โครงการ/กิจกรรม

for w3c
ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 2

วันที่ 26มีนาคม สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินงานโครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 2 จังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี เพื่อสำรวจและทำทะเบียนเอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย ระหว่างวันที่ 18-26 มีนาคม 2564 นำโดย นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ นายสันติ วงศ์จรูญลักษณ์ นักภาษาโบราณชำนาญการ  นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณปฏิบัติการ  และนายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์ และได้ขอความอนุเคราะห์ นายพิศาล บุญผูก นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญภาษามอญ มาช่วยอ่านเออกสารโบราณภาษามอญ  และได้สำรวจ ดูแลรักษา ลงทะเบียน และจัดเก็บเอกสารโบราณ ตามหลักวิชาการ จำนวน 325 รายการ ดังนี้  1. คัมภีร์ใบลาน  จำนวน  303 รายการ แบ่งเป็น - อักษรมอญ  จำนวน 290 รายการ มี 98 เลขที่ จัดได้ 44 มัด -อักษรธรรมล้านนา  จำนวน 1 รายการ -อักษรธรรมอีสาน จำนวน  1 รายการ -อักษรไทย จำนวน  11 รายการ มี 6 เลขที่ จัดได้ 1 มัด 2. หนังสือสมุดไทย อักษรมอญ, ไทย  และขอม จำนวน 22 รายการ แบ่งเป็น 5 หมวด ดังนี้ -หมวดจดหมายเหตุ  จำนวน 2 รายการ -หมวดตำราโหราศาสตร์ จำนวน 1 รายการ -หมวดตำราเวชศาสตร์ จำนวน 6 รายการ -หมวดธรรมคดี จำนวน 12 รายการ -หมวดวรรณคดี จำนวน 1 รายการ   ทั้งนี้ คณะทำงานได้รับความเมตตาจาก พระครูสันตยาภิรัต เจ้าอาวาสวัดคงคาราม มาให้กำลังใจ และเมตตามอบหมายพระอนุวัตร สุจิตฺโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาส มาอำนวยความสะดวกให้แก่คณะทำงาน

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรม Kids Inspiration ปีที่ 4 ครั้งที่ 4

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10.00 – 12.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก (Kids Inspiration) ปีที่ 4 ครั้งที่ 4 (ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปี 2564) ในหัวข้อ "เด็กเล่าเรื่อง : นิทานของหนู" วิทยากรโดย รศ. กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ ณ ห้องหนังสือเด็กและเยาวชน อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักหอสมุดแห่งชาติ  กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน และมีผู้เข้าถึงการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live, YouTube Live และแอพพลิเคชัน VDO on Demand จำนวนกว่า 1,000 ครั้ง

ภาพตัวอย่าง

โครงการผลิตหนังสือวิชาการจากต้นฉบับตัวเขียน ปีงบประมาณ 2564

วันที่ 18 มีนาคม 2564 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินการถ่ายภาพประกอบหนังสือ " ตำนานพระแก่นจันทน์" ภายใต้โครงการผลิตหนังสือวิชาการจากต้นฉบับตัวเขียน ปีงบประมาณ 2564 ณ พระวิหารของวัดอุโปสถาราม ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดยเชิญ นายเทิม มีเต็ม ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานครั้งนี้ โดยได้ถ่ายภาพพระแก่นจันทน์ ตามลักษณะที่ปรากฎในเอกสารประเภทคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา อ่าน แปล และวิเคราะห์ข้อมูลโดย นายเทิม มีเต็ม ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร เนื้อหาเรื่องตำนานพระแก่นจันทร์สรุปได้ว่า "พระเจ้าปเสนทิโกศล สร้างพระพุทธรูปจากไม้จันทน์แดง เพื่อให้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เนื่องจากวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปยังป่าเชตวัน เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่ไม่พบ ดังนั้น วันต่อมาจึงเสด็จไปเข้าเฝ้าอีก ได้พบพระพุทธเจ้าและขอประทานอนุญาตสร้างพระพุทธรูปไว้กราบไหว้แทน พระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาต ในเวลาต่อมาพระพุทธเจ้าปรินิพพาน และพระเจ้าปเสนทิโกศลสวรรคต พระพุทธรูปแก่นจันทน์ ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ สถานที่ต่างๆ เพื่อให้เป็นที่สักการะของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ หลังจากนั้นก็ได้มีการสร้างพระพุทธรูปสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน" ทั้งนี้ พระครูอุเทศธรรมโฆษิต (สำเภา) เจ้าอาวาสวัดอุโปสถาราม ได้อำนวยความสะดวกแก่คณะทำงานเป็นอย่างดี

ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1

ระหว่างวันที่ 6-12 มี.ค. 2564 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินงานโครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1 จังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ เพื่อสำรวจและขึ้นทะเบียนจารึก โดยเรียนเชิญ นายเทิม มีเต็ม ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร เป็นที่ปรึกษา นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ (หัวหน้าคณะเดินทาง) นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล นักภาษาโบราณชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานทะเบียนและบริการ นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณปฏิบัติการ นางสาวปรัศนีภรณ์ พลายกำเหนิด นักภาษาโบราณ และนายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์ คณะทำงานได้รับความอนุเคราะห์จาก นายณัฐพงษ์ แมตสอง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ในการปฏิบัติงานทำทะเบียนจารึกภายในพิพิธภัณฑ์ และนายทศพร ทองคำ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ ติดต่อประสานงานขออนุญาต พระอธิการกษิดิศ สิริปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดธงสัจจะ ให้คณะทำงานไปบันทึกข้อมูลทะเบียน และทำสำเนาศิลาจารึก  โดยได้ดำเนินการสำรวจ ลงทะเบียน และทำสำเนาเอกสารโบราณ ประเภทจารึก จำนวน 3 แห่ง รวมทั้งหมด 145 รายการ ดังนี้ 1. วัดธงสัจจะ อ.เมือง จ.ลำพูน สำรวจ บันทึกข้อมูลทะเบียน และทำสำเนาศิลาจารึก จำนวน 1 รายการ 2. วัดบ้านหลุก อ.เมือง จ.ลำพูน สำรวจ บันทึกข้อมูลทะเบียน ถ่ายภาพ และอ่านคัดถ่ายถอด จำนวน 135 รายการ คณะทำงานได้รับความเมตตาจากพระครูอมรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาส มอบหมายให้พระทศพล นรินฺโท อำนวยความสะดวกแก่คณะทำงาน 3. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย อ.เมือง จ.ลำพูน บันทึกข้อมูลทะเบียน ถ่ายภาพ และอ่านคัดถ่ายถอดจารึก จำนวน 9 รายการ  

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เรื่อง พระพุทธศาสนากับความมั่นคงของชาติ

วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.30 น. รองอธิบดีกรมศิลปากร (นายพนมบุตร จันทรโชติ) เป็นประธานเปิดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2564 เรื่อง พระพุทธศาสนากับความมั่นคงของชาติ  วิทยากรโดย พระเมธีวรญาณ (พระสายเพชร วชิรเวที) ปธ.9 ผศ.ดร. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ รองคณบดี คณะพุทธศาสน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ (นางสุภาณี สุขอาบใจ) กล่าวรายงาน ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ อาคารถาวรวัตถุ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารดำรงราชานุภาพ จำนวน 56 คน และมีการเข้าถึงการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live, Youtube Live และแอปพลิเคชัน VDO on Demand จำนวนกว่า 1,000 ครั้ง

ภาพตัวอย่าง

พิธีเปิดนิทรรศการเรื่อง “หนังสือการ์ตูนไทยไฉไลกว่าที่คิด”

วันที่ 11 ก.พ. 2564 เวลา 13.30 น. อธิบดีกรมศิลปากร (นายประทีบ เพ็งตะโก) เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการเรื่อง “หนังสือการ์ตูนไทยไฉไลกว่าที่คิด” ณ ห้องวชิรญาณ 2  – 3 สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยมีรองอธิบดีกรมศิลปากร (นายพนมบุตร จันทรโชติ) กล่าวรายงาน นิทรรศการ เรื่อง “หนังสือการ์ตูนไทยไฉไลกว่าที่คิด” สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของหนังสือการ์ตูนไทยตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงยุคปัจจุบัน โดยการจัดแสดงต้นฉบับหนังสือการ์ตูนไทยที่จัดเก็บและให้บริการที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นการเผยแพร่และสร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของหนังสือการ์ตูนไทยที่เป็นทรัพยากรสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยจัดแสดงระหว่างวันที่ 11 กุมภาพันธ์ – 11 เมษายน 2564 (วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 16.30 น.) ณ ห้องวชิรญาณ 2 – 3 สำนักหอสมุดแห่งชาติ  

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการครั้งที่ 1 การบรรยายเรื่อง "ลิขสิทธิ์กับความท้าทายของห้องสมุดในยุคดิจิทัล"

วันที่ 21 ม.ค. 64 เวลา 09.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการครั้งที่ 1  (ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปี 2564) การถ่ายทอดสดบรรยายเรื่อง ลิขสิทธิ์กับความท้าทายของห้องสมุดในยุคดิจิทัล โดยมีอธิบดีกรมศิลปากร (นายประทีป เพ็งตะโก)  เป็นประธานเปิดกิจกรรม และรองอธิบดีกรมศิลปากร  (นายพนมบุตร จันทรโชติ) กล่าวรายงาน โดยกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live, Youtube Live และแอพพลิเคชัน VDO on Demand จำนวน 600 คน

ภาพตัวอย่าง

พิธีรับมอบหนังสือจากเอกอัคราชทูตสาธารณรัฐคาซัคสถาน ประจำประเทศไทย

วันที่ 30 ธันวาคม 2563  เวลา 14.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิธีรับมอบหนังสือจาก Ms. Ruashan Yesbulatova, เอกอัคราชทูตสาธารณรัฐคาซัคสถานประจำประเทศไทย เนื่องในวาระครบ 175 ปี ของนักเขียน  “Abai Qunanbayuly”  ณ  ห้องหนังสือนานาชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยอธิบดีกรมศิลปากร (นายประทีป เพ็งตะโก) เป็นประธานในพิธีรับมอบ ผู้เข้าร่วมงานได้แก่ เอกอัครราชทูต จากสาธารณรัฐคาซัคสถาน สาธารณรัฐมัลดีฟส์  สาธารณรัฐโคลัมเบีย  สาธารณรัฐอินเดีย  สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน พร้อมผู้แทนจากสถานทูตประเทศต่าง ๆ  ข้าราชการกรมศิลปากร สำนักหอสมุดแห่งชาติ รวม 25 คน



เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี