรพ์สโมสร พรแผ่นดินแผ่นฟ้าคุณากร                              สถาพรทุกทิวาราตรีเทอญฯ นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ (ภาษาและวรรณกรรม) กรมศิลปากร ประพันธ์      

ภาพตัวอย่าง

แผ่นเสียงในสยาม

กระบอกเสียง การบันทึกเสียงยุคแรก กระบอกเสียงเอดิสัน (EDISON CYLINDER) การบันทึกเสียงช่วงเริ่มแรก เป็นการบันทึกเสียงลงบนกระบอกเสียงทรงกลมยาว โดย โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ผู้ค้นพบความสำเร็จในการบันทึกเสียง เมื่อ พ.ศ. 2420 เรียกเครื่องบันทึกเสียงนี้ว่า “กระบอกเสียงเอดิสัน” (EDISON CYLINDER)           กระบอกเสียงนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอก บนผิวด้านนอกฉาบไว้ด้วยขี้ผึ้งแข็ง เวลาบันทึกเสียงใช้วิธีไขลานให้ท่อทรงกระบอกหมุนไป แล้วผู้ขับร้องจะร้องเพลงกรอกลงไปทางลำโพง เสียงที่เข้าทางลำโพงจะไปสั่นที่เข็ม ซึ่งจะขูดลงไปบนขี้ผึ้งบนรูปทรงกระบอกให้เกิดเป็นร่องเสียงขึ้น เริ่มต้นตั้งแต่ส่วนหัวของกระบอกไปจบลงที่ปลายอีกข้าง เป็นอันเสร็จการบันทึก เมื่อจะนำมาเปิดฟังก็นำกระบอกเสียงนั้นมาหมุนด้วยเครื่องไขลานเช่นเดียวกัน แล้วใช้เข็มขูดลงไปบนร่องที่ได้บันทึกไว้ เสียงเพลงก็จะออกมาทางลำโพงเดียวกับที่เคยใช้บันทึกเสียง  (จากหนังสือ เครื่องเสียงโบราณ ตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์ โดย พฤฒิพล ประชุมผล) จากทรงกระบอกสู่แผ่นแบนราบ จุดเริ่มต้นของแผ่นเสียง                พ.ศ. 2430 อีมิล เบอร์ไลเนอร์ (Emile Berliner) นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ได้ทดลองทำการบันทึกเสียงลงบนวัสดุแบนราบแทนวัสดุทรงกระบอก ซึ่งสะดวกกว่าและบันทึกเสียงได้ยาวกว่า โดยเริ่มแรกใช้วิธีบันทึกเสียงจากกลางแผ่นให้เข็มขูดเป็นร่องออกมาสู่ขอบแผ่นช้าๆ เพลงจึงมาจบที่ขอบแผ่นเสียง เรียกแผ่นรุ่นแรกนี้ว่า “แผ่นเสียงร่องกลับทางของเบอร์ไลเนอร์” อีมิล เบอร์ไลเนอร์ (Emile Berliner) "บิดาแห่งแผ่นเสียง"                ต่อมา พ.ศ. 2434 เบอร์ไลเนอร์ ได้พัฒนาคุณภาพการผลิตแผ่นเสียงให้ดีขึ้น โดยใช้วัสดุนิกเกิลผสมกับทองแดง ตีเป็นแผ่นบาง หุ้มด้วยชแล็คสูตรผสม ซึ่งให้เสียงที่มีชีวิตชีวามากขึ้น เรียกแผ่นเสียงชนิดนี้ว่า “แผ่นเสียงครั่ง” จากการคิดค้นการบันทึกเสียงลงแผ่นเสียงนี้ เบอร์ไลเนอร์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งแผ่นเสียง”(จากหนังสือ เครื่องเสียงโบราณ ตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์ โดย พฤฒิพล ประชุมผล) การบันทึกเสียงยุคแรกในสยาม                กระบอกเสียงเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 จากหลักฐานที่นาย ต.เง็กชวน บันทึกไว้ว่าได้เห็นและฟังเพลงจากกระบอกเสียง เมื่อ พ.ศ. 2437 โดยมีผู้นำเข้ามาเปิดในงานโกนจุก ณ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากหลักฐานการบันทึกเสียงในไทยแล้ว ยังปรากฏหลักฐานการบันทึกเสียงวงดนตรีไทยของคณะนายบุศย์ มหินทร์ ลงกระบอกเสียง ณ ประเทศเยอรมนี เมื่อ พ.ศ. 2443                ต่อมาจึงเริ่มมีการบันทึกเสียงลงแผ่นเสียงครั้งแรก ณ วังบ้านหม้อ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมมหรสพหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ในระยะแรก เป็นการบันทึกเสียงลงบนกระบอกเสียงแล้วนำไปอัดลงแผ่นเสียงครั่งที่ต่างประเทศ และนำกลับเข้ามาจำหน่ายที่สยาม แผ่นเสียงครั่งที่นำเข้ามาจำหน่ายตราแรกในสยาม คือ ตราอรหันต์ ตราที่สองคือ ตราปาเต๊ะ คณะนายบุศย์ มหินทร์ บันทึกเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งแรกที่ประเทศเยอรมนี เมื่อ พ.ศ 2443                ปลายรัชกาลที่ 6 มีการผลิตแผ่นเสียงโดยคนไทย มี 4 ตรา ได้แก่ ตรากระต่าย ตรากรอบพักตร์สีทอง ตราเศรณี และตราศรีกรุง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แผ่นเสียงเพลงไทยสากลเกิดขึ้นแทนที่แผ่นเสียงเพลงไทยเดิม มีบริษัทและห้างแผ่นเสียงของคนไทยเกิดขึ้นจำนวนมากและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย (จากหนังสือ เครื่องเสียงโบราณ ตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์ โดย พฤฒิพล ประชุมผล และรายงานการวิจัยเรื่อง การบันทึกเสียงเพลงไทย : กรณีศึกษาแผ่นเสียงร่องกลับทาง โดย ศันสนีย์ จะสุวรรณ์) แผ่นเสียงปาเต๊ะเพลงไทย                พ.ศ. 2451 บริษัทปาเต๊ะ (Pathé) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตแผ่นเสียงจากฝรั่งเศส ส่งวิศวกรมาบันทึกเสียงลงกระบอกเสียง และนำกลับไปผลิตเป็นแผ่นเสียงร่องกลับทางที่ประเทศฝรั่งเศสและเบลเยียม ลักษณะพิเศษของแผ่นเสียงร่องกลับทางจะเล่นจากด้านในสู่ด้านนอก หน้าตราระบุชื่อเพลงและนักร้องโดยใช้กรดกัดแล้วปาดสี แผ่นเสียงเพลงไทยของปาเต๊ะจะใช้ลาเบลที่ปาดด้วยสีเหลืองโดยเฉพาะ เรียกแผ่นเสียงนี้ว่า “แผ่นเสียงชนิดแข็งเข็มเพ็ชร” เพราะต้องใช้เข็มเพชรหัวมนเล่นโดยเฉพาะเท่านั้น                หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทปาเต๊ะตั้งโรงงานสำหรับผลิตแผ่นเสียงเพลงไทยที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยใช้ไก่แดงเป็นตราสัญลักษณ์ การผลิตใช้กระดาษระบุตราแทนการกัดด้วยกรด และเปลี่ยนรูปแบบการเล่นจากด้านนอกสู่ด้านในเหมือนแผ่นเสียงปัจจุบัน นักร้องที่มีชื่อเสียงของแผ่นเสียงเพลงไทยปาเต๊ะ อาทิ หม่อมเจริญ หม่อมมาลัย ส่วนใหญ่เป็นการบันทึกเสียงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงเป๋ (เพลงฉ่อย) เพลงแหล่ เพลงตับ และเพลงเบ็ดเตล็ด หม่อมส้มจีนนักร้องหญิงไทยคนแรกที่บันทึกเสียง                หม่อมส้มจีน เกิดในปลายรัชกาลที่ 4 เป็นภรรยาของพระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ บุนนาค) และเป็นศิษย์ของพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นนักร้องหญิงที่มีเสียงเล็กแหลมร้องเพลงได้ชัดถ้อยชัดคำ และมีลีลาการเอื้อนที่ละเอียดลออหมดจด มีชื่อเสียงในเรื่องการร้องเพลงสามชั้น           หม่อมส้มจีน เป็นนักร้องหญิงไทยคนแรกที่ได้บันทึกเสียงลงกระบอกเสียงเอดิสันและได้บันทึกเสียงลงแผ่นเสียงหลายตรา เช่น ตราอรหันต์ ตราโอเดียน และแผ่นเสียงผู้มีบรรดาศักดิ์ แผ่นเสียงของหม่อมส้มจีนระยะแรกมักพิมพ์ชื่อผิดโดยพิมพ์ว่า “หม่อมซ่มจีน” ซึ่งที่ถูกแล้วต้องเป็น “หม่อมส้มจีน” หม่อมส้มจีนเป็นนักร้องสตรีบรรดาศักดิ์คนแรกและคนเดียวของสยามที่แผ่นเสียงมีลายสลักชื่อของเจ้าตัวปรากฏเป็นหลักฐาน                 จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นเสียงไวนิล           พ.ศ. 2473 มีการพัฒนาเทคโนโลยีการบันทึกเสียง ด้วยระบบสเตอริโอ (Stereo) ซึ่งให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าแผ่นเสียงครั่ง สามารถเล่นได้ที่ความเร็วต่ำ 33 รอบต่อนาที (33 RPM) ซึ่งเดิมแผ่นเสียงครั่งเล่นด้วยความเร็ว 78 รอบต่อนาที (78 RPM) แผ่นเสียงที่พัฒนาขึ้นนี้ผลิตจากวัสดุโพลิเมอร์สังเคราะห์เรียกว่า “ไวนิล” (Vinyl) จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อแผนเสียงนี้ว่า “แผ่นไวนิล”                  พ.ศ. 2492 บริษัท RCA Victor พัฒนาแผ่นเสียงไวนิลขนาด 7 นิ้ว เล่นด้วยความเร็ว 48 (48 RPM) รอบต่อนาที เรียกว่า “แผ่นซิงเกิล” (Single) บันทึกเสียงไว้ 1-2 เพลง ปกติแผ่นเสียงไวนิลจะถูกผลิตออกมาเป็นสีดำ แต่ในปัจจุบันมีการผลิตแผ่นเสียงพิเศษจำนวนมากมีสีสันสวยงาม และมีการผลิตแผ่นเสียงขนาดพิเศษ ซึ่งแตกต่าง ไปจากแผ่นเสียงขนาด 7 นิ้ว 10 นิ้ว และ 12 นิ้ว ส่วนมากจัดทำขึ้นในวาระโอกาสพิเศษ  แผ่นเสียงเพลงสำคัญของชาติ           การบันทึกเสียงเพลงสำคัญของชาติครั้งแรก เป็นการบันทึกเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อ พ.ศ. 2443 บรรเลงโดยวงดนตรีไทยของคณะนายบุศย์ มหินทร์ ที่ประเทศเยอรมนี บันทึกเสียงลงบนกระบอกเสียงของเอดิสัน ต่อมา พ.ศ. 2450 มีการบันทึกเสียงโดยการขับร้องประกอบครั้งแรกโดย แม่ปุ่ม และแม่แป้น ในแผ่นเสียงปาเต๊ะร่องกลับทาง          สำหรับเพลงชาติเริ่มใช้แทนเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่พ.ศ. 2475 บันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2477 หลังจากประกาศใช้เพลงชาติฉบับเต็มอย่างเป็นทางการ โดยบันทึกเสียงลงแผ่นเสียงครั่งตราโอเดียน บรรเลงโดยเครื่องสายฝรั่งวงใหญ่ทหารเรือ หน้า 1 เป็นคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา และหน้า 2 คำร้องของนายฉันท์ ขำวิไล          ปัจจุบันเพลงสำคัญของชาติที่รัฐบาลไทยจัดให้มีความสำคัญในระดับชาติ มีจำนวน 8 เพลง ได้แก่ เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาชัย เพลงมหาฤกษ์ เพลงสดุดีมหาราชา เพลงภูมิแผ่นดินนวมินทร์มหาราชา เพลงสดุดีจอมราชา และเพลงสดุดีพระแม่ไทย (จากหนังสือ เครื่องเสียงโบราณ ตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์ โดย พฤฒิพล ประชุมผล)  แผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9                การบันทึกเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ครั้งแรก มีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2492 โดยบริษัทแผ่นเสียงนำไทยบันทึกเสียงลงแผ่นเสียงครั่งตราสุนัข (HIS MASTER’S VOICE) หน้าสีขาวพิเศษ ตัวหนังสือสีทอง แผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ชุดแรกนี้มี 2 แผ่น ประกอบด้วย เพลงสายฝน ใกล้รุ่ง ชะตาชีวิต และยามเย็น ขับร้องโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงและบรรเลงโดยวงดนตรีสากลกรมโฆษณาการ ต่อมาบริษัทแผ่นเสียงอื่นๆ ได้ขอพระบรมราชานุญาตบันทึกเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ลงแผ่นเสียงอีกหลายแห่ง เพลงพระราชนิพนธ์ได้รับการบันทึกเสียงลงแผ่นเสียงมาอย่างยาวนาน มีการเรียบเรียงใหม่ และถ่ายทอดผ่านดนตรีหลากหลายรูปแบบ ทำให้มีความเป็นสากล และร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างปกแผ่นเสียงพระราชนิพนธ์ (จาก "เพลงพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9"(ตอนที่ 1)) แผ่นเสียงเพลงไทยของกรมศิลปากร           กรมศิลปากรจัดทำแผ่นเสียงเพลงไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีและนาฏศิลป์ของไทย ผ่านการบันทึกเสียงเพลงไทยแบบฉบับลงบนแผ่นเสียง มีทั้งเพลงร้อง เพลงเดี่ยว เพลงระบำสำหรับใช้ประกอบการฟ้อนรำ และเพลงรำวงบรรเลงและขับร้องโดยศิลปินภายใต้วงดุริยางค์ไทยและวงดุริยางค์ สากลของกรมศิลปากร แผ่นเสียงเพลงไทยชุดแรกจัดทำขึ้นและเริ่มจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. 2501                             ในระยะแรกเป็นการบันทึกเสียงลงบนแผ่นเสียงครั่ง ขนาด 10 นิ้ว มีทั้งหมด 3 ชุด จำนวน 30 แผ่น ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอย่างมาก ต่อมาใน พ.ศ. 2505 จึงได้จัดทำแผ่นเสียงไวนิล ลองเพลย์ ขนาด 12 นิ้ว ซึ่งสามารถบันทึกเสียงได้มากกว่าแผ่นเสียงครั่ง แผ่นเสียงเพลงไทยนี้มีสมุดอธิบายเพลงพร้อมบทร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบทุกชุด ตัวอย่างปกแผ่นเสียงของกรมศิลปากร (จาก "สมุดอธิบายเพลงแผ่นเสียงลองเพลย์ของกรมศิลปากร ชุดที่ 4") แผ่นเสียงเพื่อการศึกษา                แผ่นเสียงเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างหนึ่งโดยกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำขึ้นเผยแพร่เพื่อใช้ประกอบบทเรียนและเสริมหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ เช่น แผ่นเสียงการอ่านทำนองเสนาะสำหรับใช้ประกอบแบบเรียนวรรณคดีและภาษาไทย แผ่นเสียงสำหรับบทเรียนภาษาอังกฤษ แผ่นเสียงเพลงเด็ก แผ่นเสียงเพลงสำหรับฝึกหัดการเต้นตามจังหวะ เพื่อใช้เสริมหลักสูตรวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ เป็นต้น           สำหรับเพลงเด็กที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ เพลงช้าง แต่งโดย คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลงใช้ทำนองเพลงไทย คือ เพลงพม่าเขว เป็นเพลงร้องสำหรับเด็กที่เผยแพร่ผ่านรายการวิทยุโรงเรียน ซึ่งเป็นบทเรียนในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เพลงช้างนี้ได้รับการยกย่องและคัดเลือกให้เป็นเพลงประเทศภาคพื้นเอเชีย โดยศูนย์วัฒนธรรมแห่งเอเชียเพื่อสหประชาชาติ ยูเนสโก (ACCU:Asian Cultural Centre forUNESCO) คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ผู้ประพันธ์เพลง "ช้าง" (จาก "หนูรู้จักช้างหรือเปล่า หนูรู้จักชิ้นหรือเปล่า" โดย อานันท์ นาคคง (วารสารวัฒนธรรมออนไลน์)) รางวัลแผ่นเสียงทองคำ                รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน นับเป็นรางวัลอันเป็นเกียรติยศสูงสุดของศิลปินเพลง โดยศิลปินผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าเฝ้า เพื่อรับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 รางวัลนี้มีที่มาจากการจัดรายการอันดับเพลงไทยสากลยอดนิยมประจำสัปดาห์ของสถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้วงการเพลงไทยเกิดความตื่นตัวในการสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น”           งานมอบรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เพลงที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเพลงไทยสากลประเภทลูกกรุงและลูกทุ่ง รางวัลมีทั้งด้านคำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสาน เพลงที่ได้รับความนิยม และศิลปินยอดเยี่ยมชาย-หญิง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิในวงการเพลงเป็นคณะกรรมการตัดสิน (จาก ห้องสมุดดนตรีออนไลน์ TK Music Library) แผ่นเสียงคุณค่าทางใจและความสุนทรีย์ที่จับต้องได้                ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้ผู้ฟังสามารถฟังเพลงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ผ่านการฟังเพลงในรูปแบบสตรีมมิ่งบนออนไลน์และการดาวน์โหลดไฟล์ อย่างไรก็ตามแผ่นเสียงเริ่มกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยพบว่าใน พ.ศ. 2563 มียอดผลิตมากกว่าแผ่นซีดีเป็นครั้งแรกในรอบ 35 ปี นับเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่หลายคนตั้งคำถามว่า ทำไมแผ่นเสียงจึงกลับมาเป็นที่นิยมในโลกยุคดิจิทัล           การกลับมาได้รับความนิยมของแผ่นเสียงไวนิลในปัจจุบัน โดยเฉพาะในหมู่นักฟังเพลงชาวไทย อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งคุณค่าในด้านของศิลปวัตถุทางด้านดนตรี และสุนทรียภาพทางดนตรีจากแผ่นเสียง การฟังเพลงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงทำให้หวนคิดถึงบรรยากาศในอดีต จากเสน่ห์ของเสียงที่ถูกสรรสร้าง ตั้งแต่ กระบวนการบันทึกเสียงลงบนแผ่นเสียงด้วยระบบอนาล็อกที่ให้เสียงเป็นธรรมชาติ นุ่มนวล คมชัด และมีรายละเอียดของเสียงที่ต่างจากไฟล์เสียงดิจิทัล           นอกจากนี้การออกแบบปกแผ่นเสียงยังเป็นงานศิลปะที่สวยงาม แฝงด้วยความหมายและสะท้อนเรื่องราวของศิลปินที่น่าสนใจ ทั้งนี้การเก็บสะสมแผ่นเสียงยังเป็นการแสดงออกถึงการสะสมวัตถุทางด้านดนตรีที่จับต้องได้ของนักดนตรี หรือนักสะสมและเป็นงานอดิเรกที่เก็บเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับดนตรี จนเมื่อเวลาผ่านไปก็กลายเป็นความรู้ทางคลังประวัติศาสตร์ของวงการเพลงได้ในตัวเอง (จาก "ทำไมแผ่นเสียงถึงเป็นไอเทมขายดีในยุคดิจิทัล"https://www.longtungirl.com/3984และ "ทำไมเครื่องเล่นแผ่นเสียงจึงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในยุคดิจิตอล?"https://www.elpashaw.com/article/tunable-in-digital)  

ภาพตัวอย่าง

แบบเรียนภาษาไทย

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)(๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ – ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔) พระยาศรีสุนทรโวหาร นามเดิม น้อย อาจารยางกูร เกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ ที่บ้านในคลองโสธร แขวงเมืองฉะเชิงเทรา เมื่ออายุได้ ๙ ปี เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ บวชเป็นสามเณร ณ วัดสระเกศ ได้ศึกษาเล่าเรียน พระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์ในสำนักต่าง ๆ ทั้งภาษาไทย ภาษาขอม ภาษาบาลี จนเชี่ยวชาญ ครั้นอายุครบ ๒๑ ปี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ และเข้าสอบไล่พระปริยัติธรรมได้เป็นเปรียญ ๗ ประโยค เมื่อลาสิกขาแล้วเข้ารับราชการ ในกรมมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นขุนประสิทธิอักษรสาสตร ผู้ช่วยกรมพระอาลักษณ์ ภายหลังทรงตั้งโรงอักษรพิมพการขึ้น จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ไปกำกับดูแลแทนเจ้ากรมอักษรพิมพการ และคงรับราชการอยู่ในกรมพระอาลักษณ์ด้วย          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นขุนสารประเสริฐ ปลัดทูลฉลองกรมพระอาลักษณ์ ได้แต่งหนังสือ ทูลเกล้าถวายตามพระราชประสงค์ คือ คำฉันท์กล่อมพระยาช้างเผือก และแต่งหนังสือแบบเรียนไทย คือ มูลบท บรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์ จากนั้นโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นหลวงสารประเสริฐ เป็นครูสอนหนังสือนายทหารมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง และเป็นอาจารย์ถวายพระอักษร พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าน้องนางเธอที่ยังทรงพระเยาว์ รวมไปถึงหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และบุตรหลานของข้าราชการ นอกจากนี้ยังแต่งหนังสือแบบเรียนภาษาไทยเพิ่มเติมอีกหลายเล่ม เช่น ไวพจน์ประพันธ์ อุไภยพจน์ พรรณพฤกษา สัตวาภิธาน ปกีรณำพจนาดถ์ อนันตวิภาค และสยามสาธก วรรณสาทิศ                ต่อมาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาศรีสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ เป็นอาจารย์ถวายพระอักษรสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกเธออีกหลายพระองค์ อีกทั้งได้รับหน้าที่เลขานุการในการประชุมพระบรมวงษา นุวงศ์ เข้าทูลละอองธุลีพระบาทปรึกษาราชการอีกหลายครั้ง และโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐               องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ประกาศยกย่อง พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕                    “แบบเรียนไทย” คนทั่วไปมักจะนึกถึงหนังสือตำราที่ใช้ในการเรียนการสอนในสถานศึกษา ซึ่งมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ย้อนไปในกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแบบเรียนสมัยนั้นคงเป็นแบบเรียนภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลี และภาษาเขมร ศึกษาที่วัดโดยมีพระที่เชี่ยวชาญเป็นผู้สอน ผู้ที่ศึกษาเป็นบรรดาบุตรหลานขุนนางและราษฎรทั่วไป ส่วนสถานที่ศึกษาในสำนักราชบัณฑิต จะสอนเฉพาะเจ้านายและบุตรหลานข้าราชการเท่านั้น ต่อมา พ.ศ. ๑๘๓๕ ปรากฏอักษรไทยที่เรียกว่า “ลายสือไทย” ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงนับเป็นอักษรไทยแบบแรกและเป็นต้นแบบของอักษรไทยสืบมา นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏว่าแบบเรียนภาษาไทยฉบับแรก เกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ชื่อจารึกวัดตระพังนาค เป็นอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี บนหินดินดาน เนื้อหาภายในเริ่มต้นด้วยบทนมัสการพระพุทธเจ้าและขอพร จากนั้นจึงต่อด้วยสระ ๑๒ ตัวแล้วต่อด้วยพยัญชนะ(ข้อมูล : FB กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร เผยแพร่เมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘)                              ศิลาจารึกหลักนี้ได้ชื่อว่า “ศิลาจารึกหลักที่ 1” เพราะเป็นศิลาจารึกภาษาไทย อักษรไทย ที่พบหลักแรก และเก่ากว่าหลักอื่น ซึ่งเป็นอักษรไทยสุโขทัย ที่กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย เป็นผู้สร้าง จึงเรียกอีกอย่างว่า ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชและเสด็จธุดงค์ไปเมืองสุโขทัยเก่า เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๖ ทรงพบหลักศิลาจารึกนี้พร้อมกับพระแท่นมนังศิลาบาตรและจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาเขมร จึงโปรดให้เคลื่อนย้ายลงมาไว้ที่วัดราชาธิวาสและวัดบวรนิเวศวิหารในเวลาต่อมา หลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว โปรดให้ย้ายไปตั้งไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงพุทธศักราช ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ย้ายไปอยู่ในตึกถาวรวัตถุ หน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ร่วมกับศิลาจารึกหลักอื่น ๆ ในความดูแลของหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร               ถึงพุทธศักราช ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ย้ายไปไว้ในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ในพระราชวังบวรสถานมงคล จนกระทั่งพุทธศักราช ๒๕๐๙ จึงย้ายกลับไปไว้ที่ตึกถาวรวัตถุตามเดิม ต่อมาอธิบดีกรมศิลปากร (นายเชื้อ สาริมาน) ให้นำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๑                         ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นศิลาจารึกทรงสี่เหลี่ยมยอดมน เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทยบันทึกภาษาไทยลงบนหลักหินทั้ง ๔ ด้าน ด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ และด้านที่ ๔ มี ๒๗ บรรทัด                “ลายสือไทย” หรือ อักษรไทย มีลักษณะแตกต่างไปจากอักษรขอมและอักษรมอญที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม ลักษณะสำคัญคือเป็นตัวอักษรที่ลากขึ้นลงเป็นเส้นตรง รูปอักษรอยู่ในทรงเหลี่ยม เรียกว่าอักษรเหลี่ยม การเขียนเริ่มต้นจากหัวอักษร ลากเส้นสืบต่อกันไปโดยไม่ต้องยกเครื่องมือเขียนขึ้น วางรูปสระอยู่ในบรรทัดเดียวกับรูปพยัญชนะ และมีเครื่องหมายวรรณยุกต์ เอก และ โท ใช้ประกอบการเขียนเพื่อให้อ่านได้ครบตามเสียงในภาษาไทย ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้รับการยกย่องให้เป็นหลักฐานที่ทรงคุณค่าทางด้านต่าง ๆ คือ ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ เนื้อความที่จารึกแบ่งออกเป็น ๓ ตอน ตอนแรกเป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตอนที่สองพรรณนารายละเอียดของสุโขทัย ทั้งในสภาพภูมิศาสตร์ การปกครองและสังคม ตอนที่สามกล่าวถึงพระปรีชาสามารถในด้านการประดิษฐ์อักษรไทยและการขยายพระราชอาณาเขต ข้อความที่ปรากฏได้แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ความอุดมสมบูรณ์ สิทธิและเสรีภาพของผู้คน ความเชื่อและขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัยที่มีความสำคัญกับนานาชาติ                ด้วยความโดดเด่นและคุณค่าความสำคัญดังกล่าว องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) ในทะเบียนนานาชาติ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ และเป็นโบราณวัตถุที่ควบคุมการทำเทียม ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องโบราณ วัตถุหรือศิลปวัตถุที่ควบคุมการทำเทียม ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๑ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ ๑๑๕ ตอนที่ ๖๕ง ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๑                ในสมัยอยุธยาตอนต้นยังไม่มีแบบเรียนไทยเกิดขึ้น การเรียนการสอนใช้วัดเป็นโรงเรียน วิชาที่สอนเป็นการอ่านเขียนหนังสือไทยและบาลีรวมถึงการอบรมทางศาสนา ครั้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นยุคที่การศึกษามีความเจริญ มีการเรียนการสอนทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีโรงเรียนสอนหนังสือซึ่งเป็นของบาทหลวงที่เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา ในยุคนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับสั่งให้พระโหราธิบดีแต่งหนังสือจินดามณีขึ้น ถือเป็นตำราเรียนหลักภาษาไทยเล่มแรกของไทย นอกจากนี้ยังมีจารึกแม่อักษรขอมขุดปรอท แสดงการ สะกดคำใน แม่ ก กา เป็นพระราชนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง ทรงพระราชนิพนธ์จารึกที่เป็นอีกหนึ่งในแบบเรียนไทยในสมัยอยุธยา                สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการศึกษายังคงมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดปรากฏแบบเรียน ๕ เล่มคือ ประถม ก กา สุบินทกุมาร ประถมมาลา และประถมจินดามณี เล่ม ๑ - ๒ นอกจากนั้นยังมีหนังสือที่กำหนดให้นักเรียนอ่านอีกหลายเล่ม เช่น เสือโค จันทโครพ สมุทรโฆษ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ และโปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ขณะยังเป็นขุนสารประเสริฐ ปลัดกรมพระอาลักษณ์ แต่งหนังสือแบบเรียนไทยเป็นชุดแบบเรียนหลวง ๖ เล่ม ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์ นับเป็น “แบบเรียนหลวง” ชุดแรก นอกจากนี้ยังมีแบบเรียนหนังสือไทยที่พระยาศรีสุนทรโวหารแต่งเพิ่มเติมอีกหลายเล่ม ได้แก่ ไวพจน์ประพันธ์ อุไภยพจน์ พรรณพฤกษา สัตวาภิธาน ปกีรณำพจนาดถ์ อนันตวิภาค และสยามสาธก วรรณสาทิศ   คลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม                     ใน พ.ศ. ๒๔๒๗ มีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรตามวัดต่าง ๆ และได้แพร่หลายออกไปจนถึงหัวเมือง ต่อมาสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งทรงกำกับดูแลกรมศึกษาธิการได้มีการเปลี่ยนแปลงหนังสือแบบเรียนคือ เลิกใช้แบบเรียนหลวง ๖ เล่ม เปลี่ยนมาใช้แบบเรียนเร็ว ซึ่งแบบเรียนเร็วชุดนี้มี ๓ เล่ม ทั้งสามเล่มนี้ มีเนื้อหาตามลำดับความยากง่าย โดยได้ปรับปรุงให้เป็นแบบเรียนที่เข้าใจง่าย เด็กสามารถเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น ทรงเห็นว่าในชนบท เด็ก ๆ ไม่ค่อยมีเวลาเล่าเรียน ต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาในฤดูฝนที่จะเรียนด้วยหนังสือแบบเรียนหลวงที่ใช้อยู่เดิมนั้น เด็ก ๆ มักเรียนครึ่ง ๆ กลาง ๆ แล้วก็ออกจากโรงเรียนไป การเรียนไม่ต่อเนื่องในที่สุด ก็ลืม อ่านหนังสือไม่ได้ จึงได้ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้น โดยทดลองใช้ในโรงเรียนชนบทก่อน เมื่อเห็นว่าได้ผลจึงนำทูลเกล้า ฯ ถวาย และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นแบบเรียนแทนแบบเรียนหลวง             พระยาปริยัติธรรมธาดาแต่งแบบสอนอ่านของกรมศึกษาธิการ เป็นหนังสือแบบสอนอ่านเบื้องต้น ใช้เป็นแบบเรียนคู่กับหนังสือแบบเรียนเร็ว หนังสือชุดนี้มี ๔ เล่ม เป็นบทเรียนสั้น ๆ ใช้ถ้อยคำง่าย ประโยคไม่ซับซ้อน เนื้อหามุ่งทบทวนกฎเกณฑ์ทางด้านภาษาคล้ายกับหนังสืออ่านเสริมประสบการณ์ชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้รอบตัวโดยเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัว ได้แก่ สัตว์ ต้นไม้ การประกอบอาชีพ เวลา เงิน เครือญาติ และประเพณี           ใน พ.ศ. ๒๔๖๔ มีการออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา แผนการศึกษา และการจัดหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการปรับปรุงหลักสูตรต่าง ๆ รวมถึงแบบเรียนอย่างสม่ำเสมอ แบบเรียนสำคัญ ๆ ในยุคนี้ ประกอบด้วย ๑. แบบเรียนสยามไวยากรณ์ (หลักภาษาไทย) ของพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)           กรมศึกษาธิการได้สร้างแบบเรียนไวยากรณ์ไทยขึ้นโดยนำรูปแบบโครงสร้างภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย เดิมเรียบเรียงขึ้นมี ๒ เล่มคือ อักขรวิธี และวจีวิภาค ต่อมากระทรวงธรรมการแต่งตำราวากยสัมพันธ์เพิ่มอีกหนึ่งเล่ม เมื่อคราวที่พระยาอุปกิตศิลปะสารได้รับเชิญให้แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับหลักภาษาไทยที่สามัคยาจารยสโมสร จึงได้เรียบเรียงเนื้อหาจากของเดิมและแต่งบางเรื่องเพิ่มเป็นหนังสือ ๔ เล่ม คือ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นตำราหลักภาษาไทยที่ใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน ๒. แบบหัดอ่านหนังสือไทยของพระวิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (สังข์ พุกกะเวส)           เป็นแบบเรียนสำหรับฝึกหัดการอ่าน ลักษณะเด่นของหนังสือเล่มนี้ที่ต่างจากแบบเรียนเล่มก่อน ๆ คือ มีภาพ ประกอบเนื้อหาและมีคำชี้แจงวิธีสอนกับวิธีอ่านอย่างชัดเจน แบบหัดอ่านหนังสือไทยนี้ใช้เป็นแบบเรียนบังคับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ตั้งแต่สมัยออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๐ แล้วกระทรวง ศึกษาธิการได้กลับมาประกาศให้ใช้อีกใน พ.ศ. ๒๔๙๙ และเลิกใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ๓. แบบเรียนเร็วใหม่ของหลวงดรุณกิจวิฑูร (ชด เมนะโพธิ) และ นายฉันท์ ขำวิไล           เป็นแบบเรียนสำหรับนักเรียนเริ่มอ่านภาษาไทยในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ๒ ในช่วง พ.ศ. ๒๔๘๐ จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยใช้ต่อจากแบบหัดอ่านหนังสือไทยของพระวิภาชน์วิทยาสิทธิ์ แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ ตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย ๔. แบบสอนอ่านมาตรฐานของนายยง อิงคเวทย์           เป็นแบบเรียนสำหรับใช้สอนหนังสือแก่เด็กเริ่มเรียนตามแนวใหม่คือ การสอนเป็นคำแทนที่จะสอนให้ สะกดทีละตัวเหมือนแบบเรียนเล่มก่อน ๆ คำที่นำมาใช้สอนเป็นคำง่าย ๆ ซึ่งเด็กใช้ในชีวิตประจำวันเรียกว่า “คำมาตรฐาน” การแต่งประโยคเป็นประโยคสั้น ๆ ใช้คำเดิมซ้ำกันบ่อย ๆ แล้วจึงเพิ่มคำใหม่เข้าไปในประโยค การแต่งเรื่องมีทั้งเรื่องสั้น นิทาน คำประพันธ์ แทรกข้อคิดและการอบรมสั่งสอนพร้อมภาพประกอบ ๕. แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้าของนายกี่ กีรติวิทโยฬาร แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้า (เรณู - ปัญญา)           กระทรวงศึกษาธิการให้ใช้เป็นแบบเรียนบังคับใน พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๔๙๙ ใช้ได้เพียงปีเดียวก็ยกเลิกเนื่องจากถูกวิจารณ์ว่าไม่มีการสอนสะกดคำ ทำให้เด็กอ่านหนังสือ ไม่ออกเมื่อเรียนจบเล่มแล้วเพราะใช้การจำเป็นคำ ๆ แต่กระทรวงศึกษาธิการก็ยังให้ใช้เป็นแบบเรียนเพิ่มเติม เนื้อหาแบ่งเป็น ๔ เล่มคือ เล่ม ๑ ตอนเริ่มอ่าน เรื่องไปโรงเรียน เล่ม ๒ ตอนต้น เรื่องฝนตกแดดออก เล่ม ๓ ตอนกลาง เรื่องเที่ยวรถไฟ (ต้นทาง) และเล่ม ๔ ตอนกลาง เรื่องเที่ยวรถไฟ (ปลายทาง) ๖. หนังสือดรุณศึกษาของ ภราดา ฟ.ฮีแลร์           เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่ ภราดา ฟ.ฮีแลร์ นักบวชชาวฝรั่งเศสในคณะเซนต์คาเบรียล โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก แต่งและเรียบเรียงขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๓ หลังจากที่ได้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้เพียง ๙ ปี หนังสือดรุณศึกษาใช้ในวงแคบเฉพาะโรงเรียนของเครือคริสตจักรเท่านั้น ต่อมาปรากฏว่าเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเล่มแรกสำหรับชั้นเตรียมประถมยังใช้เรียนในโรงเรียนต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน หนังสือดรุณศึกษาชุดนี้มี ๕ เล่ม สำหรับใช้เรียนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ ลักษณะเด่น คือ ทำให้เด็กเรียนแล้วเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว อ่านได้ถูกต้องคล่องแคล่ว เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปยาก วลีประโยค และเรื่องสั้นที่นักเรียนฝึกอ่านสอดแทรกคติธรรมคำสอนและสำนวนสุภาษิตคำพังเพยไว้ด้วย         ๗. หนังสือชุด “นิทานร้อยบรรทัด”           แต่งขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มาปรับปรุงเนื้อหาและแต่งเพิ่มเติมบางส่วน ก่อนจะพิมพ์เล่มแรกใน พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยนิทานร้อยบรรทัดมีทั้งหมด ๖ เล่ม ได้แก่ เรื่องบ้านที่น่าอยู่ ตอนที่ ๑ บ้านที่น่าอยู่ ตอนที่ ๒ ครูที่รักเด็ก ประเทศเล็กที่สมบูรณ์ ตระกูลไทยที่คงไทย และประชาธิปไตยที่ถาวร หนังสือชุดนี้เรียบเรียงโดยหลวงสำเร็จวรรณกิจ (บุญ เสขะนันทน์) เพื่อใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยสำหรับชั้นประถม          

ภาพตัวอย่าง

ตำนานสงกรานต์ สืบสานวัฒนธรรมไทยสี่ภาค

สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มีความงดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกัน โดยใช้ “น้ำ” เป็นสื่อในการสร้างสัมพันธไมตรี          ตามคติโบราณที่สืบทอดกันมาแต่เดิมจนถึงปัจจุบัน ถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย โดยปกติกำหนดวันสงกรานต์ไว้ ๓ วัน วันแรกเรียกว่า วันมหาสงกรานต์ คือวันที่พระอาทิตย์ เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ วันที่ ๒ เป็นวันเนา และวันที่ ๓ เป็นวันเถลิงศก (วันขึ้นปีใหม่เปลี่ยนจุลศักราช)            ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา วันมหาสงกรานต์จะตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน แต่กำลังจะเปลี่ยนเป็นวันที่ ๑๔ เมษายน เพราะการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์นั้น วันมหาสงกรานต์จะเลื่อนไป ๑ วันทุก ๆ ๖๐ ปีเศษ            ปฏิทินหลวงในปัจจุบันกำหนดให้วันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน เป็นวันเทศกาลสงกรานต์ แต่วันเถลิงศกยังอาศัยการคำนวณอยู่ บางปีจึงเป็นวันที่ ๑๕ เมษายน และบางปีเป็นวันที่ ๑๖ เมษายน   "ประกาศสงกรานต์"           ถือเป็นประกาศของทางราชการอย่างหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อสิ้นสุดปีหนึ่ง ๆ จะเปลี่ยนปีนักษัตรเริ่มศักราชใหม่ ทางราชการจะประกาศสงกรานต์ให้ราษฎรได้ทราบ เกี่ยวกับวัน เดือน ข้างขึ้น ข้างแรมในปีต่อไป            ประกาศสงกรานต์มีสารประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของราษฎรหลายเรื่อง เช่น ทำให้ทราบวัน เวลา ขึ้นศักราชใหม่ กำหนดการพระราชพิธีต่าง ๆ การเกิดจันทรุปราคา สุริยุปราคาในบางปี รวมถึงเกณฑ์น้ำฝนที่จะทำนา และวันเริ่มต้นทำนาปลูกข้าว เป็นต้น ประกาศสงกรานต์ ปีรัตนโกสินทร ศก ๑๒๐ การก่อพระเจดีย์ทราย วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สมัยรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๙ (ที่มา https://www.lp-yaem.com/photographs-thai/) การก่อพระเจดีย์ทรายในปัจจุบัน (https://oer.learn.in.th/search_detail/result/92172)   งานประเพณีก่อพระทราย วันไหลบางแสน (https://oer.learn.in.th/search_detail/result/93545) "เปิดตำนานวันสงกรานต์"           มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสงกรานต์มาแต่สมัยโบราณว่า ท้าวกบิลพรหมซึ่งเป็นเทพชั้นพรหมแพ้พนัน ธรรมบาลกุมาร เด็กอายุ ๗ ขวบ ที่เรียนจบพระคัมภีร์ไตรเพท ด้วยปัญหา ๓ ข้อ คือ ในเวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาค่ำ มนุษย์นั้นมีราศีอยู่ที่ใดบ้าง จึงต้องตัดเศียรตัวเองบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญาที่ตกลงกัน แต่เศียรของท้าวกบิลพรหมนี้ร้อนแรง หากวางบนแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นบนอากาศฝนจะแล้ง หากทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง จึงมอบหน้าที่ให้ธิดาทั้ง ๗ นาง ผลัดเปลี่ยนกันอัญเชิญเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเช่นนี้ประจำทุกปี ธิดาทั้ง ๗ นางนั้น มีชื่อต่าง ๆ กัน แต่รวมเรียกว่า นางสงกรานต์ทั้งสิ้น คือ          ๑. นางสงกรานต์ทุงษะเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกทับทิม ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วปัทมราช (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคืออุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ          ๒. นางสงกรานต์โคราคะเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกปีบ ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วมุกดาเป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)          ๓. นางสงกรานต์รากษสเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทรงพาหุรัด ทัดดอกบัวหลวง ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วโมรา ภักษาหารคือโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (สุกร)          ๔. นางสงกรานต์มณฑาเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทรงพาหุรัด ทัดดอกจำปา ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วไพฑูรย์ ภักษาหารคือนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)          ๕. นางสงกรานต์กิริณีเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ) ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วมรกต ภักษาหารคือถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)          ๖. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วบุษราคัม ภักษาหารคือกล้วยและน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (กระบือ)          ๗. นางสงกรานต์มโหธรเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ภักษาหารคือเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)           นอกจากนี้ ตามตำนานยังมีความเชื่อว่าหากในปีใดนางสงกรานต์ยืนมา จะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้ ถ้านางสงกรานต์นั่งมา จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ หากนางสงกรานต์นอนลืมตา ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข และถ้าในปีใดนางสงกรานต์นอนหลับตา พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี ที่มาภาพนางสงกรานต์ : https://today.line.me/th/v2/article/3qOJJW   "สืบสานวัฒนธรรมไทยสี่ภาค"           คนไทยในแต่ละภูมิภาคจะมีรูปแบบ พิธีกรรม จารีต ความเชื่อ เอกลักษณ์ และการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามคติความเชื่อและการดำเนินชีวิต แต่กิจกรรมหลัก คือ การทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ การอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว การรดน้ำดำหัวขอพรผู้อาวุโส การสรงน้ำพระ การก่อพระเจดีย์ทราย การเล่นน้ำ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหรสพ และการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างความรื่นเริงและความสามัคคีกันในครอบครัวและในชุมชน ซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน ภาคเหนือ           ประเพณีสงกรานต์ภาคเหนือ เรียกว่า “ปเวณีปีใหม่” หรือ “ปาเวณีปีใหม่” อ่านว่า “ป๋า-เว-นี-ปี๋-ใหม่” จัดขึ้นอย่างน้อย 3 – 5 วัน เรียกวันที่ 13 เมษายนว่า วันสังกรานต์ล่อง (อ่านว่า สังขานล่อง) หมายถึง วันที่ปีเก่าผ่านไป หรือวันที่สังขารร่างกายแก่ไปอีกปี           วันแรก คือ วันสังกรานต์ล่อง ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ตอนเช้ามืดจะมีปู่สังกรานต์หรือย่าสังกรานต์ สวมใส่เสื้อผ้าสีแดงล่องแพไปตามลำน้ำนำสิ่งชั่วร้ายมาด้วย ดังนั้นชาวบ้านจะทำการยิงปืนหรือจุดปะทัดเพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป อีกทั้งยังนำพระพุทธรูปมาชำระและสรงน้ำอบโดยใช้น้ำขมิ้นส้มป่อย และทำความสะอาดบ้านเรือน           วันที่สอง คือ วันเนา หรือ วันเน่า หรือ วันดา ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ห้ามผู้ใดทะเลาะเบาะแว้งกัน พิธีกรรมของวันเนานี้จะตระเตรียมสิ่งของและอาหารเพื่อนำไปทำบุญในวันพญาวัน ช่วงบ่ายจะขนทรายเข้าวัดและตัดกระดาษเป็นธงสีต่าง ๆ เรียกว่า “ตุง” สำหรับปักที่เจดีย์ทราย           วันที่สาม คือ วันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญตักบาตร ทำทานขันข้าว (ตาน-ขัน-เข้า) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการไปคารวะผู้ใหญ่ เรียกว่า “ดำหัว”            วันที่สี่ คือ วันเล่นสาดน้ำ เรียกว่า วันปากปี๋ หมายถึง การรดน้ำดำหัวเจ้าอาวาสวัดอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง            วันที่ห้า คือ วันปากเดือน ถือเป็นวันเริ่มเดือนใหม่ มีการดำหัวผู้ใหญ่และการเล่นสาดน้ำประเพณีสงกรานต์ภาคเหนือ พิธีสรงน้ำพระ (https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/songkran-festival)   การรดน้ำและก่อเจดีย์ทราย (https://today.line.me/th/v2/article/nE6zKK) ภาคอีสาน           ประเพณีสงกรานต์ภาคอีสาน เรียกว่า “บุญสงกรานต์” หรือ “บุญเดือนห้า” หรือ “สังขานต์”           วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า “มื้อสงกรานต์ล่อง” หรือ “มื้อสงกรานต์พ่าย”           วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “มื้อเนา” ชาวบ้านจะแต่งกายสวยงาม นำอาหารไปตักบาตรที่วัด ขอพรจากพระภิกษุผู้ใหญ่ และสรงน้ำพระพุทธรูปรดไปตามรางริน หนุ่มสาวมักรวมกลุ่มไปรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ มีการจัดทำบายศรีสู่ขวัญผู้ใหญ่ หลังจากนั้นจึงเล่นรดน้ำกันเอง และช่วงกลางคืนมีการร่วมกันสวดมนต์เย็นและฟังธรรม          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า “มื้อสงกรานต์ขึ้น” นิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่อง 7 – 15 วัน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์คนที่ไปทำงานยังต่างถิ่นจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อเป็นการรวมญาติและทำบุญอัฐิบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า “สักอนิจจา” ประชาชนเล่นน้ำสงกรานต์ในแม่น้ำโขง ภาคอีสาน (https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=35&chap=2&page=t35-2-infodetail04.html) การสรงน้ำพระ (https://romdee.net/umbrella-buddhist-ceremony/).   การรดน้ำสงกรานต์(https://www.admissionpremium.com/content/2482) สงกรานต์วัดไชยศรีบ้านสาวะถี(https://travel.mthai.com/region/208816.html)   เทศกาลดอกคูน-เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว (https://travel.mthai.com/region/208816.html) ภาคกลาง             วันเถลิงศกขึ้นปีใหม่ มีการสรงน้ำพระพุทธรูปและรดน้ำผู้ใหญ่เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ในกรุงเทพมหานครประชาชนนิยมตักบาตรและสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ณ ท้องสนามหลวง ประเพณีสงกรานต์ในเขตภาคกลางที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญยังมีในหลายพื้นที่ อาทิ ประเพณีสงกรานต์มอญ มีการจัดในหลายพื้นที่ในประเทศไทย เช่น บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น โดยมีพิธีกรรมและการละเล่นที่หลากหลาย ตั้งแต่การทำบุญถือศีล การเซ่นสังเวยต่อท้าวกบิลพรหม เทวดาและนางสงกรานต์ การแห่ข้าวแช่ การแห่ธงตะขาบ การสรงน้ำพระ การค้ำโพธิ์ การขนทรายเข้าวัด และการเล่นสะบ้า           ประเพณีสงกรานต์พระประแดง เดิมเรียกว่า สงกรานต์ปากลัด เป็นรูปแบบที่คงรักษาวัฒนธรรมของชาวรามัญ-ไทย ที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นหนึ่งในงานเทศกาลมหาสงกรานต์ 4 ภาคของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการจัดขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่และสวยงามตระการตา ขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผาชาติ ขบวนสาวรามัญ-หนุ่มลอยชาย เอกลักษณ์การแต่งกายด้วยชุดไทยรามัญและชุดลอยชายเพื่อไปทำบุญที่วัด เวลากลางคืนจะมีการละเล่นสะบ้าตามบ้านเรือนต่าง ๆ โดยการเล่นน้ำในวันสงกรานต์พระประแดง หรือเรียกว่า “วันไหล” จัดขึ้นในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ หลังจากงานสงกรานต์ปกติประมาณ 1 สัปดาห์ การละเล่นมหรสพพื้นบ้านในเทศกาลสงกรานต์ ภาคกลาง(https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=35&chap=2&page=t35-2-infodetail04.html) ภาพจิตรกรรมฝาผนังพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถาณมงคล(https://bit.ly/3EGzwN9) พิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ในเทศกาลสงกรานต์(https://www.facebook.com/chiangmaicityheritagecentre/). พระพุทธสิหิงค์องค์จำลอง เปิดให้ประชาชนร่วมสรงน้ำและสักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลในช่วงสงกรานต์(https://mgronline.com/local/detail/9650000031314) สงกรานต์พระประแดงในอดีต(https://bit.ly/39cvccK) ขบวนแห่รถบุปผาชาติ สงกรานต์พระประแดง(https://bit.ly/3OAu8iT) เทศกาลสงกรานต์พระประแดง(https://travel.mthai.com/news/209549.html) สงกรานต์พระประแดงสมัยปัจจุบัน(https://travel.mthai.com/news/209549.html) การประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ จัดขึ้นในงานประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์(https://www.facebook.com/451895001672098/posts/624312141097049/) การประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ จัดขึ้นในงานประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์(https://www.matichon.co.th/publicize/news_2671748) ภาคใต้           ประเพณีขึ้นปีใหม่ของภาคใต้เรียกว่า “วันว่าง” หมายถึง ว่างเว้นจากการทำงานทุกชนิด อีกทั้งยังมีความเชื่อต่าง ๆ เช่น การห้ามตัดผม ห้ามตัดเล็บ ห้ามฆ่าสัตว์ เป็นต้น โดยปกติจะจัดขึ้น 3 วัน คือ วันที่ 13 – 15 เมษายน เป็นโอกาสที่จะแสดงความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ โดยการจัดหาผ้าใหม่ การอาบน้ำ สระหัว และขอพรจากผู้ใหญ่            วันที่ 13 เมษายน คือ วันส่งเจ้าเมืองเก่า มีการทำความสะอาดบ้านเรือน และพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ เรียกว่า ลอยเคราะห์ หรือลอยแพ เป็นการทำให้เคราะห์กรรมลอยไปกับเจ้าเมืองเก่า และสรงน้ำพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง           วันที่ 14 เมษายน คือ วันว่าง มาจากความเชื่อว่า ในวันนี้ยังไม่มีเทวดารักษาเมือง ชาวบ้านจึงหยุดการทำงานและไปทำบุญตักบาตร นำอาหารไปทำบุญถวายเพลที่วัด มีการทำพิธีเรียกว่า “ทำขวัญข้าวใหญ่” คือ การมัดรวงข้าวนำไปทำขวัญข้าวร่วมกันที่วัดเพื่อความเป็นสิริมงคลในการทำมาหากิน และรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมถึงทำบุญอัฐิเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ            วันที่ 15 เมษายน คือ วันรับเจ้าเมืองใหม่ บางท้องถิ่นเรียกว่า วันเบญจา หรือบิญจา เป็นวันรับเทวดาองค์ใหม่มาดูแลรักษาบ้านเมือง มีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับใหม่ บางบ้านมีการจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เรียกว่า “พิธีจตุรมุข” การส่งเจ้าเมือง (https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/29136/041393)   ประเพณีห่มพระ ณ ถ้ำคูหาภิมุข จ.ยะลา ในเทศกาลสงกรานต์ ของภาคใต้ (https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/60311) “การละเล่นครื้นเครง”           เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทย ในงานเทศกาลนี้ผู้คนจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อสร้างความบันเทิง และความสามัคคีในแต่ละชุมชน กิจกรรมเหล่านั้นรวมไปถึงการละเล่นพื้นบ้าน ดนตรี การแสดง และการละเล่นรื่นเริง ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น นับเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ทรงคุณค่า และสมควรสืบสานต่อยอดให้คงอยู่สืบไป ภาคกลาง          การละเล่นในเทศกาลสงกรานต์ของภาคกลางมักเป็นการละเล่นพื้นเมือง หรือเรียกว่า กีฬาพื้นเมือง เช่น ชักเย่อ ขี่ม้าส่งเมือง มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย (ลูกช่วง) วิ่งเปี้ยว ลิงชิงหลัก และยังมีมหรสพต่าง ๆ เช่น การแสดงลิเก ลำตัด รำวง เป็นต้น  การละเล่นสะบ้า(http://article.culture.go.th/index.php/) ภาคใต้           การละเล่นในเทศกาลสงกรานต์ของภาคใต้ เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน มหรสพและการละเล่นที่นิยมกันมากคือ มโนห์รา หนังตะลุง มอญซ่อนผ้า อุบลูกไก่ ชักเย่อ สะบ้า จระเข้ฟาดหาง (หรือบางแห่งเรียกว่าฟาดทิง) ยับสาก เตย ปิดตา ลักซ่อน วัวชนและเชื้อยาหงส์ โดยการละเล่นทั้งหลายเหล่านี้ร่วมเรียกว่า "เล่นว่าง" มหรสพหนังตะลุงของภาคใต้(http://www.geog.pn.psu.ac.th/Ancient63/AncientIndex.html)   การแสดงโนราห์(https://bit.ly/3k3FnCr) ภาคเหนือ           การละเล่นที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันมาก คือ การเล่นรดน้ำปีใหม่ หรือดำหัว นอกจากนั้นยังมีการละเล่นมหรสพ และการละเล่นพื้นเมืองอื่น ๆ เช่น สะบ้า การแสดงศิลปะฟ้อนรำ ภาพการละเล่นภาคเหนือ – ฟ้อนรำ(https://www.artscouncilofsnoco.org/culture-thailand-2/) ภาคอีสาน           การละเล่นในเทศกาลสงกรานต์ภาคอีสาน มีการจับกลุ่มเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่นสะบ้า มหรสพพื้นบ้าน เช่น  หมอลำ ในบริเวณลานวัด บางกลุ่มเซิ้งไปตามหมู่บ้านเพื่อเรี่ยไรปัจจัยไทยทานถวายวัด บางหมู่บ้านจะมีการเล่น เรือมตรด หรือ รำตรุษ การละเล่นภาคอีสาน - รำตรุษ หรือ เรือมตรด(https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=1015&filename=index) อุปกรณ์การละเล่นภาคอีสาน - รำตรุษ หรือ เรือมตรด(https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=984&filename=index) "รื่นรมย์บรรเลงเพลงไทย"           เพลงและดนตรีเป็นสิ่งที่คู่กับวัฒนธรรมและประเพณีของไทย เนื่องจากวิถีชีวิตคนไทยเป็นชนชาติที่ชอบความสนุกสนานรื่นเริง คนไทยมีความคิดว่าหากชีวิตมีความสนุกชีวิตนั้นก็จะเป็นชีวิตที่ดีและสมบูรณ์ เมื่อมีประเพณีไทยสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้จึงเป็นเพลงและดนตรี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและความรื่นเริงจึงมักมีการเล่นเพลงและดนตรีไทยเพื่อให้ความบันเทิง           สงกรานต์ในเพลงพื้นบ้านไทย           เพลงพื้นบ้านไทยที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ที่น่าสนใจ ได้แก่           ๑. เพลงพิษฐาน นิยมเล่นกันในภาคกลาง เป็นเพลงร้องโต้ตอบกันในโบสถ์ต่อหน้าพระประธาน โดยเนื้อเพลงว่าด้วยการกล่าวอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อช่วยบันดาลให้ตนได้สมหวังตามความปรารถนา อุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงดอกไม้และธูปเทียนที่จัดใส่พานเท่านั้น เพลงพิษฐานมีเอกลักษณ์ คือ ขึ้นต้นด้วยคำว่า “พิษฐานเอย...” ผู้เล่นจะชักชวนกันเข้าไปร้องเพลงในโบสถ์ โดยนั่งคุกเข่าว่าเพลงพิษฐาน ขณะว่าก็พนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนไว้ด้วย ลูกคู่ร้องรับไม่ต้องปรบมือและไม่มีการร่ายรำ มีการสวดบูชาพระรัตนตรัยและบทไหว้ครูก่อนเริ่มร้องเพลง https://www.youtube.com/watch?v=eMkuKjJycvk           ๒. เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงร้องโต้ตอบในประเพณีสงกรานต์ของภาคกลาง เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี้ยวพาราสี มีทั้งร้องแบบเร็ว โดยใช้กลอนสั้น และร้องแบบช้า โดยใช้กลอนยาว มักขึ้นต้นเพลงด้วยคำว่า “เอ้อระเหยลอยมา...” เวลาเล่นจะตั้งวงกันตามลานบ้าน ลานวัด ตีวงเป็นวงกลมชายครึ่งหญิงครึ่ง มีพ่อเพลงแม่เพลงรำโต้ตอบกัน นิยมเล่นกันในวันสงกรานต์ประกอบการเล่นลูกช่วง (ช่วงชัย) เมื่อฝ่ายใดแพ้ก็ต้องออกมารำ เป็นเพลงที่ร้องง่ายและให้ความสนุกสนาน https://www.youtube.com/watch?v=rpqYiyulRT4           ๓. เพลงระบำบ้านไร่ เป็นเพลงร้องโต้ตอบที่นิยมร้องกันในภาคกลาง โดยมักจะรับสร้อยด้วยคำว่า “ดงไหนเอย ลำไย หอมหวนอยู่ในดงเอย เข้าดง เข้าดงลำไย หอมหวนอยู่ในดงเอย” มักตั้งวงร้องรำกันตามลานบ้านหรือลานวัด มีพ่อเพลงแม่เพลงร้องนำ โต้ตอบกันด้วยเรื่องเกี้ยวพาราสี คนอื่นช่วยปรบมือให้จังหวะและร้องรับ เนื้อร้องมีลักษณะเด่นคือมักใช้กลอนไลหรือกลอนที่ลงท้ายด้วยสระไอแบบเพลงฉ่อย   https://www.youtube.com/watch?v=eojoDLMcJLs           ๔. เพลงฮินเลเล เป็นเพลงร้องโต้ตอบกันด้วยเรื่องเกี้ยวพาราสี ขึ้นต้นเพลงว่า “ฮินเลเล ฮินเลเล” มีจังหวะกระชั้นและเนื้อร้องสั้นมาก เพียงบทละ ๒ วรรค คำลงท้ายสะกดด้วยสระเอเสมอ มักตั้งวงเล่นตามบ้านและลานวัดในช่วงประเพณีสงกรานต์ของภาคกลาง   https://www.youtube.com/watch?v=iJXOxn6tINk             ๕. เพลงเข้าผี เป็นการละเล่นกึ่งพิธีกรรมที่มีมาแต่โบราณในภาคกลาง โดยร้องเพื่อเชิญผีมาเข้าแล้วยั่วให้รำ หรือให้ทำอาการตามธรรมชาติของผีนั้น มีอุปกรณ์ประกอบการเล่นหลายชนิด แล้วแต่ว่าจะเล่นเข้าผีอะไร มีทั้งผีคน (แม่ศรี) ผีข้าวของเครื่องใช้ และผีสัตว์ บทร้องเชิญผีเชิญเจ้าให้ลงมาเข้าร่างคนทรงของแต่ละที่ไม่มีบทตายตัว แต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันทั้งเนื้อหาและความสั้นยาว   https://www.youtube.com/watch?v=DDnZ_F362So           ๖. เจรียงตรษ หรือ เจรียงตรุษ เป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ภาคอีสาน ส่วนใหญ่พบมากในเขตอีสานใต้ ผู้เล่นจะรวมกลุ่มกันเป็นคณะ เที่ยวร้องอวยพรปีใหม่ตามบ้านต่าง ๆ เหมือนกับเพลงบอกทางภาคใต้ เครื่องมือที่นำไปด้วยมีกลองกันตรึม ๑ คู่ หรืออาจจะเพิ่มอย่างอื่นเข้าไปอีกตามความสนุก กับไม้จองกรอง ซึ่งเป็นไม้ใช้ถือกระทุ้งกับพื้น เวลากระทุ้งจะมีเสียงลูกสะบ้า ลูกกระพรวนที่ผูกอยู่ดังเป็นจังหวะ เมื่อร้องอวยพรแล้ว เจ้าของบ้านจะบริจาคเงินทองข้าวของไปทำบุญหรือร่วมสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์           เครื่องดนตรีที่นิยมใช้ในการเจรียง  กลองกันตรึม หรือ “สโกล” เจ้าของเสียง “โจ๊ะกันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม” กลองประกอบจังหวะที่เป็นที่มาของคำ “กันตรึม” ซอกันตรึม หรือ “ตรัว”.. ปี่อ้อ หรือ ‘แป็ยออ’ เครื่องดำเนินทำนองสำคัญอีกชิ้นในวงกันตรึม เลาปี่สร้างจากไผ่ลำเล็ก ลิ้นปี่ใช้ไม้อ้อเหลาปลาย ที่มา : KOTAVAREE : http://kotavaree.com/?p=495 https://www.youtube.com/watch?v=M6B8KOZGkk8 เพลงเจรียงตร๊ษ (สงกรานต์) เจรียงโดย ภาณุวัฒน์ สวัสดิ์รัมย์ณรงค์เดช เชื้อเมืองพาน : ตรัวพิทยา นิลสุข : กลองกันตรึม           ๗. เพลงบอก เพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ภาคใต้ เป็นเพลงที่ใช้บอกกล่าวสื่อสารเหตุการณ์ ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนหรือแจ้งให้ประชาชนทราบ โดยมีแม่เพลง ๑ คน และลูกคู่ ๓ - ๕ คน มีเครื่องดนตรีให้จังหวะ คือ ฉิ่ง ๑ คู่ ลูกคู่อาจตบมือพร้อมกับการขับรับทำนองและบทกลอนของแม่เพลง           สำหรับการละเล่นเพลงบอกสงกรานต์ คณะเพลงบอกจะตระเวณตามบ้านใกล้เรือนเคียงเพื่อแจ้งบอกป่าวร้องให้ชาวบ้านได้ทราบว่าถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในสมัยก่อนไม่มีการพิมพ์ปฏิทินอย่างเช่นปัจจุบัน โดยเฉพาะรายละเอียดการเปลี่ยนปีหรือการประกาศสงกรานต์ประจำปี เมื่อเสร็จสิ้นการร้องเพลงบอก เจ้าของบ้านจะบริจาคเงินทองข้าวของไปทำบุญให้กับวัด หรือร่วมสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ https://www.youtube.com/watch?v=3JoDOaFs-FQ เพลงบอก ตอน ความเป็นมาเพลงบอก (วันสงกรานต์)โดย เพลงบอกสร้อย เสียงเสนาะ หรือ นายสร้อย ดำแจ่ม ศิลปินเพลงบอกชาวใต้ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-เพลงบอก) พ.ศ. ๒๕๓๘ สงกรานต์ในดนตรีร่วมสมัยของสุนทราภรณ์           “เพลงรำวงวันสงกรานต์” ของสุนทราภรณ์เป็นผลงานการประพันธ์เพลงของครูแก้ว อัจฉริยะกุล ครูเพลงที่มีบทบาทโดดเด่นในการสร้างสรรค์บทเพลงให้กับวงสุนทราภรณ์ โดยในคำร้องของบทเพลงนี้ได้มีการนำขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีอยู่ในวันสงกรานต์ของไทยมาใส่ไว้อย่างครบถ้วน เพลงนี้ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันและมักได้ยินตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี เพลงรำวงวันสงกรานต์ โดยวงสุนทราภรณ์  ที่มา : Thai PBS : https://twitter.com/thaipbs/status/1207307264320606209?lang=fi รวมเพลงเทศกาลวันสงกรานต์ ขับร้องประสานเสียงโดย วงสุนทราภรณ์ สงกรานต์ในเพลงไทยลูกทุ่ง           เพลงไทยลูกทุ่ง มีบทบาทต่อการบันทึกและสะท้อนภาพของสังคมไทยมาทุกยุคสมัย เพลงไทยลูกทุ่งที่สะท้อนภาพของเทศกาลสงกรานต์ที่ได้รับความนิยมมีหลายบทเพลงด้วยกัน โดยเนื้อหาของบทเพลงนอกจากจะกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาวแล้ว ยังสอดแทรกขนบธรรมเนียมและประเพณีของเทศกาลสงกรานต์ไว้ใน คำร้องของบทเพลงนั้น ๆ ด้วย ศิลปินที่ได้ชื่อว่ามีเพลงสงกรานต์มากที่สุดในวงการเพลงไทยลูกทุ่ง คือ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สงกรานต์บ้านนา  แม่นางสงกรานต์ ควันหลงสงกรานต์ มอญซ่อนผ้า เทพีสงกรานต์ลืมทุ่ง ชุดสงกรานต์บ้านนา ของศิลปิน รุ่งเพชร แหลมสิงห์ “ถนนแห่งสายน้ำชุ่มฉ่ำ”           ถนนสายสงกรานต์แห่งแรกของไทย คือ ถนนข้าวสาร มีวัตถุประสงค์ให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักอาศัยและท่องเที่ยวในย่านถนนข้าวสารได้สัมผัสกับกิจกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์ที่สนุกสนาน            ถนนข้าวสารสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเริ่มจากถนนหน้าวัดชนะสงครามมาตามตรอกข้าวสาร แล้วสร้างสะพานข้ามคลองมาบรรจบกับถนนเฟื่องนครหน้าสวนหลวงตึกดิน แล้วพระราชทานนามถนนตามเดิมว่า “ถนนข้าวสาร”           ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจบนถนนข้าวสารได้จัดงานสงกรานต์ขึ้นตลอดเส้นทางบนถนนข้าวสาร เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่พักอาศัยในย่านดังกล่าวและใกล้เคียงได้ร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ จึงทำให้งานสงกรานต์ถนนข้าวสารมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศและทั่วโลก ถนนข้าวสารจึงเป็นเป้าหมายหลักที่ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติต่างเดินทางเข้ามาเล่นน้ำสงกรานต์บนถนนข้าวสารนี้ ส่งผลให้จังหวัดต่าง ๆ สร้างถนนสายสงกรานต์ของตนเองขึ้นมา ถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร(https://travel.trueid.net/detail/6xajyprVkdwq, https://bit.ly/3rLh2Ws)                     จังหวัดแรกที่นำแนวคิดการจัดงานสงกรานต์แบบถนนข้าวสารมา คือ จังหวัดขอนแก่น โดยใน พ.ศ. 2545 จังหวัดขอนแก่นกำหนดให้ถนนศรีจันทร์ตั้งแต่แยกถนนหน้าเมืองไปจนถึงบริเวณศาลหลักเมืองเป็นถนนสำหรับเล่นน้ำสงกรานต์ ปัจจุบันขยายไปจนถึงประตูเมือง จังหวัดขอนแก่นกำหนดชื่อเรียกเฉพาะงานนี้ว่า “ถนนข้าวเหนียว” ถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น (https://www.posttoday.com/social/local/359045)           ต่อมาจังหวัดต่าง ๆ พากันตั้งชื่อถนนภายในจังหวัดให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละภาค เพื่อเป็นพื้นที่ในการเล่นน้ำสงกรานต์อย่างสนุกสนาน           ภาคกลาง มีถนนข้าวแช่ จังหวัดปทุมธานี, ถนนข้าวสุก จังหวัดอ่างทอง, ถนนข้าวต้ม จังหวัดนครนายก, ถนนข้าวตอก จังหวัดสุโขทัย และถนนข้าวหมูแดง จังหวัดนครปฐม           ภาคเหนือ  มีถนนข้าวแคบ จังหวัดตาก, ถนนข้าวข้าวปุก จังหวัดแม่ฮ่องสอน, ถนนข้าวโพด จังหวัดเพชรบูรณ์, ถนนข้าวแต๋น จังหวัดน่าน และถนนข้าวขนมเส้น จังหวัดแพร่           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีถนนข้าวโพด จังหวัดนครราชสีมา, ถนนข้าวเปียก จังหวัดอุดรธานี, ถนนข้าวหอมมะลิ จังหวัดร้อยเอ็ด, ถนนข้าวปุ้น จังหวัดนครพนม, ถนนข้าวเย็น จังหวัดศรีสะเกษ และถนนข้าวกล่ำ จังหวัดกาฬสินธุ์           ภาคใต้  มีถนนข้าวยำ จังหวัดปัตตานี, ถนนข้าวสังข์หยด จังหวัดพัทลุง และถนนข้าวหมาก จังหวัดนราธิวาส ภาคกลาง ถนนข้าวแช่ (ปทุมธานี)https://bit.ly/3xJYTw1 ถนนข้าวตอก(สุโขทัย)https://www.banmuang.co.th/news/region/147727 ถนนข้าวหลาม (ชลบุรี)https://www.facebook.com/Teeneechonburi1/posts/_rdr ถนนข้าวคลุกกะปิ (ระยอง)https://bit.ly/3y47x8T ภาคอีสาน ถนนข้าวปุ้น(นครพนม)https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/605544 ถนนข้าวก่ำ (กาฬสินธุ์)http://www.yaikintiew.com/blogs/316     ภาคเหนือ ถนนข้าวแต๋น (น่าน)https://mgronline.com/travel/detail/9600000036334 ถนนข้าวโพด (เพชรบูรณ์)https://bit.ly/3kbuIpf ภาคใต้ ถนนข้าวยำ (ปัตตานี)https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/ ถนนข้าวดอกข่า (พังงา)https://www.matichon.co.th/region/news_1450004 “อาหารไทยสี่ภาคเลิศล้ำ”           หากกล่าวถึงประเพณีสงกรานต์ นอกจากเรื่องการสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ไทยแล้วนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกเรื่องคือ อาหารการกินในวันสงกรานต์ ที่มีรายละเอียดความสำคัญในด้านความประณีตในการทำ ความหมายที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย (https://www.gourmetandcuisine.com/news/detail/1644)           ข้าวแช่ เป็นอาหารชาวมอญ นิยมทำในช่วงวันสงกรานต์เพื่อถวายพระ ต่อมาคนไทยรับวัฒนธรรมนี้เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๔ เดิมทีเป็นอาหารชาววัง ต่อมาจึงได้แพร่หลายในหมู่ชาวบ้านทั่วไป           แกงฮังเล เป็นอาหารที่ชาวเหนือนิยมนำไปทำบุญในประเพณีต่าง ๆ เช่น ทำบุญ ตานขันข้าว และเป็นอาหารที่นำไปไหว้และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ (https://goodlifeupdate.com/healthy-food/223122.html) (https://www.xn--12cg3cq6bmlr1hc3fujdh.com/2994)           ขนมจีนน้ำเงี้ยว คนเมืองเรียกว่า เข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว เป็นอาหารที่นิยมทำในวันสงกรานต์ของภาคเหนือช่วงเวลาที่ลูกหลานกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์           แกงขนุน เป็นอาหารชื่อมงคล เชื่อว่าจะช่วยหนุนให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง มีคนค้ำจุนไปตลอดทั้งปี นิยมทำรับประทานกันช่วงวันสงกรานต์ของภาคใต้ในวันปากปี (https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/960642/) (https://kasineeaor187.wordpress.com/)           ขนมจ๊อก หรือ เข้าหนมจ็อก หรือ ขนมนมสาว มีความหมายว่าขนมที่มีลักษณะเป็นจุก ภาคกลางเรียกว่าขนมเทียน เดิมชาวเหนือนิยมทำขนมจ๊อกเฉพาะไส้หวาน ปัจจุบันบางบ้านก็จะมีการทำไส้เค็มด้วย เป็นขนมที่ชาวเหนือนิยมทำกันในช่วงวันสงกรานต์ และนำไปถวายพระในวันเนา           เข้าหนมปาด หรือ ขนมปาด เป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทลื้อ ภาคกลางเรียกว่าศิลาอ่อน ปัจจุบันยังพอหาชิมได้ในพื้นที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลเมืองลี จังหวัดน่าน (https://www.lannapost.net/2021/09/blog-post_15.html)           ข้าวแตน (อ่านว่า เข้าแต๋น) นิยมเรียกในภาคเหนือ ส่วนภาคกลางเรียกว่า ขนมนางเล็ด, เข้าฅวบ หรือ ข้าวเกรียบว่าว และ เข้าแคบ หรือ ข้าวแคบ ทั้งสามอย่างเป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวที่มีความกรอบ นิยมกันใน ข้าวแตน(https://bit.ly/3rHgCjR) เข้าฅวบ(https://fat2562.blogspot.com/blog-post.html) เข้าแคบ(https://bit.ly/38ia447) (https://sistacafe.com/summaries/46898)           เข้าพอง (อ่านว่า ข้าวปอง) ภาคกลางเรียกว่า ข้าวพอง ในอดีตมักนำไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพาหนะใช้ในการเดินทาง           เข้าหนมเกลือ (อ่านว่า เข้าหนมเกื๋อ) หรือ ขนมเกลือ เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำเกลือ ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาห่อใบตองให้มีลักษณะแบน เนื้อขนมที่สุกจะมีสีขาว รสเค็มเล็กน้อย ปัจจุบันมีการเติมกะทิและงาดำ หรือน้ำตาลปี๊บเพื่อเพิ่มรสชาติ (https://www.lannafood.com/blog/) (https://bit.ly/3ka4ZNW)           ข้าวเหนียวแดง หรือชาวล้านนาเรียกว่า ข้าววิตู หรือ เข้าอี่ทู หรือ เข้าวิทู เป็นขนมที่นิยมทำในช่วงสงกรานต์ เพราะเป็นช่วงที่ลูกหลานกลับภูมิลำเนาและร่วมแรงร่วมใจกันทำขนมเพื่อนำไปทำบุญถวายพระ แจกจ่ายแก่เพื่อนบ้านและญาติมิตร รวมทั้งรับประทานกันในครอบครัว           กาละแม เป็นขนมหวาน นิยมกันในหมู่ชาวมอญ และมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน (https://www.agoda.com/th-th/travel-guides/thailand/songkran-festival-2019) “ความสำคัญของประเพณี”           ประเพณีสงกรานต์ นับเป็นประเพณีหนึ่งที่มีคุณค่าและความสำคัญทางวัฒนธรรมที่จะแสดงถึงความรัก ความผูกพันในครอบครัว ชุมชน และสังคม เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และบรรยากาศของความกตัญญู ความเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน            คุณค่าความสำคัญทางวัฒนธรรมของประเพณีสงกรานต์ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้           คุณค่าต่อตนเอง วันสงกรานต์อาจถือได้ว่า เป็นวันแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เป็นโอกาสที่ทำให้กลับมาสำรวจตนเองว่า ในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา เราได้กระทำการใดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว คนรอบข้าง หรือสังคม รวมถึงสำรวจสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าหรือความสุข             คุณค่าต่อครอบครัว รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งเป็นวันมหาสงกรานต์ของทุกปีเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อให้ลูกหลานตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ บุพการี หรือผู้อาวุโสภายในครอบครัว และกำหนดให้วันที่ ๑๔ เมษายน ของทุกปีเป็น “วันครอบครัว” เนื่องด้วยช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางกลับบ้านหรือภูมิลำเนาไปหาครอบครัว และมีโอกาสอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตาเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ บิดามารดา เพื่อความเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่และเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันในการดำรงชีวิต การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งทำกิจกรรมอื่น ๆ ภายในครอบครัวร่วมกัน (https://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book55_2/culture.html)           คุณค่าต่อชุมชน ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ทำบุญตักบาตร หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัดร่วมกัน ได้สังสรรค์และสนุกสนานรื่นเริงด้วยการเล่นรดน้ำ และการละเล่นตามประเพณีท้องถิ่น           คุณค่าต่อสังคม ก่อให้เกิดความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้ ทำความสะอาดวัดวาอาราม พื้นที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ของชุมชนหรือหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย          คุณค่าต่อศาสนา วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชน โดยการทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ฟังธรรม สรงน้ำพระภิกษุสงฆ์และพระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคลที่ดำรงสืบทอดพระพุทธศาสนา การทำบุญทำทาน และการถือศีลปฏิบัติธรรม ล้วนเป็นเหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน          ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงามทรงคุณค่า เป็นช่วงเวลาแห่งการรักษาความสะอาดทั้งกาย ใจ และสิ่งแวดล้อม คุณค่าในการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและการแสดงความรักความปรารถนาดีและความเอื้ออาทรแก่ญาติมิตร นับเป็นประเพณีแห่งความสมัครสมานสามัคคีในครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย ในฐานะประชาชนคนไทยควรตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และแก่นแท้ของประเพณีสงกรานต์ที่งดงามและช่วยกันสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามด้วยการยึดถือปฏิบัติกันสืบไป “สงกรานต์ปีนี้ ๒๕๖๕”           ในเดือนเมษายน ๒๕๖๕ ที่จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้เผยแพร่ประกาศสงกรานต์ พร้อมคำทำนายดวงเมืองประจำปี ของฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ดังนี้ ปีขาล (ผีเสื้อผู้หญิง ธาตุไม้) จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๘๔ ทางจันทรคติ เป็นปกติมาสวาร ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๐๙ นาฬิกา ๔๕ นาที ๔๖ วินาที นางสงกรานต์ ทรงนามว่า "กิริณีเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอ พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จยืนมาเหนือหลังกุญชร (ช้าง) เป็นพาหนะ นางกิริณีเทวี _______________________________________________________________________________วันที่ ๑๖ เมษายน เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๙ นาที ๔๘ วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น ๑๓๘๔     ปีนี้ วันพุธเป็นธงชัย   วันอังคาร เป็นอธิบดี   วันอังคาร เป็นอุบาทว์   วันพฤหัสบดี เป็นโลกาวินาศ ปีนี้วันอาทิตย์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๔๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๔๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๒๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๑๖๐ ห่า นาคให้น้ำ ๔ ตัว  เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ ๒ ชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกิมิขาติ (ด้วงและแมลง) จะได้ผลกึ่งเสียกึ่ง เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีเตโช (ไฟ) น้ำน้อย____________________________________________________________________________  

ภาพตัวอย่าง

เยี่ยมเยือนเมืองสยาม ย้อนเวลาไปกับหนังสือหายาก

  หนังสือหา (ไม่) ยาก เมื่อกล่าวถึงหนังสือหายาก (Rare Book) คนทั่วไปมักจะนึกถึงการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือเก่าที่หาไม่ค่อยพบ ซึ่งเกิดจากตัวเล่มหนังสือหรือเนื้อหา ทั้งนี้เพราะหนังสือประเภทนี้ จัดอยู่ในห้องสมุดเฉพาะ ดังนั้นวิธีการเก็บรักษา การบริการ จึงค่อนข้างแตกต่างกับหนังสือทั่วไป อีกทั้งวิธีการเรียบเรียงเนื้อเรื่องของคนสมัยก่อน มักแทรกความรู้อื่นไว้ในเรื่องที่เขียนด้วย           หนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่านานัปการ ตั้งแต่ผู้ครอบครอง เนื้อหา การพิมพ์ ตลอดจนอายุของหนังสือ ทั้งนี้เพราะหนังสือส่วนหนึ่งเดิมเป็นหนังสือจากหอพระสมุดหลวงส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงสถาปนาหอสมุดแห่งชาติ อีกส่วนหนึ่งเป็นหนังสือจากหอพระสมุดส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีจำนวนมากนับแสนเล่ม หอสมุดแห่งชาติซึ่งถือได้ว่าเป็นห้องสมุดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของชาติ จึงได้พยายามอนุรักษ์รักษาหนังสือเหล่านี้ให้คงเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติตลอดไป ลักษณะของหนังสือหายากในหอสมุดแห่งชาติ เยี่ยมเยือนเมืองสยาม           หนังสือหายาก มีความรู้ที่น่าศึกษาค้นคว้าน่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์สังคม ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ประวัติบุคคลสำคัญของบ้านเมือง และเรื่องอื่น ๆ ผ่านเรื่องราวของหนังสือเล่มแล้วเล่มเล่า อาทิ การเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่าง ๆ ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง หนังสือหายากแต่ละเล่ม ทำให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการความเป็นไปในอดีตในมุมมองที่แตกต่างกัน อาจเป็นมุมมองของชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเมืองในช่วงระยะเวลานั้น โบราณสถาน ตลอดจนผู้คนพลเมือง   การท่องเที่ยว           “เที่ยว” เป็นกริยาที่เดินไป หรือ ไปด้วยยานพาหนะ เพื่อทำให้จิตใจเบิกบาน เพลิดเพลินหรือเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ไปด้วยเหตุทำกิจธุระหรือความจำเป็น           คำว่า “เที่ยว” หรือ “การเที่ยวเตร่” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือ “เรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ” ความตอนหนึ่งว่า ประวัติการท่องเที่ยว           ในอดีตการเดินทางท่องเที่ยวแบบเป็นหมู่คณะอาจมีจำกัดเพียงพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้นที่จะเสด็จประพาสยังสถานที่ต่าง ๆ ส่วนประชาชนทั่วไปไม่นิยมเดินทางไกลนอกจากมีความจำเป็น เนื่องจากยังไม่มีพาหนะที่มีประสิทธิภาพในการเดินทาง ซึ่งการเดินทางนั้นมักผูกติดกับกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่           - การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ เป็นรูปแบบการเดินทางห่างบ้านที่ชาวสยามคุ้นเคยที่สุด เช่น ชาวล้านนานิยมเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ชาวกรุงศรีอยุธยาเดินทางมาไหว้พระพุทธบาท สระบุรี ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา           - การเดินทางไปเยี่ยมญาติ เช่น นิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ กล่าวถึงการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองแกลง แถบชายทะเลตะวันออกของอ่าวไทย เพื่อเยี่ยมญาติทางฝ่ายบิดา           - การเดินทางเพื่อหาเลี้ยงชีพ เช่น การทำอาชีพพรานป่า ชาวประมงที่ออกหาปลาในทะเล พ่อค้าเดินทางไปค้าขายต่างเมือง           - การอพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยเนื่องจากประสบภัยต่าง ๆ เช่น โรคระบาด สงคราม           - การเดินทางเพื่อไปปฏิบัติกิจราชการ เช่น ขุนนางและไพร่พลต้องเกณฑ์ไปราชการทำสงคราม หรือ ขุนนางได้รับมอบหมายไปปกครองดูแลบ้านเมืองต่างพระเนตรพระกรรณ           นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา เริ่มมีการทำการค้าและมีปฏิสัมพันธ์กับชาวตะวันตก ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๘ ทำให้สยามต้องเปิดประเทศ มีชาวตะวันตกเข้ามาอาศัยอยู่ในพระนครมากขึ้น จึงมีการรับเอาค่านิยมและธรรมเนียมตะวันตกหลายอย่าง รวมถึงธรรมเนียมการพักผ่อน เช่น การขี่ม้าชมเมือง และการรักษาสุขภาพตามคำแนะนำของมิชชันนารีที่มีความรู้เรื่องแพทย์แผนปัจจุบัน ให้ผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการพักผ่อนไป “เปลี่ยนอากาศ” ในบริเวณที่มีอากาศดี การเดินทางไปพักแรมตากอากาศของพระบรมวงศานุวงศ์หรือชนชั้นสูง ขุนนาง ข้าราชการ ประโยชน์ของการท่องเที่ยว           การท่องเที่ยวนอกจากทำให้เกิดความเพลิดเพลินแล้ว ยังมีความสำคัญก่อให้เกิดผลดีและมีประโยชน์ต่อชีวิตหลายประการ ซึ่งสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทรงอธิบายถึงประโยชน์ของการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ไว้ในเรื่อง “เที่ยวเดินทางในเขตรสยาม” ใน "หนังสือชีวิวัฒน์" ได้แก่          การเพิ่มพูนความรู้ และช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์“การเที่ยวเดินทางในที่ต่าง ๆ นี้ เห็นว่าเปนของที่จะบำรุงกายแห่งกุลบุตรผู้จะแสวงหาความสบายได้อย่างหนึ่ง บางทีก็จะมีคุณวิเสศได้พบได้เห็นของประหลาดต่าง ๆ ที่จะชี้ชูปัญญาให้รุ่งเรืองได้บ้าง...”          ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ“เปนของชูกำลังให้อายุยืน เพราะมีแต่สนุกสบายเสมอไม่ทุกข์... จะได้ลมอากาศ เปลี่ยนแปลกผิดกว่าบ้านเรือนในกรุงเทพ ฯ ของตัว... โรคไภยที่มีอยู่ก็คงจะค่อยระงับบรรเทาลง ฤาโรคที่จะเกิดขึ้นในตัวก็ไม่ใคร่จะมีได้เพราะสบายกายสบายใจอยู่เสมอ...” ทัศนียภาพบริเวณเกาะสีชังสถานที่ที่เจ้านายและขุนนาง มักใช้เป็นสถานที่เปลี่ยนอากาศและรักษาพระองค์ยามเจ็บไข้ พลับพลาที่เกาะสีชัง เมืองชลบุรีสถานที่แปรพระราชฐานเพื่อประทับรักษาพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์  ตลอดจนผู้ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้สถานที่นี้เป็นที่พักผ่อน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ พระเจ้าน้องนางเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอาการประชวรพระโรควักกะพิการเป็นเวลานาน พระองค์จึงโปรดให้แปรพระราชฐานโดยเสด็จไปตามหัวเมืองด้วยเสมอเพื่อเปลี่ยนอากาศบำรุงพระกำลัง ทำให้พระอาการดีขึ้น ผ่อนคลายความตึงเครียด และช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน          "เมื่อมีเวลาว่างราชการแลทำมาหากิน ควรจะต้องผ่อนกายและกำลังให้มีความสบาย ...ถ้าจะทำการไม่มีเวลาเที่ยวบ้าง พิเคราะห์ดูเห็นว่าชีวิตรจะเปนไปไม่ยืนยาวโรคภัยเบียดเบียนหาความศุขมิได้ ทุกชาติทุกภาษาคงต้องมีเวลาว่างจากการ ซึ่งเรียกว่าโฮเลเด..." พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสำราญพระอิริยาบถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร ณ น้ำตกธารเสด็จ เกาะพงัน เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ประเพณีวัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย และการใช้ชีวิตของคนในชุมชนนั้น ๆ            “ถ้าได้ไปในเมืองนั้นคงจะรู้จักบ้านเมืองและจำรู้ทางชัดเร็วแน่นอน ถ้าจะมีผู้ซักผู้พูดถึงเมืองนั้น ๆ ก็จะเล่าได้พูดตามความรู้ความเห็นของตัว... ประการหนึ่งจะได้รู้จักชาติแห่งคนชาวบ้านชาวเมืองภูมิประเทศนั้น ๆ ที่จะมีกิริยาหน้าตาสุ้งเสียงอย่างไร และจะทำมาหากินเลี้ยงชีวิตรด้วยสิ่งอันใด...” วิถีชีวิตของราษฎรบริเวณรอบทุ่งกุลาร้องไห้ นอกเมืองร้อยเอ็ด ในสมัยเมื่อพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ  เสด็จตรวจราชการเมืองร้อยเอ็ด วันที่ ๒๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ รู้จักโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญ ๆ           “ประการหนึ่งเมืองใดมีของโบราณวิชาช่าง เปนบ้านเปนตึกเปนวัดโบถพิหารพระเจดีย์พระปางค์...ในชีวิตรหนึ่งควรจะได้เห็นไว้ ให้เปนที่เจริญใจสดับสติปัญญาให้รุ่งเรือง” วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารถ่ายจากด้านทิศเหนือ ด้านขวามือเห็นยักษ์ที่หน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถ พระวิหารหลวง วัดพระสิงค์ วรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ภาพพระวิหารหลวงทรงจัตุรมุขหลังเดิม ต่อมาชำรุดทรุดโทรม จึงได้สร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นแทน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๗ ได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์           “บางทีที่จะได้พบของโบราณปลาดเปนพระพุทธรูปเก่าๆ ... แลเทวรูปเปนรูปอิศวรนารายน์พิคเนฆต่าง ๆ หล่อด้วยทองอย่างเก่า แลของเล็กน้อยอย่างนี้มีอิกมาก บางทีเปนของ ประหลาดหายาก ตามซึ่งชนสยามได้นับถือกันว่าเปนของวิเสศกันได้ต่าง ๆ ...” ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ช่วยในการประกอบสัมมาอาชีพ           “คนซึ่งเปนพ่อค้า ซึ่งจะแสวงหาสิ่งที่เปนประโยชน์แก่ตนที่ควรจะทราบสินค้าซึ่งเกิดมีเกิดเปนตามเมืองนั้น ๆ... ก็อาจสามารถที่จะสืบสวนแลชักจูงหาผู้แทนหรือแสวงหาสินค้านั้น ๆ มาซื้อขายตามประโยชน์แก่กำไรของตนซึ่งเห็นว่าจะได้มาจำหน่ายตามประโยชน์ในที่ควรได้ตามกาลเวลา” กลุ่มเกวียนเทียมวัว และเรือบรรทุกสินค้าไปค้าขายที่ริมแม่น้ำน่าน หน้าเมืองพิชัย ปัจจุบันคืออำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ การคบค้าสมาคมกับผู้อื่น           “ถ้าจะว่าตามประโยชน์ที่คบเพื่อนฝูง ถ้าได้ไปเที่ยวได้ทั่วทุกแห่ง ถ้าถึงแห่งใดก็จำต้องรู้จักพบปะคนในเมืองนั้น ๆ ... ถ้าแม้ว่าจะไม่ต้องการในทางมิตรที่ดีก็คงยังเปนประโยชน์ที่จะได้รู้จักคนนั้น ๆ ไว้...” พระยาตรังกานูคอยรับเสด็จ ในคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทเลตวันตก พระยาตรังกานูนี้เป็นผู้หนึ่งที่ทรงยินดีได้เข้ามาเฝ้า ฯ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๙   การเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๕           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชอัธยาศัยโปรด ฯ การเสด็จประพาสตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เสด็จประพาสที่ต่าง ๆ เกือบทุกปี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บางคราวเสด็จ ฯ ไปเป็นทางราชการ บางคราวเสด็จ ฯ ไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ ไม่โปรด ฯ ให้จัดการรับเสด็จอย่างเป็นทางการ ที่เรียกว่า “เสด็จประพาสต้น” ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะประทับที่ใดก็ประทับที่นั้น การเสด็จประพาสต้นมีประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง เพราะเสด็จประพาสปะปนไปในหมู่ราษฎร ได้ทรงทราบคำกราบบังคมทูลของราษฎรปรารภสุขทุกข์ ซึ่งไม่สามารถจะทรงทราบได้จากทางอื่น การเสด็จประพาสต้นในรัชกาลของพระองค์เกิดขึ้น ๒ ครั้ง คือ การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๗ เสด็จโดยทางเรือจากพระราชวังบางปะอิน ไปมณฑลราชบุรี แล้วเสด็จกลับมามณฑลนครชัยศรี และมณฑลอยุธยา การเสด็จครั้งนี้ทรงสำราญพระราชอิริยาบทมากกว่าครั้งใด ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเสวยพระกระยาหาร พร้อมด้วยผู้ตามเสด็จ ที่บริเวณตลิ่งสูง ในป่าใต้วังนางร้าง ในคราวเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ ๒ พุทธศักราช ๒๔๔๙           การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ เสด็จโดยชลมารคจากกรุงเทพมหานครไปทางอยุธยา ทรงนมัสการพระพุทธบาทที่เมืองสระบุรี ผ่านอ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ไปจนถึงกำแพงเพชร แล้วทรงย้อนกลับลงมาทางเมืองนครสวรรค์  กระบวนเรือเสด็จประพาสต้นในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หยุดพักที่หาดใต้แสนตอ  เมืองขาณุวรลักษณบุรี เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ การเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๖           ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองต่างๆ ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ในรัชกาลที่ ๕ เช่น เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เสด็จพระราชดำเนินไปมณฑลพายัพ เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย สวรรคโลก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นอกจากนี้นับแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมและขยายเส้นทางรถไฟ ทำให้ประชาชนมีความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช   สยามมกุฎราชกุมารเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ช้างในขบวนเสด็จเดินทางจากตำบลกะปาง          ไปยังพลับพลาที่ประทับตำบลทุ่งสง เมืองนครศรีธรรมราช พุทธศักราช ๒๔๕๒ ซุ้มพระปรางค์พระมหาธาตุ เมืองสุโขทัยภาพจากหนังสือเรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง ขอมดำดิน ในลานวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัยภาพจากหนังสือเรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง     การเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๗           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙ เสด็จผ่านเมืองต่าง ๆ ได้แก่ พิษณุโลก แพร่ ลำปาง เชียงราย เชียงแสน เชียงใหม่ และลำพูน   เจ้าแก้วนวรัฐขี่ช้างนำเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เข้าสู่เมืองเชียงใหม่ พุทธศักราช ๒๔๖๙ ท่องเที่ยวทั่วไทย ห่างไกลโควิด           การนำเสนอการท่องเที่ยวด้วยภาพและเรื่องราวจากหนังสือหายากในครั้งนี้ เป็นการเดินทางย้อนเวลาไปในเหตุการณ์ สถานที่ และบุคคล ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดได้พบเห็น ผ่านจินตนาการของแต่ละท่านมาเติมเต็มภาพ เรื่องราวในภาพนั้น โดยจัดแบ่งเรื่องราวออกตามภูมิภาคของประเทศ ดังนี้           ๑. หนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภาคเหนือ เช่น อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์ จดหมายเหตุระยะทางเสด็จหัวเมืองเหนือ           ๒. หนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เที่ยวตามทางรถไฟ เมืองสระบุรี เรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ ๔ ว่าด้วยเที่ยวมณฑลอุดร แล มณฑลอิสาณ นิราศหนองคาย           ๓. หนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภาคกลาง เช่น จดหมายเหตุเรื่องประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕ ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ เที่ยวเมืองพระร่วง           ๔. หนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภาคตะวันออก เช่น พระราชนิพนธ์เสด็จประพาศจันทบุรี จดหมายเหตุเรื่องเปิดรถไฟสายตะวันออกและสายเหนือและเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองฉะเชิงเทรา เรื่องเสด็จประพาสคลองแสนแสบ           ๕. หนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภาคตะวันตก เช่น พระราชนิพนธ์เสด็จประพาศไทรโยค กลอนไดอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค นิราศรถไฟสายราชบุรี           ๖. หนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภาคใต้ เช่น ชีวิวัฒน์ จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ นิราศถลาง เพราะหนังสือจึงรังสรรค์    

ภาพตัวอย่าง

10 หนังสือที่พิมพ์จากเอกสารโบราณทรงคุณค่าของหอสมุดแห่งชาติ

สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง "10 หนังสือที่พิมพ์จากเอกสารโบราณทรงคุณค่าของหอสมุดแห่งชาติ" ประกอบด้วย                 1. ตำราดูลักษณะแมว                2. ริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารค สมเด็จพระนารายณ์มหาราช                3. กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค สมเด็จพระนารายณ์มหาราช                4. หนังสือสมุดภาพสัตว์หิมพานต์                5. หนังสือสมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา - ฉบับธนบุรี เล่ม 1 - 2                6. หนังสือต้นร่างรูปภาพขรัวอินโข่ง                7. หนังสือสมุดภาพโคลงฤาษีดัดตน                8. หนังสือสมุดภาพตำราแผนคชลักษณ์                9. หนังสือสุปรีติธรรมราชชาดกคำหลวง                10. หนังสือสมุดภาพปริศนาธรรม ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจได้เกิดความรัก หวงแหนและช่วยกันดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป                                                                                                                                    คลิกเพื่อชมนิทรรศการ  

ภาพตัวอย่าง

ลายพระราชหัตถ์ พระฉัฐราช

สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง “ลายพระราชหัตถ์ พระฉัฐราช” ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเนื้อหานิทรรศการแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้         1. ข้อความที่โดดเด่นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย พร้อมเรื่องย่อของหนังสือลายพระราชหัตถ์        2. ต้นฉบับลายพระราชหัตถ์พระราชนิพนธ์ โดยหอสมุดแห่งชาติได้ดำเนินการแปลงต้นฉบับให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) จำนวน 78 เรื่องทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจได้เกิดความรัก หวงแหนและช่วยกันดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป                                                                                                                           คลิกเพื่อชมนิทรรศการ  



เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี