ค้นหา


วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น. อาจารย์และนิสิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 41 คน เข้าศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์ ความรู้ และทัศนคติที่ดีต่อวรรณกรรมสำหรับเด็ก รวมถึงเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้นิสิตสามารถประยุกต์องค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมกับบริบทสังคมในปัจจุบันได้


วันที่ 15 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00-10.30 น. คณะครูและนักเรียน ชุมนุมยุวบรรณารักษ์ โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม จำนวน 27 คน เข้าศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้งานห้องสมุด และมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานห้องสมุด พร้อมทั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จากสถานที่จริง


วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 10.30-12.30 น. นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ คณะผู้บริหาร พร้อมด้วยบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 10 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 7HD ในส่วนของ 1) Virtual Studio 2) 7HD Museum (พิพิธโทรทัศน์) รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารทรัพยากรสื่อของช่อง 7HD เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ พัฒนางานบริการ และต่อยอดไปสู่การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อไป


วันที่ 19 มกราคม 2567 เวลา 13.00-15.30 น. อาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต รายวิชา 335 540 การสำรวจและอนุรักษ์จารึกและเอกสารโบราณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 1 รูป 9 คน เข้าศึกษาดูงานการอนุรักษ์เอกสารโบราณ ณ กลุ่มงานสงวนและรักษาหนังสือ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ


วันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 13.30-15.30 น. ผู้สอนและนักศึกษาเอกดนตรีสากล ชั้นปีที่ 1 รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 31 คน เข้าศึกษาดูงานหอวชิราวุธานุสรณ์, NLT Smart Library และหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อศึกษาเรียนรู้ข้อมูลประวัติศาสตร์ทางดนตรีทั้งไทยและสากล


วันที่ 30 มกราคม 2567 เวลา 13.30-15.30 น. อาจารย์และนิสิตภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 16 คน เข้าศึกษาห้องเอกสารโบราณ ห้องหนังสือหายาก ห้องบริการหนังสือประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ ตลอดจนศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์ (กลุ่มงานสงวนรักษาหนังสือ) ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้นิสิตได้รู้จักทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าทางมรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนเรียนรู้วิธีดูแลจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม


วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น. คณะผู้บริหารและบุคลากรจากกลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 9 คน เข้าศึกษาดูงานการบริหารจัดการห้องหนังสือหายาก และกลุ่มงานผลิตโสตทัศนวัสดุ ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายการคัดเลือกหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ การบริหารจัดการตัวเล่มและไฟล์ข้อมูล กฎหมายลิขสิทธิ์ การจ้างงานสแกน และระบบคลังสารสนเทศดิจิทัลของหนังสือหายาก โดยมีนางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ และบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติ ให้การต้อนรับและนำชม


วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. อาจารย์และนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 37 คน ศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อเรียนรู้และสัมผัสงานศิลปะในประวัติศาสตร์ ตลอดจนสิ่งประดิษฐ์ รวมถึงหนังสือ บทความและวารสารต่าง ๆ


วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00-11.00 น. บุคลากรสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดระยอง จำนวน 10 คน เข้าศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้บุคลากรได้ความรู้และได้ประสบการณ์ในการบริหารทรัพยากรสารสนเทศในแหล่งเรียนรู้ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุดประชาชน


วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 14.00 น. ผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย (Taipei Economic and Cultural Office in Thailand) พร้อมผู้ติดตาม เข้าศึกษาดูงานที่หอสมุดแห่งชาติในฐานะที่เป็นแหล่งภูมิปัญญาสำคัญของประเทศไทย และประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน โดยมี นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ คณะผู้บริหาร และบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติร่วมให้การต้อนรับ


วันที่ 10 มิถุนายน 2567 เวลา 09.30 น. Ms. Rachel D'Arcy, Brimbank Libraries และ Ms. Jessica Anderson, Cobram Library รัฐวิกทอเรีย เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ของหอสมุดแห่งชาติและห้องสมุดในประเทศออสเตรเลียตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี ดร.ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด และบุคลากรหอสมุดแห่งชาติ ร่วมให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน


วันที่ 20 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. Ms. Maria Kekki ภัณฑารักษ์จากหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลคอลเลกชันต้นฉบับภาษาพม่าในหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ได้เข้าศึกษาดูงานและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคอลเลกชันต้นฉบับภาษาพม่า มอญ และกะเหรี่ยง ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ คณะผู้บริหาร และบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติร่วมให้การต้อนรับ


วันที่ 29 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30-15.00 น.บุคลากร ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเหนือคลอง จ. กระบี่ จำนวน 14 คน เข้าศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้บุคลากรมีประสบการณ์และทักษะในการบริหารจัดการส่งเสริมการเรึยนรู้


วันที่ 9 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. อาจารย์และนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 40 คน ศึกษาดูงาน ณ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก และหอวชิราวุธานุสรณ์ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์


วันที่ 10 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00-16.30 น. รองอธิการบดีพร้อมด้วยบรรณารักษ์จากมหาวิทยาลัย Paragon International University ประเทศกัมพูชา เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ พร้อมทั้งประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน โดยมีนางสาวบุบผา ชูชาติ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ คณะผู้บริหาร และบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติร่วมให้การต้อนรับ


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี