โครงการ/กิจกรรม

for w3c
ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมมอบหนังสือภาษาต่างประเทศ ให้แก่ห้องสมุดโรงเรียนฯ

วันที่ 9 – 11 กันยายน 2567 สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ ได้จัดกิจกรรมมอบหนังสือภาษาต่างประเทศ และหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรมไทยที่ได้จากการแลกเปลี่ยนระหว่างห้องสมุด/หน่วยงานราชการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้แก่ห้องสมุดโรงเรียนเพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ และเพิ่มพูนความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติให้แก่เด็กและเยาวชน ณ โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนราชวินิต มัธยม โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ โรงเรียนสายปัญญา ในพระราชินูปถัมภ์ และ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก Kids Inspiration ครั้งที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567

วันที่ 26 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30 - 12.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก Kids Inspiration ครั้งที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 ในหัวข้อ "ชวนคิด(ส์) ชวนฝัน : มหัศจรรย์โลกหนังสือ" โดยเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม เขตบางกอกน้อย โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้บริหารสำนักหอสมุดแห่งชาติ และบุคลากรหอสมุดแห่งชาติร่วมจัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมพระปิ่นเกล้า โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ    กิจกรรมประกอบไปด้วย 1) กิจกรรมขุมทรัพย์แห่งปัญญา เป็นการแนะนำหอสมุดแห่งชาติรวมถึงทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ที่มีให้บริการให้น้อง ๆ ได้รู้จัก รวมถึงมีการเล่นเกมตอบปัญหาออนไลน์ ชิงรางวัล 2) กิจกรรม NLT Board Game Club เป็นการแนะนำการเล่นบอร์ดเกมที่มีให้บริการ ณ หอสมุดแห่งชาติ ให้น้อง ๆ ได้ทดลองเล่น และ 3) กิจกรรม DIY My Inspiration #เข็มกลัดของฉัน เป็นกิจกรรมที่ให้น้อง ๆ ได้เลือกรูปภาพและระบายสีด้วยตนเอง จากนั้นนำมาประดิษฐ์เป็นเข็มกลัดซึ่งจะมี 1 เดียวในโลกเท่านั้น ทั้งนี้ได้รับความสนใจจากคณะครูและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมงาน "SG Expo 2024 : Shining & Sharing" ประจำปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ การสาธิตการจารใบลาน

วันที่ 23 สิงหาคม 2567 กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดย นางศิวพร เฉลิมศรี นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ นายวินัย เภาเสน นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณชำนาญการและนายนรวิชญ์ มีชัย นักภาษาโบราณ  ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมในงาน "SG Expo 2024 : Shining & Sharing" ประจำปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ การสาธิตการจารใบลาน ณ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 300 คน ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้การจารใบลาน อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาของไทยที่ต้องช่วยกันดูแลและอนุรักษ์ให้สืบต่อไป รวมทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนอีกด้วย

ภาพตัวอย่าง

โครงการเผยแพร่ความรู้ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2

วันที่ 22 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 การบรรยายเรื่อง "กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ กับมรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวัฒนธรรม" วิทยากรโดย รศ. ดร.ศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา   โดยมีนางสาวขนิษฐา โชติกวณิช รองอธิบดีกรมศิลปากร ท่านผู้หญิงวิวรรณ วรวรรณ เศรษฐบุตร สมาชิกราชสกุลวรวรรณ ผู้บริหารสำนักหอสมุดแห่งชาติ ข้าราชการกรมศิลปากร และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมฟังการบรรยาย ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ถนนหน้าพระธาตุ กรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติด้วย

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรม NLT Edutainment ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2

วันที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 กิจกรรม NLT Edutainment ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 การเสวนา เรื่อง “เล่าประสบการณ์...จากบรรณารักษ์สู่นักเขียน” โดยมีนางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสาตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร เป็นประธาน และมีนางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ กล่าวรายงาน ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ   กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมครั้งสุดท้าย ประจำปีงบประมาณ 2567 ในหัวข้อการเสวนาเรื่อง “เล่าประสบการณ์...จากบรรณารักษ์สู่นักเขียน” วิทยากรโดยนางสาวเก็จกาญจน์ คุ้มพวง นักเขียนเข้ารอบ 8 คนสุดท้าย รางวัลชมนาด ครั้งที่ 12 ประจำปี 2566 โดยมีนายสุวิชา โพธิ์คำ บรรณารักษ์ชำนาญการ เป็นผู้ดำเนินรายการ ทั้งนี้ มีข้าราชการกรมศิลปากร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าถึงการถ่ายทอดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติด้วย

ภาพตัวอย่าง

โครงการสัมมนาวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี 2567

วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 น. นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพีธีเปิดโครงการสัมมนาวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี 2567 ในหัวข้อ “ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน : A Learning Community to Sustainable Development in the Digital Age” โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ   โครงการดังกล่าวจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 โดยแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) การบรรยายให้ความรู้ทางวิชาการในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และเรื่องที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ และ 2) การประกวดนำเสนอผลงานวิชาการประเภทบรรยาย  สำหรับในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ซึ่งเป็นวันแรกของโครงการ ได้รับความกรุณาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่   1.  การบรรยาย เรื่อง Learning Community in the Digital Age: How libraries can encourage the development of the digital community and citizen วิทยากรโดย Professor Dr.Sam Gyun Oh Distinguished Professor for Global Affairs, Sungkyunkwan University, Korea   2. การบรรยาย เรื่อง คลังสารสนเทศดิจิทัลเพื่อความยั่งยืนของชาติ วิทยากรโดย ดร.มารุต บูรณรัช นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และดร.ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด สำนักหอสมุดแห่งชาติ   3. การบรรยาย เรื่อง พัฒนาห้องสมุดอย่างไรให้ตอบโจทย์สังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล วิทยากรโดย นายโสภณ สุดเอียด ผู้อำนวยการส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้ สำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร นางเพ็ญศิริ ชินะวงศา บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้ สำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร และนายพิเชษฐ์ ปฤษณารุณ บรรณารักษ์ชำนาญการ ส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้ สำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร   ทั้งนี้ มีบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติ บรรณารักษ์ นักสารสนเทศ นักศึกษา รวมถึง ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีการเข้าร่วมจากบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติส่วนภูมิภาค ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting และมีการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติด้วย

ภาพตัวอย่าง

งาน “วาระครบรอบปีอุรังคธาตุมรดกชาติสู่มรดกโลก”

วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00-16.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดโครงการครบรอบ 1 ปี การขึ้นทะเบียน "คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ" เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก "วาระครบรอบปี อุรังคธาตุ มรดกชาติสู่มรดกโลก"  ณ ศาลาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้   1. เวลา 08.00 - 09.00 น. การแสดงขบวนนางรำบูชาองค์พระธาตุพนม เพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นทะเบียน “คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ” เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก โดยคณะครูและนักเรียนนาฏศิลป์ โรงเรียนธาตุพนม ณ ลานธรรมหน้าวัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร   2. เวลา 10.00 - 11.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ฉลองคัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก โดยพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ จำนวน 10 รูป ณ ศาลาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานฝ่ายฆาราวาส   3. เวลา 11.00 – 12.00 น. พิธีเปิดโครงการครบรอบ 1 ปี การขึ้นทะเบียน "คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ" เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก วาระครบรอบปี "อุรังคธาตุมรดกชาติสู่มรดกโลก"  โดยมีนายกัมปนาทจักรวาล วิเวศ ศรีพุทธา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวรายงาน และมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวเปิดโครงการ และเยี่ยมชมนิทรรศการอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) มรดกความทรงจำแห่งโลก ซึ่งจัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ, หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม, วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม, วัดศรีมงคล อำเภอท่าอุเทน, วัดศรีชมชื่น บ้านพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม, วัดพระธาตุเชิงชุม และมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ณ ชั้น 1 ศาลาเฉลิมพระเกียรติฯ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร   4. เวลา 13.00 - 16.00 น. การเสวนา เรื่อง “ความเชื่อ ความศรัทธา พุทธศาสนาในภาคอีสาน“ โดยวิทยากร นางสาวิตรี สุวรรณสถิต รองประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ราชันย์ นิลวรรณาภา สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมลาว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยลัยมหาสารคาม, นางสาวเอมอร เชาวน์สวน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ดำเนินรายการโดยนางสาวบุบผา ชูชาติ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ณ ศาลาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร   ทั้งนี้ มีพระภิกษุ สามเณร ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ณ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม   สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอขอบพระคุณหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมกันจัดโครงการดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ได้แก่ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, จังหวัดนครพนม, วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร, สำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดนครพนม, โรงเรียนธาตุพนม, สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดนครพนม สำนักศิลปากร ที่ 9 อุบลราชธานี และสถานีตำรวจภูธร อำเภอธาตุพนม  

ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 5

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 5 จังหวัดราชบุรี  และสมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 8 - 14 กรกฎาคม 2567 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก  ดำเนินโครงการสำรวจเอกสารโบราณ มีผู้ไปปฏิบัติงานตามโครงการจำนวน 5 รายดังนี้ 1. นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ (หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ)    2. นางรตนาภรณ์ สอาดโอษฐ์ นักภาษาโบราณชำนาญการ 3. นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณชำนาญการ 4. นายนรวิชญ์  มีชัย นักภาษาโบราณ 5. นายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์  คณะทำงานได้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสารโบราณประเภทจารึก คัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย  จำนวน 2 พื้นที่ ดังต่อไปนี้ 1. วัดเพชรสมุทรวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ได้สำรวจและทำทะเบียนเอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย ได้สำรวจเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย อักษรขอม อักษรมอญ  และอักษรไทย ภาษาไทย บาลี และมอญ มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ - คัมภีร์ใบลาน จำนวน  494 รายการ ลงทะเบียนได้ 50 เลขที่ จัดมัดได้  30 มัด - หนังสือสมุดไทย จำนวน  59 รายการ อ่านวิเคราะห์หมวดหมู่ได้ 8 หมวด    จัดเก็บคัมภีร์ใบลาน - ฉบับลานกระดาษ ตัวพิมพ์ จำนวน  445 รายการ - ฉบับลาน ตัวพิมพ์ จำนวน  1,286 รายการ โดยได้รับความเมตตาจาก พระสมุทรวชิรโสภณ เจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร พระอารามหลวง อนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงานภายในวัด และมอบหมายให้พระครูสมุทรวชิรานุวัฒน์ เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่คณะทำงาน และขอขอบคุณนางสาวอิสรีย์ นวกุลย์ชัย ผู้มีจิตศรัทธาภาคประชาชน เป็นผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจำปี 2563 และคณะได้บริจาคไม้ประกับคัมภีร์ใบลาน เพื่อการอนุรักษ์เอกสารโบราณ 2. วัดบางจะเกร็ง ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ได้สำรวจเอกสารโบราณประเภท คัมภีร์ใบลาน และได้กราบเรียนถึงแนวทางการทำทะเบียนเอกสารโบราณแด่ พระครูวินัยธรณรงค์ศักดิ์  ฐานิสฺสโร  เจ้าอาวาส  คณะทำงานขอกราบขอบพระคุณที่อนุญาตให้เข้าพบ  เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2567  การดำเนินงานครั้งนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี จึงขอขอบพระคุณและขอบคุณทุกท่านที่ได้เมตตาและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะท่านเจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทร และวัดบางจะเกร็ง ท่านอธิบดีกรมศิลปากร ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ และผู้บริหารตามสายงาน หวังว่าจะได้รับความเมตตาอนุเคราะห์ ในโอกาสต่อไป

ภาพตัวอย่าง

โครงการเผยแพร่ความรู้ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ฯ ประจำปี 2567 ครั้งที่ 1

วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 น. นางสาวขนิษฐา โชติกวณิช รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดการบรรยายเรื่อง "กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์กับละครร้อง" วิทยากรโดย ผศ. ดร.สุรัตน์ จงดา ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ถนนหน้าพระธาตุ กรุงเทพฯ ประกอบไปด้วย ข้าราชการกรมศิลปากร และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติด้วย

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรม : การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง "ด้วยพระปรีชาญาณนำประชาราษฎร์จากทาสสู่ไท"

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567) เวลา 13.00 - 16.00 น. กรมศิลปากร  โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดกิจกรรม : การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ด้วยพระปรีชาญาณนำประชาราษฎร์จากทาสสู่ไท เป็นกิจกรรมประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567 เรื่อง เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม โดยมี ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (นางรักชนก โคจรานนท์) เป็นประธาน และผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ (นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม) ให้การต้อนรับ วิทยากรประกอบด้วย นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ นางสาวฉัตรลดา สินธุสอน ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ ดำเนินรายการโดยนางสาวอุดมพร เข็มเฉลิมบรรณารักษ์ชำนาญการ ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังความรู้เกี่ยวกับเอกสารเรื่องการเตรียมการเลิกทาสและบ่อนเบี้ยในสมัย ร.5 เอกสารเกี่ยวกับการเลิกทาสที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก รวมทั้งการใช้พรบ.เลิกทาสในหัวเมืองล้านนา

ภาพตัวอย่าง

พิธีมอบเกียรติบัตรรับรองการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร

วันที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ และคณะผู้บริหารสำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมรับฟังการนำเสนอผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านบรรณารักษศาสตร์ ในการนี้นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ยังเป็นประธานมอบเกียรติบัตรรับรองการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแก่นักศึกษาสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 4 ราย ณ ห้องประชุม 2203 ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักหอสมุดแห่งชาติ

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ครั้งที่ 3 การบรรยายเรื่อง "พระราชโอรสในสมเด็จพระปิยมหาราช กับการศึกษา ณ ทวีปยุโรป"

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 13.30-16.30 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ครั้งที่ 3 การบรรยายเรื่อง "พระราชโอรสในสมเด็จพระปิยมหาราช กับการศึกษา ณ ทวีปยุโรป" วิทยากรโดย นายไพศาล เปี่ยมเมตตาวัฒน์ นักวิชาการอิสระ โดยมีนางสาวขนิษฐา โชติกวณิช รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสาตร์ ข้าราชการกรมศิลปากร และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมฟังการบรรยาย ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ถนนหน้าพระธาตุ กรุงเทพฯ  นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติด้วย

ภาพตัวอย่าง

โครงการบรรยาย-อภิปราย เนื่องในวันสุนทรภู่ ประจำปี 2567

วันที่ 25 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00-16.30 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดโครงการบรรยาย-อภิปราย เนื่องในวันสุนทรภู่ ประจำปี 2567 การเสวนาประกอบการแสดงเพลงทรงเครื่อง เรื่อง พระอภัยมณี ตอน หนีนางผีเสื้อสมุทร โดยมีนางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิด และนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้กล่าวรายงาน การเสวนาประกอบการแสดงดังกล่าว ได้รับความกรุณาจาก รศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.บัวผัน สุพรรณยศ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปะและ วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้ดำเนินรายการโดย อาจารย์เก๋ แดงสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชา ภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ทั้งนี้มีข้าราชการกรมศิลปากร นักเรียน นักศึกษา รวมถึง ประชาชนทั่วไปสนใจเข้าร่วมโครงการ ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ



เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี