โครงการ/กิจกรรม

for w3c
ภาพตัวอย่าง

พิธีเปิดนิทรรศการเรื่อง "ตำนานสงกรานต์ สืบสานวัฒนธรรมไทยสี่ภาค"

สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดนิทรรศการเรื่อง "ตำนานสงกรานต์ สืบสานวัฒนธรรมไทยสี่ภาค" ระหว่างวันที่ 11 เมษายน –วันที่ 11 มิถุนายน 2565 ณ ห้องวชิรญาณ 2-3 อาคาร 2  สำนักหอสมุดแห่งชาติ นิทรรศการประกอบด้วย ตำนานสงกรานต์ ประวัตินางสงกรานต์หรือเทวีทั้งเจ็ด ประเพณีสงกรานต์สี่ภาค การละเล่น เพลงไทย อาหารและขนมไทยในวันสงกรานต์ โดยมี นางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ และอาจารย์เทิม มีเต็ม ผู้เชี่ยวชาญภาษาตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร พร้อมข้าราชการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมเปิดนิทรรศการและร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปตามประเพณีไทย

ภาพตัวอย่าง

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร: เทคนิคการเขียนผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งสำหรับบรรณารักษ์

วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 น. ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ (นางสาววาสนา งามดวงใจ) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร: เทคนิคการเขียนผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งสำหรับบรรณารักษ์ โดยมี ดร.ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด กล่าวรายงาน กิจกรรมในครั้งนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2565 ได้รับเกียรติจากนางศิริพร คล้ำงาม นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ กรมศิลปากร ผศ.ดร.เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ยุทธศาสตร์ แผน และเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และนางกาญจนา สุคนธมณี บรรณารักษ์เชี่ยวชาญพิเศษ (ข้าราชการบำนาญ) สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านโปรแกรม Zoom Meeting จำนวน 50 คน และเข้าร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 50 คน

ภาพตัวอย่าง

ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ และคณะกรรมการบริหารจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ให้การต้อนรับผู้แทน IFLA

วันที่ 28 มีนาคม 2565 เวลา 13.00 – 15.00 น. ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ (นางสาววาสนา งามดวงใจ) และคณะกรรมการบริหารจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ให้การต้อนรับผู้แทนจาก International Federation of Library Associations and Institutions (IFLA) ได้แก่  Dr.Premila Gamage สมาชิกของ the Regional Division Committee และ Dr. Basheerhamad Shadrach ณ ห้องประชุม 2203 สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยผู้แทนจาก IFLA เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของ IFLA การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ รวมไปถึงห้องสมุดต่างๆ ทั่วประเทศ ในการสร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกับ IFLA ภายใต้หลักการของ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) 17 ประการ ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN)

ภาพตัวอย่าง

ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในงาน 111 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร

ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในงาน 111 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร รับชมการถ่ายทอดสดการเสวนาวิชาการ เรื่อง หนังสือหายาก วิทยากรโดย นางสาวรัชนี ทรัพย์วิจิตร (ข้าราชการบำนาญ กรมศิลปากร) และนางอัจฉรา จารุวรรณ (บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ) ดำเนินรายการโดย นางสาวอัมพิกา นันทิกาญจนะ (บรรณารักษ์ชำนาญการ) ในวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2565 เวลา 13.00 – 14.00 น. ทาง Facebook live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Youtube live กรมศิลปากร เยี่ยมชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และของที่ระลึกจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ อาทิ ภาพชุดช้างมงคล ภาพชุดไกลบ้าน ภาพชุดเครื่องเรือนในพระราชวังดุสิต และสมุดโน้ตขุมทรัพย์แห่งปัญญา ที่เปิดขวดติดตู้เย็นรูปช้างมงคล ระหว่างวันที่ 25 – 27 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 3

  สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินงานโครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดนครสวรรค์ สุโขทัยและอุตรดิตถ์ ระหว่างวันที่ 15 -24 มีนาคม 2565 มีผู้ไปปฏิบัติงานตามโครงการจำนวน 4 รายดังนี้    1. นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ (หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ)       2. นายสันติ วงศ์จรูญลักษณ์ นักภาษาโบราณชำนาญการ    3. นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณปฏิบัติการ     4. นายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์  คณะทำงานได้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสารโบราณประเภทจารึก คัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย  จำนวน 4 พื้นที่ ดังต่อไปนี้ 1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ทำสำเนาจารึกวัดเสาหินราษฎร์บำรุง (สท.73) อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย  จำนวน 5 สำเนา มอบให้พช.รามคำแหง 1 สำเนา คณะทำงานขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ที่อนุญาตให้เข้าปฏิบัติงาน ผู้ติดต่อประสานงานและเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่อำนวยความสะดวกระหว่างปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 มีรายนามดังนี้    1) นางนฤมล เก่าเงิน ผู้อำนวยการพิพิธภัฑณสถานแห่งชาติรามคำแหง     2) นางสาวธนินทร นิธิอาชากุล ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ     3) นางพนาวัลย์ ไชยโย เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน     4) นายสิรวีย์ เอี่ยมสุดใจ นักวิชาการวัฒนธรรม  2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย  เพื่อสำรวจ ดูแลอนุรักษ์เบื้องต้น และทำทะเบียนคัมภีร์ใบลาน ทีอยู่ในความดูแล จากการสำรวจ  พบคัมภีร์ใบลานอักษรขอม อักษรขอมหวัด และอักษรไทย  ภาษาที่ใช้บันทึกมีทั้งภาษาไทยและบาลี จำนวน 218 รายการ ทำทะเบียนได้  46 เลขที่ จัดมัดได้ 16  มัด คณะทำงานขอขอบคุณหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ที่อนุญาตให้เข้าปฏิบัติงาน และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่มาช่วยปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม 2565 มีรายนาม ดังนี้    1) นางสาวสุกัญญา พงศ์เจริญศิริกุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ (หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก)    2) นางสาววัลวิภา สันต์สุขเสริม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ    3) นายศักดิ์ชัย  ศักดิ์ชัชวาล   เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน    4) นางสุวรรณ ลวดลาย เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน    5) นางสาวอนุรักษ์ ปิ่นทอง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์    6) นางสาวนันทพร มั่งมี พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์    7) นายวัชรพงษ์ แก้วแกมแข พนักงานขับรถยนต์ 3. วัดใหญ่ท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อสำรวจเอกสารโบราณเบื้องต้น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ตามหนังสือที่พระปลัดอนุชิต อธิปญฺโญ ผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์, เจ้าอาวาส  แจ้งขอความอนุเคราะห์  จากการสำรวจเบื้องต้น พบหนังสือสมุดไทย ประมาณ 30 รายการ   4. วัดม่อนปรางค์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ (งานต่อเนื่อง ครั้งที่ 3) ระหว่างวันที่ 19-24 มีนาคม เพื่อสำรวจและทำทะเบียนเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน  โดยนำมาอ่านชื่อเรื่อง คัดแยกเรื่อง ทำความสะอาดเบื้องต้น บันทึกข้อมูลทางทะเบียน มัดห่อและจัดเก็บ คณะทำงานบันทึกข้อมูลทะเบียนคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมอีสาน ภาษาไทยและบาลี  จำนวน  546 รายการ ลงทะเบียนได้ 95 เลขที่ จัดมัดได้ จำนวน 50 มัด คณะทำงานได้รับความเมตตาจาก พระสมุห์สมิง  คุณธมฺมโม เจ้าอาวาสวัดม่อนปรางค์ อนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงานภายในวัด การดำเนินงานครั้งนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี จึงขอขอบพระคุณและขอบคุณทุกท่านที่ได้เมตตาและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะท่านเจ้าอาวาสวัดม่อนปรางค์ ท่านเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสา  และท่านอธิบดีกรมศิลปากร ท่านผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ  ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก  และผู้บริหารตามสายงาน หวังว่าจะได้รับความเมตตาอนุเคราะห์ ในโอกาสต่อไป

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประจำปี 2565

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13.30-16.30 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2565 กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ การเสวนาเรื่อง "90 พรรษา พระพันปีหลวง ศรีศิลป์มรดกวัฒนธรรม" วิทยากรโดย ดร.สุรัตน์ จงดา ผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และ ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนา ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 84 คน และมีการเข้าถึงการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live จำนวนกว่า 700 ครั้ง

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรม "Kids Inspiration" ปีที่ 5 ครั้งที่ 2

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก Kids Inspiration ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2565 เรื่อง "น้ำอบ น้ำปรุง คลายร้อน ต้อนรับวันสงกรานต์" โดยการถ่ายทอดผ่าน Facebook, YouTube ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ กิจกรรมประกอบด้วยการสอนทำน้ำอบ น้ำปรุง ปลอดสารพิษ จากดอกไม้หอมนานาชนิด สมุนไพรและเครื่องเทศน์ไทย ได้แก่ แป้งร่ำ กำยาน ชะลูด จันทน์เทศ เทียนอบ ซึ่งน้ำอบ นำปรุงที่ทำนี้สามารถนำมาพรมร่างกายเพื่อเพิ่มความเย็น สดชื่น ช่วยให้เกิดความกระปรี้กระเปร่า และคลายร้อน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานมงคล สามารถใช้ถวายพระ ผสมน้ำพระพุทธมนต์ สรงน้ำพระ หรือใช้ผสมน้ำรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในเทศกาลวันสงกรานต์ นอกจากนี้แล้วยังมีการเล่านิทาน รวมถึงการแนะนำหนังสือเกี่ยวกับไม้ดอกหอมอีกด้วย ทั้งนี้มีผู้เข้าถึงการถ่ายทอดผ่าน Facebook, YouTube จำนวนกว่า 1,600 ครั้ง

ภาพตัวอย่าง

โครงการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์การบริการพิเศษ ISSN ISBN และการจดแจ้งการพิมพ์ ประจำปี 2565

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.30 น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์การบริการพิเศษ ISSN ISBN และการจดแจ้งการพิมพ์ ประจำปี 2565 โดยมีนางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน กิจกรรมในครั้งนี้กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2565 ได้รับเกียรติจากนางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร นางสาวพรยุภา นันทพรกรกุล นายวัศนันท์ พรประสิทธิ์ นางอรวรรณ เชาว์ประเสริฐ บรรณารักษ์ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ นายชัยพร อินทุวิศาลกุล เจ้าของ บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด รองศาสตราจารย์ ธีระศักดิ์ หมากผิน จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) นางวัญญา ประคำทอง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม นางธนิฏฐา โชติดิลก จากกองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และนางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ กรมศิลปากร เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านโปรแกรม Zoom Meeting จำนวน 100 คน และเข้าร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 45 คน

ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 จังหวัดลำปาง นครสวรรค์และอุตรดิตถ์ ระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2565 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินงานโครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2  เพื่อสำรวจและขึ้นทะเบียนเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน ณ วัดม่อนปรางค์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ (งานต่อเนื่อง ครั้งที่ 2)  มีผู้ไปปฏิบัติงานตามโครงการจำนวน 4 รายดังนี้ 1. นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ (หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ)    2. นายสันติ วงศ์จรูญลักษณ์ นักภาษาโบราณชำนาญการ 3. นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณปฏิบัติการ  4. นายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์  คณะทำงานได้รับความเมตตาจาก พระสมุห์สมิง  คุณธมฺมโม เจ้าอาวาสวัดม่อนปรางค์ อนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงานภายในวัด โดยปฏิบัติงานเป็น 2 ส่วน คือ 1. คัมภีร์ใบลานที่ได้จัดทำทะเบียนไว้แล้ว สำรวจและนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อมูลทะเบียนเดิม จำนวน 77 เลขที่ มีจำนวน 25 มัด 2. คัมภีร์ใบลานที่ยังไม่ได้ทำทะเบียน  นำมาอ่านชื่อเรื่อง คัดแยกเรื่อง ทำความสะอาดเบื้องต้น บันทึกข้อมูลทางทะเบียน มัดห่อและจัดเก็บ คัมภีร์ใบลาน จำนวน  607 ผูก ลง ทะเบียนได้ 111 เลขที่ จัดมัดได้ จำนวน 55 มัด  และคณะทำงานได้รับความกรุณาและความร่วมมือจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย  ในการติดต่อประสานงานกับวัดม่อนปรางค์ และมาร่วมปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2565 มีรายนามดังนี้ 1. นางสาวสุกัญญา พงศ์เจริญศิริกุล ตำแหน่งภัณฑารักษ์ชำนาญการ (หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก) 2. นางสาววัลวิภา สันต์สุขเสริม ตำแหน่งภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ 3. นางสุวรรณ ลวดลาย ตำแหน่งเจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน 4. นายวัชรพงษ์ แก้วแกมแข ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ทั้งนี้ การดำเนินการ สำเร็จลงได้ด้วยดี จึงขอขอบพระคุณและขอบคุณทุกท่านที่ได้เมตตาและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะท่านเจ้าอาวาสวัดม่อนปรางค์ และท่านอธิบดีกรมศิลปากร ท่านผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ท่านผู้บริหารตามสายงาน หวังว่าจะได้รับความเมตตาอนุเคราะห์ ในโอกาสต่อไป

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมการให้ความรู้ด้านดนตรี ครั้งที่ 1 การบรรยาย เรื่อง "โนรา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยสู่มรดกโลก"

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 14.30 น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการให้ความรู้ด้านดนตรี ครั้งที่ 1 การบรรยาย เรื่อง "โนรา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยสู่มรดกโลก" โดยมีนางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงานกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง ภาควิชาศิลปการการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา สำนักศิลปกรรม เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความ ทั้งยังมีการแสดงมโนราห์ จากชมรมมโนราห์ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดราชาธิวาสวิหาร กิจกรรมดังกล่าวมีผู้สนใจเข้าร่วม ณ ห้องจัดแสดง ชั้น 2 หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 50 คน และมีผู้เข้าร่วมผ่านช่องทางโปรแกรม Zoom Meeting จำนวน 100 คน รวมถึงยังมีการเข้าถึงการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live จำนวนกว่า 1,500 ครั้ง

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 การบรรยายหัวข้อ "ห้องสมุดกับการก้าวผ่านจาก New Normal สู่ Next Normal" โดยมีนางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน วิทยากรบรรยาย ได้แก่ นายเสกสันต์ พันธุ์บุญมี หัวหน้างานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยา สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านโปรแกรม Zoom Meeting จำนวน 250 คน และเข้าร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 50 คน

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมทวีปัญญา ประจำปี 2565 ครั้งที่ 1

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00 น. นางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจกรรมทวีปัญญา ประจำปี 2565 ครั้งที่ 1 การอภิปรายและการแสดงละครเบิกโรง เรื่อง พระคเณศร์เสียงา บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก และคณะโรจน์จรัสฤทธิ์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ประกอบการแสดงละครเบิกโรง ณ ห้องประชุมศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 73 คน และรับชมผ่านช่องทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 1,801 คน

ภาพตัวอย่าง

กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ได้รับบริจาคเอกสารโบราณจาก รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง ประธานหอพระไตรปิฎกนานาชาติ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึกได้รับบริจาคเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน จาก รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง ประธานหอพระไตรปิฎกนานาชาติ จำนวน 1,214 รายการ โดยมี นางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้รับมอบ คัมภีร์ใบลานส่วนใหญ่บันทึกด้วยอักษรขอม ภาษาบาลีและภาษาไทย ทั้งนี้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จะดำเนินการดูแลรักษา อนุรักษ์ ลงทะเบียน จัดเก็บตามหลักวิชาการ และให้บริการศึกษา ค้นคว้า แก่ประชาชนต่อไป

ภาพตัวอย่าง

พิธีเปิดนิทรรศการหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง “เยี่ยมเยือนเมืองสยาม ย้อนเวลาไปกับหนังสือหายาก”

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 น. นายกิตติพันธ์  พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง “เยี่ยมเยือนเมืองสยาม ย้อนเวลาไปกับหนังสือหายาก” ณ ห้องวชิรญาณ 2 - 3 อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติมีลักษณะไม่เหมือนกับหนังสือหายากทั่วไปหนังสือส่วนใหญ่เป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้พระราชทาน ประทาน และบริจาคให้หอพระสมุดวชิรญาณ รวมทั้งหนังสือที่หอพระสมุด วชิรญาณจัดพิมพ์และจัดหาให้บริการ ซี่งแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 “หนังสือหา (ไม่) ยาก” จัดแสดงเกี่ยวกับข้อมูลหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ คุณค่าและความสำคัญ ลักษณะหนังสือหายาก 12 ประเภท พร้อมตัวอย่างหนังสือประกอบ  ส่วนที่ 2 “เยี่ยมเยือนเมืองสยาม” เนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเมืองสยาม ประวัติความเป็นมาของการท่องเที่ยว รูปแบบการเดินทางท่องเที่ยว ประโยชน์ของการเที่ยว การเสด็จประพาสในรัชสมัยต่าง ๆ การท่องเที่ยวทั่วไทยโดยผ่านหนังสือหายากจัดแสดงหนังสือพร้อม ภาพการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวประกอบและส่วนที่ 3 “เพราะหนังสือจึงรังสรรค์” การนำหนังสือหายากมารังสรรค์และต่อยอด โดยนำไปพัฒนาจัดทำเป็นของที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ การพิมพ์หนังสือ (Reprint) ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ต้นฉบับและสืบทอดอายุหนังสือให้คงอยู่ต่อไป ผู้สนใจสามารถ เข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565

ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565

สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินงานโครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1 จังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 24-31 มกราคม 2565  เพื่อสำรวจและขึ้นทะเบียนจารึก ได้เรียนเชิญนางสาวยุวเรศ วุทธีรพล นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ เป็นที่ปรึกษาคณะทำงาน  โดยมีนางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ เป็นหัวหน้าคณะเดินทาง  นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณปฏิบัติการ นางสาวปุณยวีร์ ส่งเสริม  นักภาษาโบราณปฏิบัติการ และนายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์    คณะทำงานได้รับความเมตตาจาก พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย ที่อนุญาตให้คณะทำงานเข้าไปปฏิบัติงานภายในวัด  โดยมีนายนายณัฐพงษ์ แมตสอง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เป็นผู้ติดต่อประสานงานกับวัดพระธาตุหริภุญชัย  และได้มอบหมายให้นายทศพร ทองคำ  ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ  อำนวยความสะดวกแก่คณะทำงาน   และพระครูอมรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดบ้านหลุก มอบหมายให้พระทศพล นรินฺโท อำนวยความสะดวกแก่คณะทำงาน      คณะทำงานโดยได้ดำเนินการสำรวจ บันทึกข้อมูลทะเบียน บันทึกภาพ และอ่านคัดถ่ายถอด  จำนวน 2 แห่ง  รวมทั้งหมด  158 รายการ ดังนี้   1. วัดบ้านหลุก อ.เมือง จ.ลำพูน จำนวน 81 รายการ   2. วัดพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน จำนวน 77 รายการ    การดำเนินการ สำเร็จลงได้ด้วยดี จึงขอขอบพระคุณและขอบคุณทุกท่านที่ได้เมตตาและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะท่านเจ้าอาวาสทั้งสองวัดพร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง และท่านอธิบดีกรมศิลปากร ท่านผู้อำนวยการหอสมุดฯ ท่านผู้บริหารตามสายงาน หวังว่าจะได้รับความเมตตาอนุเคราะห์ ในโอกาสต่อไป

ภาพตัวอย่าง

โครงการพัฒนาบุคลากร : การจัดการกับปัญหาและความรู้ทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 10.30 น. หอสมุดแห่งชาติจัดโครงการพัฒนาบุคลากร : การจัดการกับปัญหาและความรู้ทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และนางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน สำหรับโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติได้รับความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและประยุกต์การแก้ปัญหาเพื่อให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งสามารถใช้ทักษะ ความรู้ ข้อมูลด้านบรรณารักษศาสตร์และด้านภาษาโบราณ เป็นแนวทางในการบริหารจัดการองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาตน พัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีกำหนดจัดถึงวันที่ 21 มกราคม 2565 โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมมีการจำกัดจำนวนบุคลากรสำนักหอสมุดแห่งชาติส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมกิจกรรม ณ โรงแรมไมด้า รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 50 คน และเข้าร่วมผ่านทาง Zoom Meeting จำนวน 65 คน



เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี