โครงการ/กิจกรรม

for w3c
ภาพตัวอย่าง

โครงการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของบุคลากรหอสมุดแห่งชาติ 2567

วันที่ 4 เมษายน 2567 นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของบุคลากรหอสมุดแห่งชาติ ตามนโยบาย Soft Power โดยมีกำหนดจัดโครงการระหว่างวันที่ 4 - 5 เมษายน 2567 โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน ณ โรงแรมไมด้า เดอ ซี หัวหิน (MIDA DE SEA HUA HIN) จังหวัดเพชรบุรี    โครงการพัฒนาบุคลากรฯ ในครั้งนี้ ได้รับความกรุณาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายชัยวุฒิ สีทา (นักวิชาการอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และนางสาวภัทร์ทรานิษฐ์ กระจ่างวงศ์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีจากองค์กรมหาชน)   ผู้เข้าร่วมโครงการได้แก่ บรรณารักษ์ นักภาษาโบราณ รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุนทุกวิชาชีพจากหอสมุดแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 100 คน

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้สูงอายุ ประจำปี 2567

วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 13.00 น. นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้สูงอายุ ประจำปี 2567 “สุขกายสูงวัย สุขใจบ้านบางแค” โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์พัฒนาการจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร   กิจกรรมประกอบด้วย 1) การบรรยายเรื่อง “การส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้สูงอายุ” วิทยากรโดย นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป (อ.ตุ๊บปอง)  กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก 2) การขับร้องและบรรเลงดนตรี โดยวง DIB Band จากสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ จ.นนทบุรี 3) การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง “การบริการของหอสมุดแห่งชาติ” วิทยากรโดยนางสาวอัมพิกา นันทิกาญจนะ บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และ 4) กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ “สร้างสรรค์เติมสี สร้างสุขสูงวัย”  วิทยากรโดยนางสาวฐิติมา คำคุณ บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ นางสาวกัญญ์วรา พุ่มโพธิ์ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ   ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ เจ้าหน้าที่ และผู้สูงอายุที่พักอยู่ ณ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค

ภาพตัวอย่าง

พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การซ่อมหนังสือชำรุด ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

วันที่ 31 มีนาคม 2567 นายพนมบุตร จันทรโชติ (อธิบดีกรมศิลปากร) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การซ่อมหนังสือชำรุด ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งเป็นกิจกรรมประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2567 เรื่อง เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม (ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ) กล่าวรายงาน   วิทยากรเป็นบุคลากรจากกลุ่มงานสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุดแห่งชาติ มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน นอกจากนี้        อธิบดีกรมศิลปากร ยังได้มอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากรการบรรยายแบ่งกลุ่มนำชมนิทรรศการ เรื่องเอกสารล้ำค่าจารึกสยาม ได้แก่ นางรักชนก  โคจรานนท์ (ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม) นายวุฒินันท์ จินศิริวานิชย์ (มัณฑนากรชำนาญการพิเศษ) นายยุทธวรากร แสงอร่าม (ภัณฑารักษ์ชำนาญการ) นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน (บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ) นางสาวทิพวรรณ บุญส่งเจริญ (นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ) และนางสาวทรายทอง ทองเกษม (นักจดหมายเหตุชำนาญการ

ภาพตัวอย่าง

โครงการอบรมสัมมนาเรื่อง การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับห้องสมุด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)

  วันที่ 29 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ (ภาษา เอกสาร และหนังสือ) เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการอบรมสัมมนาเรื่อง การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับห้องสมุด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน   โครงการการอบรมสัมมนาในครั้งนี้ได้รับความกรุณาจากวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ได้แก่ นางสาวพนารัตน์ อินนา ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายและระเบียบ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาจารย์ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริยา ล้ำเลิศ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรนุช เศวตรัตนเสถียร ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีนางสาวงามเพ็ญ ยาวงษ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินรายการ   ผู้เข้าร่วมโครงการ ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ  ได้แก่ บุคลากรหอสมุดแห่งชาติส่วนกลาง บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่หอสมุดจากสถานบันต่าง ๆ  และบุคลากรหอสมุดแห่งชาติส่วนภูมิภาครับชมผ่านโปรแกรม Zoom meeting รวมถึงผู้สนใจรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ

ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 2

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 2 จังหวัดอุดรธานี และนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 14-23 มีนาคม 2567 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินโครงการสำรวจเอกสารโบราณ มีผู้ไปปฏิบัติงานตามโครงการจำนวน 6 ราย ดังนี้ 1. นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ (หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ) 2. นายสันติ วงศ์จรูญลักษณ์ นักภาษาโบราณชำนาญการ 3. นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณชำนาญการ 4. นายนรวิชญ์ มีชัย นักภาษาโบราณ 5. นางสาวกุลริศา รัชตะวุฒิ นักภาษาโบราณ (หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ จังหวัดนครราชสีมา) 6. นายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์ คณะทำงานเข้าไปปฏิบัติงาน จำนวน 2 พื้นที่ ดังนี้ 1. วัดป่าดงหนองตาล (โนนตูมสราราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้รับความเมตตาจากพระอธิการพิศนุ สนฺตมโน เจ้าอาวาส อนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงาน และมอบหมายให้พระมานะ อชฺชริโย และนายรัฐสิทธิ์ ชุมแสง คอยอำนวยความสะดวกแก่คณะทำงาน ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.ชัชพิสิฐ ปาชะนี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่กรุณาช่วยอ่านชื่อคัมภีร์ใบลานภาษาเขมร ผลการดำเนินการลงทะเบียนและจัดเก็บเอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน อักษรไทยน้อย และอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย บาลี และเขมร อ่านและลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว - คัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ขนาดยาว จำนวน 573 รายการ จัดกลุ่มลงทะเบียนได้ 66 เลขที่ จัดมัดได้ 35 มัด - จารึกฐานพระพุทธรูป จำนวน 3 รายการ อ่านชื่อเรื่องแล้ว รอการลงทะเบียน - คัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ขนาดสั้น จำนวน 350 รายการ รออ่านชื่อเรื่องและทำทะเบียน - คัมภีร์ใบลาน จำนวน 200 รายการ - หนังสือสมุดไทย จำนวน 10 รายการ - จารึกฐานพระพุทธรูป จำนวน 16 รายการ 2. วัดบึง (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ปฏิบัติงานสำรวจและจัดเก็บเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน (ต่อเนื่องครั้งที่ 6) โดยได้รับความเมตตาจาก พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าอาวาส อนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงานภายในวัด และมอบหมายให้นายไพฑูรย์ คงจันทร์ ไวยาวัจกร เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่คณะทำงาน และขอขอบพระคุณ นางสาวอิสรีย์ นวกุลย์ชัย ผู้มีจิตศรัทธาภาคประชาชน เป็นผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจำปี 2563 และคณะได้บริจาคผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน และไม้ประกับ เพื่อการอนุรักษ์เอกสารโบราณ ให้วัดบึง (พระอารามหลวง) จังหวัดนครราชสีมา ผลการดำเนินงาน - จัดเก็บคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร แตกผูก จำนวน 18 ห่อ การดำเนินการสำเร็จลงได้ด้วยดี จึงขอขอบพระคุณและขอบคุณทุกท่านที่ได้เมตตาและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพระเทพสีมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบึง จังหวัดนครราชสีมา พระอธิการพิศนุ สนฺตมโน เจ้าอาวาสวัดป่าดงหนองตาล จังหวัดอุดรธานี ท่านอธิบดีกรมศิลปากร ท่านผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 จังหวัดนครราชสีมา ท่านผู้บริหารตามสายงาน หวังว่าจะได้รับความเมตตาอนุเคราะห์ ในโอกาสต่อไป  

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ครั้งที่ 2

วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.30-16.30 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ครั้งที่ 2 การบรรยายเรื่อง "กนิษฐาธิราชนิพนธ์: ยลรัตนะในพระราชนิพนธ์ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" วิทยากรโดย รศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ถนนหน้าพระธาตุ กรุงเทพฯ ประกอบไปด้วย นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติด้วย

ภาพตัวอย่าง

สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดย กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึกเปิดอบรมตามหลักสูตรจัดตั้งอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.)

วันที่ 18-19 มีนาคม 2567 สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดย กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ได้เปิดอบรมตามหลักสูตรจัดตั้งอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกับกรมศิลปากรเพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม โดยมีวิทยากรท่านผู้เชี่ยวชาญ นางสาวเอมอร เชาวน์สวน นายธนากร ธีรรุจิขจรเดช ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร นายมนัสชัย สว่างรัตน์ นิติกรชำนาญการ และนายวัฒนา พึ่งชื่น นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ บรรยายถวาย/ให้ความรู้แก่พระและอาสาสมัครรวม 7 รูป/คน ณ วัดราชประดิษฐฯ ทั้งนี้ได้รับความกรุณาจากพระวชิรธรรมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐฯอำนวยความสะดวกตลอดการอบรม 2 วัน อันเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างคณะสงฆ์ กรมศิลปากร และภาคส่วนประชาชน เพื่อสืบสานมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนต่อไป

ภาพตัวอย่าง

ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็นวิทยากรบรรยาย ณ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย

วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นางสาวเนาวรัตน์  ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง National Library of Thailand: To ensure equitable and inclusive access to library resources and services ในงานสัมมนานานาชาติสำหรับบรรณารักษ์ (International Seminar for Librarians) จัดโดย IFLA Section: Library Services to People with Special Needs สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ณ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย โดยมีวิทยากรจากประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ร่วมบรรยายให้ความรู้หัวข้อ Accessibility and inclusive of libraries ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริหารห้องสมุด บรรณารักษ์ นักสารสนเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ภาพตัวอย่าง

คณะผู้บริหารและบุคลากรจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ

วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น. คณะผู้บริหารและบุคลากรจากกลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 9 คน เข้าศึกษาดูงานการบริหารจัดการห้องหนังสือหายาก และกลุ่มงานผลิตโสตทัศนวัสดุ ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายการคัดเลือกหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ การบริหารจัดการตัวเล่มและไฟล์ข้อมูล กฎหมายลิขสิทธิ์ การจ้างงานสแกน และระบบคลังสารสนเทศดิจิทัลของหนังสือหายาก โดยมีนางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ และบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติ ให้การต้อนรับและนำชม

ภาพตัวอย่าง

โครงการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ประจำปี 2567 ในหัวข้อ “AI กับความท้าทายในงานห้องสมุด (Artificial intelligence in Libraries)”

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ประจำปี 2567 ในหัวข้อ “AI กับความท้าทายในงานห้องสมุด (Artificial intelligence in Libraries)”  โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงานกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม อนุกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ เหมืองสิน รองผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายโตมร ศุขปรีชา ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และนวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (OKMD) และนางสาวกนกวรรณ บัวงาม บรรณารักษ์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 80 คน และมีการถ่ายทอดสดผ่านทาง Zoom Meeting และ Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ

ภาพตัวอย่าง

โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตประจำปี ๒๕๖๗ เรื่อง "เอกสารโบราณ มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคดิจิทัล"

วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ นำโดย นายจุง  ดิบประโคน นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก และนางศิวพร เฉลิมศรี นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตประจำปี ๒๕๖๗ เรื่อง "เอกสารโบราณ มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคดิจิทัล" ณ  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี โดยได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา และอาจารย์ทางด้านบรรณารักษ์ เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๘๒ คน ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับเอกสารโบราณ  การใช้ฐานข้อมูลเอกสารโบราณ การสาธิตการจารใบลานและร่วมกิจกรรมเวิร์กชอปการจารใบลาน เป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องเอกสารโบราณและสืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมของไทยให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล

ภาพตัวอย่าง

โครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 “กิจกรรมทวีปัญญา” ประจำปี 2567 ครั้งที่ 1

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00-16.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 “กิจกรรมทวีปัญญา” ประจำปี 2567 ครั้งที่ 1 การเสวนา เรื่อง “ศิลปะการแสดงละครพูดในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยมีนางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็นประธานในพิธีเปิด และนางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นผู้กล่าวรายงานทั้งนี้ การเสวนาดังกล่าว ได้รับความกรุณาจากผศ.ดร.ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผศ.ดร.อาทรี วณิชตระกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำเนินรายการเสวนาโดยนายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ทั้งนี้มีข้าราชการกรมศิลปากร นักเรียน นักศึกษา รวมถึง ประชาชนทั่วไปสนใจเข้าร่วมโครงการ ณ ห้องศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติด้วย

ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1 จังหวัดตาก ลำพูนและเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13-22 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินงานโครงการสำรวจเอกสารโบราณ มีผู้ไปปฏิบัติงานตามโครงการจำนวน 5 ราย ดังนี้   1. นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ  2. นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ (หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ) 3. นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณชำนาญการ  4. นางสาวปุณยวีร์ ส่งเสริม  นักภาษาโบราณปฏิบัติการ  5. นายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์    คณะทำงานได้ดำเนินโครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประเภท จารึก ณ วัดหนองเงือก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ได้รับความเมตตาจากท่านพระอธิการวีระยุทธ ยุทฺธวีโร เจ้าอาวาส อนุญาตให้เข้าปฏิบัติงาน โดยมีดร.บุญสุ่ม อินกองงาม ประธานคณะกรรมการฝ่ายไวยาวัจกร   เป็นผู้ประสานงาน ให้คณะกรรมการของวัด หมุนเวียนมาคอยอำนวยความสะดวก  คณะทำงานได้ปฏิบัติงาน ดังนี้    1. สำรวจเอกสารโบราณ ประเภทจารึก ณ คะตึกหอธัมม์ วัดหนองเงือก ดำเนินการทำความสะอาดเบื้องต้น บันทึกข้อมูลทะเบียน บันทึกภาพ และอ่านคัดถ่ายถอด  จารึก ทั้งหมด 194 รายการ 2. สำรวจจารึก ณ อาคารพิพิธภัณฑ์บ้านหนองเงือก พบเอกสารโบราณประเภท  จารึก ไม้บัญชัก คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย กระดาษฝรั่ง และสมุดพับหัว  3. ขนย้ายเอกสารโบราณทั้งหมด จากอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านหนองเงือก มาไว้ในศาลาวัดหนองเงือก เนื่องจากมีปลวกขึ้น ทำให้อาคารไม่แข็งแรงและปลอดภัย 4. คัดแยกและนับจำนวนเอกสารโบราณ แต่ละประเภท  ที่รอการลงทะเบียน ได้ดังนี้      - คัมภีร์ใบลาน 450 มัด จำนวน 2,570 รายการ     - ไม้บัญชัก  จำนวน 207 รายการ     - หนังสือสมุดไทย จำนวน 37 เล่ม     - สมุดพับหัว จำนวน 25 เล่ม     - กระดาษฝรั่ง จำนวน 25 เล่ม   การดำเนินการ สำเร็จลงได้ด้วยดี จึงขอกราบขอบพระคุณและขอบคุณทุกท่านที่ได้เมตตาและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะท่านพระอธิการวีระยุทธ ยุทฺธวีโร เจ้าอาวาสวัดหนองเงือก ท่านอธิบดีกรมศิลปากร  ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ  ท่านผู้บริหารตามสายงาน หวังว่าจะได้รับความเมตตาให้ความอนุเคราะห์ ในโอกาสต่อไป



เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี