หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตรัง

 
ประวัติ
      เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ เป็นมหามงคลสมัยที่สำคัญยิ่งอีกวาระหนึ่งในการจัดพระราชพิธีถวายชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติเพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย กรมศิลปากรโดยหอสมุดแห่งชาติในฐานะที่มีส่วนในการสนับสนุนส่งเสริมทางด้านการศึกษา จึงมีโครงการที่จะจัดสร้างถาวรวัตถุที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนซึ่งไม่มีสถานที่ใดจะเหมาะสมเท่ากับการจัดตั้งหอสมุดซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งความรู้ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมชองชาติ และด้วยการสนับสนุนของ นายชวน หลีกภัย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๐ ที่เห็นสมควรให้จัดตั้งหอสมุดแห่งชาติขึ้นที่จังหวัดตรัง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า ฯ พระราชทานพระราชานุญาตให้ชื่อว่า “หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง”
 
การให้บริการ (ชั้น ๑)
       ♦ ห้อง E-library ให้บริการเพื่อการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น รายการทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดดิจิทัล (D-Library) บริการหนังสือ วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสารสนเทศทางด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมเพื่อประชาชนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-service) คลังข้อมูลดิจิทัลทางมรดกศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากร เว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง ระบบบริการสารสนเทศ ๕ จังหวัด ชายฝั่งอันดามัน คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ด้วยคอมพิวเตอร์ระบบจอสัมผัส (Touch  Screen) และสื่อมัลติมีเดีย (multimedia) ทุกประเภท
   
                         
 
       ♦ ห้อง Study Room ให้บริการเพื่อการเรียนรู้ผ่านเครื่องแปลงสัญญาณ (สื่อโสตทัศน์) ใช้เป็นห้องติวภาษาอังกฤษ ประชุมกลุ่มย่อย ชมภาพยนตร์ การ์ตูน และให้บริการหนังสืออักษรเบรล์

 
 
       ♦ ห้องรักการอ่าน จัดแบ่งเป็นมุมให้บริการสารสนเทศออกเป็น ๒ ประเภท คือ มุมบริการวารสาร นิตยสารและหนังสือพิมพ์ รวมทั้งบริการจุลสาร กฤตภาค และมุมให้บริการหนังสือเด็กและเยาวชน (Kids Conner)
 
                                
 
การให้บริการ (ชั้น ๒)
       ♦ ห้องหนังสือทั่วไป ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไปหมวด ๐๐๐ – ๔๐๐
 
       ♦ ห้องหนังสือทั่วไป ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไปหมวด ๕๐๐ – ๙๐๐ และราชกิจจานุเบกษา
 
 
       ♦ ห้องศรีตรัง ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือท้องถิ่นภาคใต้
 
       ♦ ห้องมรดกภูมิปัญญา ให้บริการสารสนเทศประเภทเอกสารโบราณและสิ่งพิมพ์หายาก
                                                                         
 
       ♦ ห้องนวนิยาย ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือนวนิยาย เรื่องสั้น และวรรณกรรมสำหรับเยาวชน
                                                                             
 
การให้บริการ (ชั้น ๓)
       ♦ ห้องค้นคว้าและวิจัย ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ และผลงานวิจัย
 
       ♦ ห้องสิ่งพิมพ์ล่วงเวลา ให้บริการสารสนเทศประเภทวารสารและหนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลาแบบชั้นเปิด ติดต่อและขอใช้บริการได้โดยตรงที่บรรณารักษ์
การให้บริการอื่น ๆ
 
 
       ♦จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาให้หอสมุดแห่งชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดกิจกรรมในรูปแบบห้องสมุดเคลื่อนที่
 
       ♦จัดแสดงนิทรรศการตามวาระและโอกาสสำคัญต่าง ๆ และให้ร่วมมือแก่เครือข่ายในการนำไปจัดแสดงตามกิจกรรมของหน่วยงาน  
 
                                               

       ♦จัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรและหน่วยงานในจังหวัดตรัง
 
       ♦บริการนำชม
 

สถานที่ติดต่อ  : ๑๖๐/๒๑ ถนนหนองยวน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง  ๙๒๐๐๐    
เบอร์โทร  : ๐ ๗๕๒๑ ๕๔๕๐ , ๐ ๗๕๒๑ ๗๒๑๐    
โทรสาร  : ๐ ๗๕๒๑ ๕๔๕๐ 
วันเปิดบริการ  : อังคาร –เสาร์
วันปิดบริการ  : อาทิตย์ – จันทร์ ,วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศทางราชการ
Tags:


จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 12,834 คน
เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี