ค้นหา


วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น. อาจารย์และนิสิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 41 คน เข้าศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์ ความรู้ และทัศนคติที่ดีต่อวรรณกรรมสำหรับเด็ก รวมถึงเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้นิสิตสามารถประยุกต์องค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมกับบริบทสังคมในปัจจุบันได้


วันที่ 15 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00-10.30 น. คณะครูและนักเรียน ชุมนุมยุวบรรณารักษ์ โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม จำนวน 27 คน เข้าศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้งานห้องสมุด และมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานห้องสมุด พร้อมทั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จากสถานที่จริง


วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 10.30-12.30 น. นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ คณะผู้บริหาร พร้อมด้วยบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 10 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 7HD ในส่วนของ 1) Virtual Studio 2) 7HD Museum (พิพิธโทรทัศน์) รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารทรัพยากรสื่อของช่อง 7HD เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ พัฒนางานบริการ และต่อยอดไปสู่การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อไป


วันที่ 19 มกราคม 2567 เวลา 13.00-15.30 น. อาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต รายวิชา 335 540 การสำรวจและอนุรักษ์จารึกและเอกสารโบราณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 1 รูป 9 คน เข้าศึกษาดูงานการอนุรักษ์เอกสารโบราณ ณ กลุ่มงานสงวนและรักษาหนังสือ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ


วันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 13.30-15.30 น. ผู้สอนและนักศึกษาเอกดนตรีสากล ชั้นปีที่ 1 รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 31 คน เข้าศึกษาดูงานหอวชิราวุธานุสรณ์, NLT Smart Library และหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อศึกษาเรียนรู้ข้อมูลประวัติศาสตร์ทางดนตรีทั้งไทยและสากล


วันที่ 30 มกราคม 2567 เวลา 13.30-15.30 น. อาจารย์และนิสิตภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 16 คน เข้าศึกษาห้องเอกสารโบราณ ห้องหนังสือหายาก ห้องบริการหนังสือประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ ตลอดจนศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์ (กลุ่มงานสงวนรักษาหนังสือ) ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้นิสิตได้รู้จักทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าทางมรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนเรียนรู้วิธีดูแลจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม


วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น. คณะผู้บริหารและบุคลากรจากกลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 9 คน เข้าศึกษาดูงานการบริหารจัดการห้องหนังสือหายาก และกลุ่มงานผลิตโสตทัศนวัสดุ ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายการคัดเลือกหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ การบริหารจัดการตัวเล่มและไฟล์ข้อมูล กฎหมายลิขสิทธิ์ การจ้างงานสแกน และระบบคลังสารสนเทศดิจิทัลของหนังสือหายาก โดยมีนางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ และบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติ ให้การต้อนรับและนำชม


วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. อาจารย์และนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 37 คน ศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อเรียนรู้และสัมผัสงานศิลปะในประวัติศาสตร์ ตลอดจนสิ่งประดิษฐ์ รวมถึงหนังสือ บทความและวารสารต่าง ๆ


คำถามที่พบบ่อย / FAQ สำนักหอสมุดแห่งชาติเปิดให้บริการ และปิดบริการกี่โมง ?         สำนักหอสมุดแห่งชาติ        วันจันทร์ - ศุกร์  เวลา 09.00 - 18.30 น.        วันเสาร์ - อาทิตย์  เวลา 09.00 - 17.00 น.        ปิดบริการ วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี         NLT Smart Library        วันจันทร์ - ศุกร์  เวลา 07.00 - 18.30 น.        วันเสาร์ - อาทิตย์  เวลา 09.00 - 17.00 น.        วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี  เวลา 09.00 - 17.00 น.        ปิดบริการ เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลปีใหม่  วิธีการสมัครสมาชิกหอสมุดแห่งชาติ ใช้อะไรบ้าง ?         ประชาชนทุกท่านสามารถลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกหอสมุดแห่งชาติด้วย "บัตรประชาชน" เพียงใบเดียว ผ่านตู้ลงทะเบียนอัตโนมัติบริเวณทางเข้าหอสมุด        ดูวิธีการลงทะเบียนเพิ่มเติม ที่นี่ สามารถยืมหนังสือกลับบ้านได้ไหม ?         ไม่ได้ เนื่องจากสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็นแหล่งรวบรวมและจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550        สำหรับให้บริการแก่ประชาชนทุกท่าน และเพื่อป้องกันการสูญหายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ทางหอสมุดจึงมีมาตรการไม่ให้ผู้ใช้บริการยืมหนังสือออกไปภายนอกหอสมุด  มีให้บริการถ่ายเอกสารหรือไม่ ?         มีร้านเอกชนให้บริการถ่ายเอกสาร อยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 2 (ด้านหน้าห้องบริการวิทยานิพนธ์ฯ)         การขอเลข ISBN ISSN หรือ จดแจ้งการพิมพ์ จะต้องทำอย่างไร ?         โปรดอ่านรายละเอียด ที่นี่  หากต้องการบริจาคหนังสือให้หอสมุดต้องทำอย่างไร ?         โปรดอ่านรายละเอียด ที่นี่  หากต้องการแนะนำหนังสือเข้าหอสมุด เพื่อให้หอสมุดจัดซื้อต้องทำอย่างไร ?         โปรดกรอกข้อมูลแนะนำเสนอซื้อหนังสือเข้าหอสมุดแห่งชาติ ที่นี่  การแต่งกายมาหอสมุดแห่งชาติ         ผู้ใช้บริการสามารถแต่งกายด้วยชุดลำลองสุภาพตามความเหมาะสม  สามารถนำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้ามารับประทานในหอสมุดแห่งชาติได้หรือไม่ ?         ผู้ใช้บริการสามารถนำอาหารเข้ามารับประทานได้เฉพาะบริเวณที่หอสมุดจัดไว้ให้เท่านั้น (บริเวณโถงอาคาร 2 ชั้น 1) และเครื่องดื่มที่มีฝาปิดมิดชิดป้องกันการหกและไม่ส่งกลิ่นรบกวนผู้ใช้บริการท่านอื่นสามารถนำเข้ามาได้  วิธีการเดินทางมาหอสมุดแห่งชาติ     การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขสมก สาย 3, 9, 16, 30, 32, 33, 49, 64, 65, 110, ปอ.505   การเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ลงสถานีราชเทวี จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 23, 72ลงสถานีสะพานควาย จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 3   การเดินทางโดยรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) ลงสถานีบางซื่อ จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 65ลงสถานีเตาปูน จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 16, 30, ปอ.505ลงสถานีบางโพ จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 64ลงสถานีหัวลำโพง จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 49ลงสถานีสนามไชย จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 3, 9   การเดินทางโดยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ลงสถานีพญาไท จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 72   การเดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา มีท่าเรือใกล้กับหอสมุดคือ ท่าเทเวศน์ มีเรือโดยสารธงส้ม ธงเหลือง ธงเขียว   การเดินทางโดยเรือโดยสารคลองแสนแสบ สามารถลงท่าตลาดโบ๊เบ๊ จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 49, 53  ต้องการสืบค้นหนังสือในหอสมุดต้องทำอย่างไร ?         เริ่มต้นค้นหาผ่านเมนูการสืบค้น http://search.nlt.go.th/ หากต้องการเยี่ยมชม/ศึกษาดูงานสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็นหมู่คณะต้องทำอย่างไร ?         โปรดติดต่อกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ โทรศัพท์ 0 2280 9828 - 32 ต่อ 670 Fax. 0 2280 7543 Email: itech@nlt.go.th          และชมภาพการเยี่ยมชมหอสมุด ที่นี่  หากต้องการร้องเรียน เสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ในการใช้บริการสำนักหอสมุดแห่งชาติ         ท่านสามารถทำการร้องเรียนได้ ที่นี่


นิทรรศการ “ทีฆายุวัฒนมงคล” วาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต สกุลเดิม ลีละหุต (นามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นธิดาคนที่ ๖ ของว่าที่อำมาตย์ตรีขุนพิทักษ์ประชารมย์ (อัศว์ ลีละหุต) และนางพิทักษ์ประชารมย์ (ส้มกิ้น ลีละหุต) มีพี่น้องรวม ๑๐ คน คือ ด.ญ.เลื่อน ด.ญ.ล้อม ด.ญ.น้อม ด.ช.แนบ ด.ญ.มุล ด.ญ.แม้น ด.ญ.ม่อม  ด.ช.สมเกียรติ ด.ญ.นิตยา และ ด.ช.เล็ก ลีละหุต ทั้งนี้ในสมัยก่อนนิยมใช้ชื่อพยางค์เดียวทั้งผู้หญิงและผู้ชาย           ต่อมาในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กำหนดให้สตรีมีชื่อ ๒ พยางค์ ดังนั้น ด.ญ.แม้น จึงมีชื่อว่า แม้นมาส และเหตุที่ใช้พยัญชนะ ส สะกด เพราะพยัญชนะ ศ และ ษ ถูกตัดออกจากพยัญชนะไทยในสมัยนั้น เพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น   การศึกษา นางสาวแม้นมาส ลีละหุตเมื่อสำเร็จปริญญาตรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๗๗  —     เริ่มการศึกษาในระดับประถมต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดท่ามอญ (ปัจจุบันคือวัดศรีทวี) อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช        ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๕   พ.ศ. ๒๔๗๙ —     ย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสตรีจุลนาค จังหวัดพระนคร จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖   พ.ศ. ๒๔๘๑—     เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ ๗ - ๘ ที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัย จนสำเร็จการศึกษา และเป็นผู้สอบชั้นมัธยมปีที่ ๘ ได้คะแนนเป็น        อันดับ ๒ ของประเทศ จึงได้รับทุนเล่าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา   พ.ศ. ๒๔๘๖ —     เข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี   พ.ศ. ๒๔๙๒ —     สอบชิงทุนกระทรวงศึกษาธิการ และทุนของมหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทวิชาบรรณารักษศาสตร์ ณ          มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษา ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ นอกจากนี้ในระหว่างปิดเทอมภาคฤดูร้อน ได้        ฝึกงานในห้องสมุดสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อหาประสบการณ์ในการทำงานห้องสมุดทุก ๆ ด้านซึ่งขณะนั้นมีคนไทยเพียง        คนเดียวที่ไปศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์   พ.ศ. ๒๕๑๑ —     ได้รับทุนอบรมระยะสั้น จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้เข้า        อบรมวิธีสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นระยะเวลา ๖ เดือน ในโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์ ประเทศเดนมาร์ก ต่อจากนั้นได้รับการ        ฝึกอบรมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินงานเอกสารของยูเนสโก ต่ออีก ๑ สัปดาห์ ณ สำนักงานใหญ่ของยูเนสโก กรุงปารีส         และได้รับประกาศนียบัตรพิเศษของยูเนสโก(วิธีสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์) โรงเรียนบรรณารักษศาสตร   ชีวิตครอบครัว           นางสาวแม้นมาส  ลีละหุต สมรสกับ นายชาย ชวลิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ ระหว่างเดินทางไปศึกษาในระดับปริญญาโท ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจดทะเบียนสมรส ณ เมืองแอนอาเบอร์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา มีบุตรธิดา รวม ๓ คน คือ           ๑. นางดารกา ชวลิต วงศ์ศิริ           ๒. นางสิริมา ชวลิต บลอม           ๓. นายตติย์ ชวลิต  นางแม้นมาส และนายชาย ชวลิต ขณะเดินทางไปศึกษาต่อ ณ สหรัฐอเมริกา   การทำงาน           เริ่มทำงานเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนภาษาอังกฤษในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ ๑ ปี จากนั้นจึงลาออกไปทำงานหนังสือพิมพ์ประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นิกรรายวัน (พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๔๙๒) ต่อมาได้เข้ารับราชการที่กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้           พ.ศ. ๒๔๙๒ เริ่มรับราชการชั้นตรี ตำแหน่งครูประจำการกรมวิสามัญศึกษา (ปัจจุบันคือกรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติงานในกองการศึกษาผู้ใหญ่           พ.ศ. ๒๔๙๗ โอนไปรับราชการในกรมสามัญศึกษา (เดิม) ตำแหน่งประจำแผนกการศึกษาประชาชน กองการ ศึกษาผู้ใหญ่           พ.ศ. ๒๔๙๘ ศึกษานิเทศก์โท ฝ่ายห้องสมุด กองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา           พ.ศ. ๒๕๐๓ โอนไปรับราชการ กรมวิชาการ ตำแหน่งหัวหน้าแผนกอุปกรณ์ กองอุปกรณ์การศึกษาปฏิบัติงานในห้องสมุดกระทรวงศึกษาธิการด้วย           พ.ศ. ๒๕๐๕ วิทยากรเอก กรมวิชาการ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับหนังสือเรียน ห้องสมุดกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์วัสดุการศึกษา และห้องสมุดศาลาวันเด็ก           พ.ศ. ๒๕๐๗ โอนไปรับราชการกรมศิลปากร ตำแหน่งบรรณารักษ์เอก กองหอสมุดแห่งชาติ   บัตรข้าราชการ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร           พ.ศ. ๒๕๑๒ หัวหน้ากองหอสมุดแห่งชาติ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๑๒ รักษาราชการแทน อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเดินทางไปราชการต่างประเทศ และในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๒ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองหอสมุดแห่งชาติ           พ.ศ. ๒๕๑๙ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปีเดียวกันนี้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ          พ.ศ. ๒๕๒๐ ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมศิลปากร รับผิดชอบงานบริหารและดูแลงานด้านห้องสมุด ด้านจดหมายเหตุ และด้านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ           ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงาน ณ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือแห่งเอเชียและแปซิฟิค ณ เมืองการาจี ประเทศปากีสถาน รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาหนังสือ ฝึกอบรมการสร้างและพัฒนาหนังสือ ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลากว่า ๕ ปี           ๓๐ กันยายน ๒๕๒๕ เกษียณอายุราชการ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ร่วมประชุมของยูเนสโก เรื่อง “ห้องสมุดประชาชนในเอเชีย” ณ กรุงเดลีขณะดำรงตำแหน่งประจำแผนกการศึกษาประชาชน กองการศึกษาผู้ใหญ่ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือในเอเชียและแปซิฟิกของยูเนสโกได้รับเชิญจากคณะกรรมการของแคว้นไฮเดอราบัด ปากีสถานให้ประกอบพิธีสวมยอดเครื่องประดับแสดงคารวะแก่กวีผู้ยิ่งใหญ่ของรัฐที่ล่วงลับไปแล้ว ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ขณะปฏิบัติหน้าที่ ณ ประเทศปากีสถาน   รางวัลและเกียรติคุณ           พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย           พ.ศ. ๒๕๒๙ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน           พ.ศ. ๒๕๓๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า จตุตถจุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑           พ.ศ. ๒๕๓๗ กิตติเมธีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช           พ.ศ. ๒๕๓๘ ศิษย์เก่าอักษรศาสตร์ดีเด่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นิสิตรุ่นที่ ๘ (๒๔๘๒ - ๒๔๘๕) รับโล่จากคณบดี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะศิษย์เก่าอักษรศาสตร์ดีเด่น           พ.ศ. ๒๕๔๑ บุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับโล่เชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี             พ.ศ. ๒๕๔๖ รางวัลนราธิป เป็นรางวัลที่มอบให้นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ กวี นักแปล และบรรณาธิการอาวุโส ที่สร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่อง           พ.ศ. ๒๕๕๐ รางวัลสุรินทราชา เพื่อเชิดชูเกียรตินักแปลจากผลงานเรื่อง ผจญทะเล และวิมานลอย ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ที่ปรึกษาสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยมอบโล่ “รางวัลสุรินทราชา” เนื่องในวันนักแปลและล่าม ครั้งที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๐ รางวัลศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ด้านการพัฒนาห้องสมุด ในโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคมมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับรางวัล “ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต” (ด้านการพัฒนาห้องสมุด) ประจำปี ๒๕๕๐ ตามโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม                     พ.ศ. ๒๕๕๑ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ           พ.ศ. ๒๕๖๕ รับรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ เนื่องใน “วันครู ๒๕๖๕” ครั้งที่ ๖๖ ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕   เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.)  ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก , https://th.wikipedia.org/wiki/ตติยจุลจอมเกล้า       บทบาทด้านบรรณารักษ์           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยวางรากฐานงานห้องสมุดในประเทศไทยให้ก้าวหน้า ทั้งยังมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ งานที่เกี่ยวกับการพัฒนาห้องสมุดในประเทศซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้แก่           ๑. การก่อตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย               คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิฟูลไบรท์ (Fulbright) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมมือกันจัดการฝึกอบรมทางบรรณารักษศาสตร์ระยะสั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ ผลจากการฝึกอบรมในครั้งนั้นก่อให้เกิด “ชมรมห้องสมุด” ขึ้น และเพื่อให้สถานภาพของชมรมห้องสมุดมีความมั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ขอจดทะเบียนเป็น “สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย” อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ มีศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นนายกสมาคมห้องสมุด ฯ คนแรก               ต่อมาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙   สำนักงานสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยยุคแรก สำนักงานสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในปัจจุบัน   ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต วิทยากรอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์โดยความช่วยเหลือจากมูลนิธิฟูลไบรท์ (Fulbright) ประเทศสหรัฐอเมริกา   ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตนำเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทอดพระเนตรร้านจำหน่ายหนังสือในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๑๐ ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ในฐานะนายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนำสมาชิกไปศึกษาดูงานห้องสมุด ในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗   ๒. การพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย   ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตตั้งแต่แรกเริ่มรับราชการได้ทำโครงการเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาห้องสมุดต่าง ๆ เป็นการวางระบบบริหารงานห้องสมุด การดำเนินงานทางเทคนิคการให้บริการ การออกแบบอาคาร ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในงานห้องสมุด ได้แก่    การวางระบบบริหารงานห้องสมุด การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน จัดจำแนกตำแหน่งและกำหนดหน้าที่ใน แต่ละตำแหน่ง กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการทำงานทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณา ผลการปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่ง รวมทั้งเป็นกรรมการกำหนดมาตรฐานห้องสมุดต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศ    การจัดทำมาตรฐานแบบครุภัณฑ์ห้องสมุด และการจัดวางผังห้องสมุดประชาชนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ระหว่างที่ปฏิบัติราชการในกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา    การพัฒนาห้องสมุดต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น การออกแบบห้องสมุดคุรุสภา ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และห้องสมุดโรงเรียนหลายแห่ง เช่น ห้องสมุดทดลองโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ห้องสมุดโรงเรียนตัวอย่าง เพื่อขยายบริการสู่ชุมชนที่บ้านดีลัง จังหวัดลพบุรี และห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาวัดสุตธรรมาราม จังหวัดนครนายก เป็นต้น ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ถวายรายงาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและมอบตู้หนังสือให้ชาวเขา ๕๙ ตู้ เนื่องในวันรัชดาภิเษก ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ถวายการแนะนำหนังสือและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ณ ห้องสมุดโรงเรียนพึ่งบารมี จังหวัดลพบุรี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์วิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร                 ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นผู้นำและสร้างความก้าวหน้าด้านบรรณารักษศาสตร์แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประกอบกับเป็นผู้ที่เสียสละ เอาใจใส่ ปรับปรุงสร้างสรรค์งานให้ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา นำความเจริญสู่วิชาชีพบรรณารักษ์โดยแท้จริง เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติและเป็นผู้สมควรแก่การยกย่องสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงเห็นสมควรมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณสืบไป   การประชุมจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต มอบของที่ระลึกแก่นักเรียนในวันยุวกวี ครั้งที่ ๘ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตเข้าร่วมประชุมสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด หรือ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐     บทบาทด้านการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยวางรากฐานวิชาชีพบรรณารักษ์ เป็นบุคคลแรกที่ได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านบรรณารักษศาสตร์ตามมาตรฐานสากลมาใช้ ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์นับว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นผู้มีคุณูปการต่อวิชาชีพบรรณารักษ์ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ดังนี้             ๑. การร่วมก่อตั้งและพัฒนาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ เพื่อชดเชยความขาดแคลนบุคลากรที่มีวุฒิทางวิชาชีพโดยร่วมจัดทำหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดสอนวิชานี้เป็นแห่งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ เริ่มด้วยหลักสูตรอนุปริญญา ต่อมาขยายเป็นหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และประกาศนียบัตรชั้นสูง โดยได้เข้าร่วมเป็นกรรมการจัดทำหลักสูตรทุกระดับของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มจัดทำหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ ชุดประกาศนียบัตรครู ชุดพิเศษทั้งระดับประโยคครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (พ.ป.)           ๒. เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่แรกเริ่มทั้งในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และปริญญาโท นานกว่า ๑๕ ปี ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น   บทบาทด้านหอสมุดแห่งชาติ          พ.ศ. ๒๕๐๔ หอสมุดแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวง ศึกษาธิการ ในระยะนั้นมีผู้มาใช้บริการหอสมุดแห่งชาติหนาแน่นจนสถานที่คับแคบ จึงมีการสร้างอาคารหอสมุด แห่งชาติหลังใหม่ ณ ท่าวาสุกรี โดยกรมศิลปากรมีนโยบายจะปรับปรุงโครงสร้างและขยายงานหอสมุดแห่งชาติเข้าสู่มาตรฐานสากล จึงแยกงานหอสมุดแห่งชาติออกจากกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ตั้งเป็นกองหอสมุดแห่งชาติ  โดยจัดหาทุนให้เจ้าหน้าที่เดินทางไปศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งขอโอนข้าราชการ  ที่มีความสามารถและประสบการณ์ด้านห้องสมุดจากหน่วยงานอื่น เพื่อทำหน้าที่ในการปรับปรุงและพัฒนากิจการ ของหอสมุดแห่งชาติให้บรรลุเป้าหมาย           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งวิทยากรเอกของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญและมีผลงานด้านกิจการห้องสมุด รับผิดชอบกิจการห้องสมุดของกระทรวง ศึกษาธิการ และเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานในแผนกเด็กห้องสมุดประชาชนคาร์เนกี เมืองพิตต์สเบิร์ก และแผนกวารสารหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยมิชิแกน นับเป็นประสบการณ์สำคัญที่สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาหอสมุดแห่งชาติได้เป็นอย่างดี ซึ่งภารกิจงานสำคัญที่ดำเนินงานระหว่างรับราชการที่กรมศิลปากร มีดังนี้           ๑. การก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติ           พ.ศ. ๒๕๐๗ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้โอน ย้ายมารับราชการที่กรมศิลปากร ในตำแหน่งบรรณารักษ์เอกกองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กรมศิลปากรกำลังก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติที่ท่าวาสุกรี โดยเป็นผู้บุกเบิกงานก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติ และเป็นผู้พิจารณากำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานในอาคารใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะงานตามแบบสากล ตลอดจนร่วมพิจารณาออกแบบครุภัณฑ์ และเครื่องใช้ รวมทั้งกำหนดตำแหน่งที่ตั้งร่วมกับกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร           ๒. การขนย้ายและการจัดห้องสมุด           พ.ศ. ๒๕๐๘ การก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติแล้วเสร็จ การขนย้ายหนังสือตัวพิมพ์ หนังสือตัวเขียน และตู้พระธรรม ตลอดจนการจัดห้องสมุดใหม่เป็นงานใหญ่และต้องการแผนปฏิบัติงานที่รัดกุม การดำเนินงานภายใต้การบริหารงานของศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เขตดุสิต เมื่อแรกสร้าง อาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยและเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙   ผู้ใช้บริการห้องอ่านหนังสือภายในหอสมุดแห่งชาติ   พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เขตดุสิต เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต กราบบังคมทูลอธิบายนิทรรศการพิเศษ ณ อาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี  เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐   สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน-ราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดนิทรรศการ “๑๐๐ ปี วันประสูติพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์” ณ หอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐              ๓. การพัฒนาคุณภาพบุคลากรหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติเป็นแหล่งวิทยาการสำคัญในการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศ มีการปรับปรุงและแบ่งส่วนราชการหอสมุดแห่งชาติใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพบุคลากร มีการจัดหาทุนและสนับสนุนให้ข้าราชการหอสมุดแห่งชาติได้รับการศึกษาระดับสูงขึ้นในระดับปริญญาโท รวมทั้งทุนฝึกอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ           ๔. การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในหอสมุดแห่งชาติ การริเริ่มโครงการจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยขอความร่วมมือจากองค์การยูเนสโกและสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในการขอสนับสนุนทุนในการศึกษาดูงาน และติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยวางระบบงานหอสมุดแห่งชาติ และการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยปฏิบัติงานบรรณานุกรมแห่งชาติ    ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ร่วมหารือกับ Mrs. Salman-El Madini ตัวแทนจาก UNESCO ปารีส ในเรื่องเกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖             ๕. การยกระดับงานหอสมุดแห่งชาติให้เข้าสู่มาตรฐานสากล นอกจากงานจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ  อันเป็นหน้าที่สำคัญของหอสมุดแห่งชาติ และเป็นการยกระดับกิจการของหอสมุดแห่งชาติให้ทัดเทียมกับห้องสมุดอื่นในด้านวิชาการแล้ว ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ยังเป็นผู้ริเริ่มนำกิจการของหอสมุดแห่งชาติออกสู่การสมาคมร่วมมือกับต่างประเทศ โดยได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศขึ้น ได้แก่            การริเริ่มให้มีการใช้เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serials Number – ISSN) ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (International Serials Data System – Southeast Asia Regional Center - ISDS-SEA) โดยได้ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียทั้ง ๕ ประเทศ ด้วยการสนับสนุนขององค์การยูเนสโก และองค์การการพัฒนาการวิจัยระหว่างชาติ (International Development Research Center) ของประเทศแคนาดา และยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลวารสารระดับภูมิภาค ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย และใช้พื้นของหอสมุดแห่งชาติเป็นที่ทำการ ทั้งนี้ได้มีการขอสนับสนุนทุนในการส่งเจ้าหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติไปศึกษาดูงานที่สำนักงานศูนย์ระหว่างชาติ ณ กรุงปารีส           การร่วมก่อตั้งโครงการศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (National Librarians and Documentation Center Consortium in Southeast Asia - NLDC SEA) ซึ่งโครงการนี้ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์เป็นหัวหน้าโครงการ           การริเริ่มก่อตั้งสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Congress of Southeast Asian Librarians - CONSAL) โดยร่วมมือกับบรรณารักษ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๗๐ (พ.ศ. ๒๕๑๓) เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการพัฒนาห้องสมุดและเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างบรรณารักษ์ของประเทศสมาชิกกว่า ๑๐ ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม พม่า กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย การจัดการประชุมกำหนดจัดขึ้นทุก ๆ ๓ ปี โดยมีประเทศสมาชิกหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการประชุม จำนวน ๓ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๒๑ ครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๓๖ และครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CONSAL) ครั้งที่ ๑๖เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค   ตัวแทนประเทศไทยรับมอบธงเพื่อรับมอบเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CONSAL) ครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ การส่งมอบธงและส่งต่อการเป็นเจ้าภาพแก่ประเทศเมียนมา ในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CONSAL)ครั้งที่ ๑๗ ณ ประเทศเมียนมา            การจัดอบรมบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติงาน เป็นการพัฒนาบุคลากรซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนหอสมุดแห่งชาติ มีการจัดอบรมบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อาทิ งานเทคนิคห้องสมุด การให้บริการสารสนเทศด้านวัฒนธรรม เป็นต้น โดยเชิญวิทยากรที่เป็นบรรณารักษ์ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศมาร่วมงานด้วย เป็นการยกฐานะหอสมุดแห่งชาติ ให้ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำทางวิชาการ           การเข้าร่วมประชุมสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด (International Federation of Library Associations and Institutions - IFLA) เป็นการเข้าร่วมประชุมด้านบรรณารักษศาสตร์ในระดับสากล ทำให้กิจการห้องสมุดของประเทศไทยเป็นที่รู้จักในนานาประเทศ ตลอดจนนำไปสู่ความร่วมมือในด้านวิชาการและด้านบริการระหว่างประเทศ ดร.เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยประธานในพิธีเปิดการอบรมบรรณารักษ์ในเอเชียอาคเนย์ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗           ๖. การขยายงานบริการหอสมุดแห่งชาติ           การได้รับบริจาคหนังสือและสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวของพระยาอนุมานราชธนจากทายาท และก่อตั้งเป็น “ห้องสมุดอนุมานราชธน” ณ อาคารหอสมุดแห่งชาติ ชั้น ๓ ตลอดจนการได้รับบริจาคหนังสือจากห้องสมุด ม.จ.สมัยเฉลิม กฤดากร ห้องสมุดหลวงดรุณกิจวิทูร ห้องสมุดพลเรือตรีแชน ปัจจุสานนท์ ห้องสมุดนายเฉลิม ยงบุญเกิดซึ่งล้วนเป็นหนังสือที่มีคุณค่าและหายาก อันเป็นการเสริมศักยภาพของหอสมุดแห่งชาติให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น           การริเริ่มงานโครงการ “ศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์” โดยรับบริจาคหนังสือและเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ จากทายาท คือ ท่านผู้หญิงวิวรรณ วรวรรณ เศรษฐบุตร โครงการนี้ตั้งที่ทำการ ณ หอวชิราวุธ ซึ่งเป็นอาคารหอสมุดแห่งชาติหลังเดิม ณ ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ และมีพิธีเปิดให้บริการแก่ประชาชน เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ (ขณะนั้นศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้ปฏิบัติงานอยู่ต่างประเทศ)   สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒           การก่อสร้างหอพระสมุดวชิรญาณ (อาคาร ๒) ท่าวาสุกรี เขตดุสิต เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลาจารึกและตู้ไทยโบราณที่ย้ายมาจากหอพระสมุดวชิราวุธ มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก ทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ปัจจุบันใช้พื้นที่นี้สร้างอาคาร ๕ ชั้น ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ อาคารหอพระสมุดวชิรญาณ ท่าวาสุกรี สถานที่เก็บรักษาศิลาจารึกและตู้ไทยโบราณ             การสร้างห้องพระมงกุฎเกล้า ฯ ตั้งอยู่ชั้น ๓ ของอาคารหอสมุดแห่งชาติ ใช้เป็นที่เก็บหนังสือส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนหนังสืออื่น ๆ ที่มีคุณค่าและหายาก ต่อมาขยายงานเป็นหอวชิราวุธานุสรณ์   สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดห้องสมุดพระมงกุฎเกล้า ฯ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ วันครบรอบ ๙๐ ปี แห่งพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว       ผลงานประพันธ์และการแปลหนังสือ           ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เริ่มเขียนหนังสือมาตั้งแต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ โดยใช้ทั้งชื่อจริงและนามปากกา “รอย โรจนานนท์” “กันย์” “โรจนากร” “ม. ลีละหุต” และ “มนัสนันท์” ผลงานด้านการเขียนประกอบด้วยหนังสือสำหรับเด็ก งานเขียนด้านพุทธศาสนา ด้านสารคดีและบันเทิงคดี นอกจากนี้ยังมีผลงานการแปลหนังสือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย โดยได้แปลหนังสือ สารคดี นวนิยาย หนังสือสำหรับเด็ก บทความในวารสารวิชาการจำนวนมาก           หนังสือสำหรับเด็ก เช่น แม่ไก่สีแดง กระต่ายแหย่เสือ เกียจคร้านเจ้าปัญญา ชาลีขี่ก้านกล้วย ตุ๊กตายอดรัก โสนน้อย หมาน้อยสิบตัว เป็นต้น ผลงานด้านการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก             หนังสือแปล เช่น “การขยายกิจการของห้องสมุดประชาชน แปลจาก Library extension work and publicity” “โรงเรียนในทุ่งกว้าง แปลจาก Prairie school” “วรรณกรรมชิ้นเอกของสหรัฐอเมริกา แปลจาก Great American short stories” “หนังสืออ่านเพิ่มเติมระดับมัธยมศึกษา เรื่อง แฮนส์คริสเตียน แอนเดอร์เสน แปลจาก Hans Christian Andersen” และ “วิมานลอย แปลจาก Gone with the wind” เป็นต้น ผลงานด้านการแปลหนังสือ             งานเขียนด้านพุทธศาสนา ได้แก่ ประทีปแห่งชมพูทวีป และพระพุทธประวัติ           ด้านสารคดีและบันเทิงคดี ได้แก่ คู่มือการใช้สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน แนวทางส่งเสริมการอ่าน ปกิณกะ: การอ่านหนังสือของเด็ก ปกิณกะ: การปฏิรูปห้องสมุด ยอดปรารถนา โรงเรียนของแม่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช: เอกสารมรดกไทย - เอกสารมรดกโลก           ผลงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศ ได้แก่ การระวังรักษาและซ่อมหนังสือ ประวัติหอสมุดแห่งชาติ วิชาบรรณารักษศาสตร์ และห้องสมุดโรงเรียน       งานเขียนด้านพุทธศาสนา งานเขียนด้านสารคดีและบันเทิงคดี     ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับพระราชทานรางวัลวรรณกรรมอาเซียน จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับเสด็จ ฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานนิทรรศการสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน   ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับพระราชทานรางวัลวรรณกรรมอาเซียน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับรางวัลการประกวดหนังสือ พุทธประวัติสำหรับเยาวชน ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐ จาก ม.ล. ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน       คุรุบูชา ทีฆายุวัฒนมงคล วาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕            คุณสมบัติแห่งทองผ่องพิลาส                ดั่งแม้นมาสปูชนีย์ศรีกรมศิลป์ วิสัยทัศน์วิสัยธรรมนำอาจิณ                            การุญรินมอบความรู้สู่สังคม คือผู้ใหญ่มีธรรมล้ำผู้ใหญ่                               วิถีไทยปณิธานประสานสม เกียรติยศงดงามนิยามนิยม                             บูชาชมกราบพระคุณอุ่นอารี            ประชุมเชิญประเมินมิ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์          จตุรพิธพรภิรมย์อุดมดิถี มหาฤกษ์มหาไชยวลัยวลี                                บวงบายศรีเจิมขวัญมั่นมงคล ๑๕ กันยมาสครบคำรบล้ำ                              มาลัยคำนำพิพัฒน์สวัสดิผล ทีฆายุบรรลุล้วนประมวลพิมล                          ไพบูลย์ชนม์จิรังร้อยนิรันดร ลาภยศสุขสรรเสริญเจริญยิ่ง                            ประสงค์สิ่งประสิทธิ์สรรพ์สโมสร พรแผ่นดินแผ่นฟ้าคุณากร                              สถาพรทุกทิวาราตรีเทอญฯ นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ (ภาษาและวรรณกรรม) กรมศิลปากร ประพันธ์      


คำถามที่พบบ่อย / FAQ สำนักหอสมุดแห่งชาติเปิดให้บริการ และปิดบริการกี่โมง ?         สำนักหอสมุดแห่งชาติ        วันจันทร์ - ศุกร์  เวลา 09.00 - 18.30 น.        วันเสาร์ - อาทิตย์  เวลา 09.00 - 17.00 น.        ปิดบริการ วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี         NLT Smart Library        วันจันทร์ - ศุกร์  เวลา 07.00 - 18.30 น.        วันเสาร์ - อาทิตย์  เวลา 09.00 - 17.00 น.        วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี  เวลา 09.00 - 17.00 น.        ปิดบริการ เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลปีใหม่  วิธีการสมัครสมาชิกหอสมุดแห่งชาติ ใช้อะไรบ้าง ?         ประชาชนทุกท่านสามารถลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกหอสมุดแห่งชาติด้วย "บัตรประชาชน" เพียงใบเดียว ผ่านตู้ลงทะเบียนอัตโนมัติบริเวณทางเข้าหอสมุด        ดูวิธีการลงทะเบียนเพิ่มเติม ที่นี่ สามารถยืมหนังสือกลับบ้านได้ไหม ?         ไม่ได้ เนื่องจากสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็นแหล่งรวบรวมและจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550        สำหรับให้บริการแก่ประชาชนทุกท่าน และเพื่อป้องกันการสูญหายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ทางหอสมุดจึงมีมาตรการไม่ให้ผู้ใช้บริการยืมหนังสือออกไปภายนอกหอสมุด  มีให้บริการถ่ายเอกสารหรือไม่ ?         มีร้านเอกชนให้บริการถ่ายเอกสาร อยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 2 (ด้านหน้าห้องบริการวิทยานิพนธ์ฯ)         การขอเลข ISBN ISSN หรือ จดแจ้งการพิมพ์ จะต้องทำอย่างไร ?         โปรดอ่านรายละเอียด ที่นี่  หากต้องการบริจาคหนังสือให้หอสมุดต้องทำอย่างไร ?         โปรดอ่านรายละเอียด ที่นี่  หากต้องการแนะนำหนังสือเข้าหอสมุด เพื่อให้หอสมุดจัดซื้อต้องทำอย่างไร ?         โปรดกรอกข้อมูลแนะนำเสนอซื้อหนังสือเข้าหอสมุดแห่งชาติ ที่นี่  การแต่งกายมาหอสมุดแห่งชาติ         ผู้ใช้บริการสามารถแต่งกายด้วยชุดลำลองสุภาพตามความเหมาะสม  สามารถนำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้ามารับประทานในหอสมุดแห่งชาติได้หรือไม่ ?         ผู้ใช้บริการสามารถนำอาหารเข้ามารับประทานได้เฉพาะบริเวณที่หอสมุดจัดไว้ให้เท่านั้น (บริเวณโถงอาคาร 2 ชั้น 1) และเครื่องดื่มที่มีฝาปิดมิดชิดป้องกันการหกและไม่ส่งกลิ่นรบกวนผู้ใช้บริการท่านอื่นสามารถนำเข้ามาได้              วิธีการเดินทางมาหอสมุดแห่งชาติ           การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขสมก สาย 3, 9, 16, 30, 32, 33, 49, 64, 65, 110, ปอ.505       การเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ลงสถานีราชเทวี จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 23, 72ลงสถานีสะพานควาย จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 3       การเดินทางโดยรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) ลงสถานีบางซื่อ จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 65ลงสถานีเตาปูน จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 16, 30, ปอ.505ลงสถานีบางโพ จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 64ลงสถานีหัวลำโพง จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 49ลงสถานีสนามไชย จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 3, 9       การเดินทางโดยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ลงสถานีพญาไท จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 72       การเดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา มีท่าเรือใกล้กับหอสมุดคือ ท่าเทเวศน์ มีเรือโดยสารธงส้ม ธงเหลือง ธงเขียว       การเดินทางโดยเรือโดยสารคลองแสนแสบ สามารถลงท่าตลาดโบ๊เบ๊ จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 49, 53        ต้องการสืบค้นหนังสือในหอสมุดต้องทำอย่างไร ?         เริ่มต้นค้นหาผ่านเมนูการสืบค้น http://search.nlt.go.th/ หากต้องการเยี่ยมชม/ศึกษาดูงานสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็นหมู่คณะต้องทำอย่างไร ?         โปรดติดต่อกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ โทรศัพท์ 0 2280 9828 - 32 ต่อ 670 Fax. 0 2280 7543 Email: itech@nlt.go.th          และชมภาพการเยี่ยมชมหอสมุด ที่นี่  หากต้องการร้องเรียน เสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ในการใช้บริการสำนักหอสมุดแห่งชาติ         ท่านสามารถทำการร้องเรียนได้ ที่นี่


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี