โครงการ/กิจกรรม

for w3c
ภาพตัวอย่าง

โครงการประชุมวิชาการหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี 2565

วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมวิชาการหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี 2565 โดยมีนางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน กิจกรรมในครั้งนี้กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 19 - 20 กรกฎาคม 2565 ได้รับเกียรติจากนางวิรยาร์ ชำนาญพล ผู้อำนวยการกลุ่มระบบสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร, นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช ผู้อำนวยการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park, ผศ.ดร.นคร เสรีรักษ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, นางสาวศิริลักษณ์ รุ่งเรืองกุลดิษฐ์ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา, นายสิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี นักวิชาการคลังข้อมูล ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ผศ.ดร.ภูริพันธุ์ รุจิขจร ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, และผู้ร่วมก่อตั้งบุญมีแล็บ ผศ.ดร.ทิพยา จินตโกวิท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรศ.นพ.สุพัชญ์ สีนะวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้  ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 80 คน ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting จำนวน 100 คน และเข้าถึงผ่าน Facebook Live จำนวน 3,028 คน

ภาพตัวอย่าง

อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ หอสมุดแห่งชาติ

วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14.30-16.30 น. อาจารย์และนักศึกษา หลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 19 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการให้บริการห้องสมุด ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่จะนำมาพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับนักศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ รวมถึงเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีในอาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

ภาพตัวอย่าง

โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย

วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น.กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย กิจกรรมกรมศิลป์ร่วมมือคณะสงฆ์ร่วมใจ อนุรักษ์ สืบสาน อ่านแปลใบลาน  ณ วัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยมีพิธีเปิดโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย กิจกรรม โดยอธิบดีกรมศิลปากร นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ ได้มอบให้ นางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ และนายทีปวัจน์ วัชรศิริอมร ผู้อำนวยการกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก กล่าวรายงาน รวมทั้งผู้บริหารสำนักหอสมุดแห่งชาติ เข้าร่วมในพิธีเปิด ทั้งนี้ เจ้าอาวาสวัดไก่เตี้ย พระครูวศินปริยัตยากร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นำสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย และกล่าวสัมโมทนียกถา และมีพระสงฆ์มหาเปรียญเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวจากวัดต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ วัดชนะสงคราม วัดสามพระยา วัดศาลาแดง และวัดอรุณราชวราราม จำนวน 5 รูป และมีประชาชนในชุมชนวัดไก่เตี้ย เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก Kids Inspiration ปีที่ 5 ครั้งที่ 4

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ถ่ายทอดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก Kids Inspiration ปีที่ 5 ครั้งที่ 4 (ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565) ในหัวข้อ "อิ่มบุญ อิ่มใจ ขนมไทยไปทำบุญ" ณ ห้องหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กิจกรรม ประกอบด้วย 1. การสอนทำขนมโคซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านทางภาคใต้ เพื่อนำไปทำบุญในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา วันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกให้รู้จักอดทนในการปั้นให้เสร็จ ผู้ปกครองทำร่วมกับเด็ก ๆ ไปด้วยเป็นสร้างกิจกรรมสัมพันธ์ในครอบครัว  สอนให้เด็กได้รู้จักชนิดของแป้งในการทำขนม และสอนเรื่องของสีจากการผสมสีกับแป้ง  2. การเล่านิทานจากบรรณารักษ์หอสมุดแห่งชาติ พร้อมแนะนำหนังสือนิทาน หนังสือเกี่ยวกับการทำขนมไทย กิจกรรมครั้งนี้มีการเข้าถึงการถ่ายทอด ผ่านทาง Facebook Live,  YouTube Live จำนวนกว่า 750 ครั้ง

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมเปิดตัวโครงการ "The Reader: เธอคือนักอ่าน"

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.45 น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร และผู้บริหารสำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมเปิดตัวโครงการ "The Reader: เธอคือนักอ่าน" ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ สำหรับ "The Reader: เธอคือนักอ่าน" เป็นโครงการที่หอสมุดแห่งชาติคัดเลือกหนังสือดี น่าอ่าน หลากหลายเรื่อง และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถยืมไปอ่านที่บ้านได้ โดยสามารถยืมได้คนละ 1 เล่มในระยะเวลา 1 เดือน ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถยืมหนังสือได้ 2 ช่องทาง คือ 1)เลือกและยืมหนังสือด้วยตนเองที่ NLT Smart Library 2) เลือกและยืมผ่านลิงก์ https://forms.gle/ubbS7tccTC9HLJUs5 โดยหอสมุดแห่งชาติจะจัดส่งหนังสือให้ถึงบ้านทางไปรษณีย์

ภาพตัวอย่าง

โครงการการประชุม เรื่อง ความร่วมมือการพัฒนาบริการ NLT Smart Library ระหว่างหอสมุดส่วนกลาง และหอสมุดแห่งชาติส่วนภูมิภาค

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการการประชุม เรื่อง  ความร่วมมือการพัฒนาบริการ NLT Smart Library ระหว่างหอสมุดส่วนกลาง และหอสมุดแห่งชาติส่วนภูมิภาค  มีนางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน ทั้งนี้ได้รับความกรุณาจากอธิบดีกรมศิลปากร บรรยายพิเศษ เรื่อง “หอสมุดแห่งชาติกับการบริการประชาชน SMART LIBRARY: มุมมองอธิบดีกรมศิลปากร” นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ขับเคลื่อน SMART LIBRARY ด้วยการออกแบบนวัตกรรมการบริการ” โดย นายวริทธิ ตีรประเสริฐ รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม  การประชุมดังกล่าวมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติส่วนกลางเข้าร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 30 คน และมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติส่วนภูมิภาคเข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting จำนวน 45 คน

ภาพตัวอย่าง

พิธีเปิดโครงการเครือข่ายสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ กิจกรรม : ฝึกอบรมความรู้เบื้องตัน "การดูแลรักษาหนังสือสมุดไทย"

วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเครือข่ายสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ กิจกรรม : ฝึกอบรมความรู้เบื้องตัน "การดูแลรักษาหนังสือสมุดไทย" มีนางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน กิจกรรมดังกล่าวเป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหนังสือสมุดไทย และการฝึกปฏิบัติการซ่่อมหนังสือสมุดไทยเบื้องต้น โดยได้รับความกรุณาจากวิทยากร ดังนี้ 1) นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ 2) นาย เทิม มีเต็ม ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาตะวันออก 3) นางลัดดาวัลย์ ทรัพย์สิน ข้าราชการบำนาญ กรมศิลปากร 4) นางสาวอุษา สาริกบุตร 5) นางสาววชิราภรณ์ เขียวเจริญ และ 6) นายณัฐกรณ์ พงศ์พันธุ์ ทั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ แบ่งเป็น พระภิกษุจำนวน 9 รูป บุคคลภายนอกจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 25 คน และยังมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting อีกจำนวน 55 คน

ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 5

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 256 5 ครั้งที่ 5 จังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 16-24 มิถุนายน 2565 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินโครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 5  มีผู้ไปปฏิบัติงานตามโครงการจำนวน 5 รายดังนี้ 1. นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ (หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ)    2. นายสันติ วงศ์จรูญลักษณ์ นักภาษาโบราณชำนาญการ 3. นางรตนาภรณ์ สอาดโอษฐ์  นักภาษาโบราณปฏิบัติการ  4. นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณปฏิบัติการ  5. นายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์  คณะทำงานเข้าไปปฏิบัติงาน จำนวน 3 พื้นที่ ดังนี้ ⊙ วัดป่าดงหนองตาล (โนนตูมสราราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ไปสำรวจเอกสารโบราณตามหนังสือที่พระอธิการพิศนุ สนฺตมโน เจ้าอาวาส  แจ้งขอความอนุเคราะห์  จากการสำรวจเบื้องต้นพบเอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลาน  อักษรธรรมอีสาน และอักษรไทยน้อย มีจำนวนประมาณ 150 รายการ ได้กราบเรียนถึงแนวทางการทำงาน และวางแผนการทำงานในปีต่อไป ⊙ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา อำเภอเมือง จ.นครราชสีมา  คณะทำงานนำส่งคัมภีร์ใบลาน ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึกลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จำนวน 199 เลขที่  โดยนางชลิตา อาภาทิพยานุกูล (บรรณารักษ์ชำนาญการ) รักษาการผู้อำนวยการ เป็นผู้รับมอบ และ นางสาวปรัศนีภรณ์ พลายกำเหนิด นักภาษาโบราณปฏิบัติการ มาตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน ⊙ วัดบึง (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  ปฏิบัติงานสำรวจและทำทะเบียนเอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย (ต่อเนื่องครั้งทึ่ 4) โดยได้รับความเมตตาจาก พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าอาวาส  อนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงานภายในวัด และมอบหมายให้นายไพฑูรย์ คงจันทร์ ไวยาวัจกร เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่คณะทำงาน คณะทำงานขอขอบพระคุณนางชลิตา อาภาทิพยานุกูล (บรรณารักษ์ชำนาญการ) รักษาการผู้อำนวยการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ที่ให้ความอนุเคราะห์บุคคลากรนางสาวปรัศนีภรณ์ พลายกำเหนิด นักภาษาโบราณปฏิบัติการ มาร่วมปฏิบัติงานกัยคณะทำงาน คณะทำงานขอขอบพระคุณนายสมชัย ฟักสุวรรณ์  ข้าราชการบำนาญ (นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ) ที่เมตตามาช่วยอ่านคัมภีร์ใบลานแตกผูกไม่มีชื่อเรื่อง เพื่อตั้งชื่อเรื่องและนำไปลงทะเบียน คณะทำงานขอขอบคุณนางรสสุคนธ์ ตั้งนภากร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา  ที่เสียสละเวลาหลังเลิกงาน มาช่วยห่อคัมภีร์ใบลาน และขอบขอบพระคุณนางสาวอิสรีย์ นวกุลย์ชัย ผู้มีจิตศรัทธาภาคประชาชน เป็นผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจำปี 2563 และคณะได้บริจาคผ้าห่อคัมภีร์ใบลานเพื่อการอนุรักษ์เอกสารโบราณ ให้วัดบึง(พระอารามหลวง) จังหวัดนครราชสีมา คณะทำงานได้สำรวจและทำทะเบียนเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน มีขั้นตอนดังนี้ 1. คัดแยกเอกสารตามลักษณะทางกายภาพ ดังนี้    - คัมภีร์ใบลานเส้นจาร ขนาดยาว    - คัมภีร์ใบลานเส้นจาร ขนาดสั้น    - คัมภีร์ใบลาน ไม่มีชื่อเรื่องหน้าปก    - คัมภีร์ใบลานเส้นชุบหมึก    - คัมภีร์ใบลานเส้นพิมพ์    - คัมภีร์ใบลานกระดาษ เส้นพิมพ์    - คัมภีร์ใบลานแตกผูก เป็นใบ ๆ ไม่สามารถนำเรื่องเดียวกันมารวมเป็นผูกได้    - คัมภีร์ใบลาน ที่มีเชื้อรา เมื่อคัดแยกหมดแล้ว นำคัมภีร์ใบลานเส้นจาร ขนาดยาว มาดำเนินการก่อนเป็นอันดับแรก และคัมภีร์ใบลานขนาดสั้นมาดำเนินการเป็นลำดับต่อไป โดยมีขั้นตอนดังนี้ 2. ปัดฝุ่น เปลี่ยนสายสนองที่ชำรุด  เสริมปกหน้า-หลังผูกที่ไม่มีปก 3. ทำความสะอาดเช็ดเชื้อราออกจากคัมภีร์ใบลาน 4. อ่าน-คัดแยกคัมภีร์ใบลานตามชื่อเรื่อง 5. อ่านเพื่อหาชื่อเรื่อง คัมภีร์ใบลานที่ไม่มีปกหน้าชื่อเรื่อง  6. จัดมัดคัมภีร์  โดยนำเรื่องเดียวกัน ฉบับเดียวกัน มาจัดเข้ามัดก่อน 7. ลงทะเบียนในแบบบันทึกข้อมูล ที่ละเรื่อง พร้อมทั้งให้เลขที่ 8. เขียนเลขที่ บนคัมภีร์ใบลานทุกผูก  9. ประทับตราของวัด บนคัมภีร์ใบลาน 10. ประทับตราของวัด บนไม้ประกับ 11. เขียนป้ายหน้ามัดของคัมภีร์ใบลาน 12. นำผ้าห่อที่ได้รับบริจาค มาห่อคัมภีร์ใบลาน 13. จัดเก็บ โดยเรียงตามเลขที สำรวจและทำทะเบียนเอกสารโบราณประเภท หนังสือสมุดไทย มีขั้นตอนดังนี้ 1. ทำความสะอาดเบื้องต้น ด้วยการปัดฝุ่น 2. อ่าน-วิเคราะห์เนื้อเรื่อง ตั้งชื่อเรื่อง จัดหมวดตามหลักวิชาการของกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก 3. ลงทะเบียนในแบบบันทึกข้อมูล ที่ละเล่มจนหมด 4. ให้เลขที่ ที่ละหมวด 5. เขียนป้ายเพื่อติดที่หน้าหนังสือสมุดไทย ใช้กาวเพื่อการอนุรักษ์ติดบนเล่มสมุด  และประทับตราของวัดบนป้าย 6. จัดมัดในแต่ละหมวด  7. เขียนป้ายหน้ามัด 8. ใช้เชือกมัดหนังสือสมุดไทย และใส่ป้ายหน้ามัดตามที่จัดไว้ 9. จัดเก็บ ตามหมวด และเรียงเลขที่ ผลการดำเนินการลงทะเบียนเอกสารโบราณ ของวัดบึง (พระอารามหลวง)  ⊙ คัมภีร์ใบลาน อักษรขอมไทย อักษรธรรมอีสาน อักษรมอญ และอักษรไทย ภาษาบาลี และภาษาไทย  จำนวน 681 รายการ จัดกลุ่มลงทะเบียนได้ 125 เลขที่  จัดมัดได้ 74 มัด ⊙ หนังสือสมุดไทย อักษรขอมไทย อักษรไทย ภาษาบาลี และภาษาไทย จำนวน 20 รายการ มีรายละเอียดตาม ดังนี้ -หมวดกฎหมาย 1 รายการ -หมวดจดหมายเหตุ 2 รายการ -หมวดตำราภาพ 1 รายการ -หมวดตำราเวชศาสตร์ 2 รายการ -หมวดธรรมคดี 9 รายการ  -หมวดวรรณคดี 2 รายการ -หมวดไสยศาสตร์ 3 รายการ การดำเนินการ สำเร็จลงได้ด้วยดี จึงขอขอบพระคุณและขอบคุณทุกท่านที่ได้เมตตาและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพระเทพสีมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบึง จังหวัดนครราชสีมา พระอธิการพิศนุ สนฺตมโน เจ้าอาวาสวัดป่าดงหนองตาล จังหวัดอุดรธานี  ท่านอธิบดีกรมศิลปากร  รักษาการผู้อำนวยการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา  ท่านผู้บริหารตามสายงาน หวังว่าจะได้รับความเมตตาอนุเคราะห์ ในโอกาสต่อไป  

ภาพตัวอย่าง

โครงการบรรยาย-อภิปราย เนื่องในวันสุนทรภู่ ประจำปี 2565

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 13.00-16.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดโครงการบรรยาย-อภิปราย เนื่องในวันสุนทรภู่ ประจำปี 2565 การอภิปรายและการเล่นสักวาประกอบการแสดงนาฏศิลป์ บรรเลง และขับร้องดนตรีไทย เรื่อง “พระอภัยมณี ตอน สึกชี” โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธาน และนางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ กล่าวรายงาน   การอภิปรายและการเล่นสักวาประกอบการแสดงนาฏศิลป์ บรรเลง และขับร้องดนตรีไทยในครั้งนี้ได้รับความกรุณาจากวิทยาการ ดังนี้ 1. อาจารย์ยุทธ  โตอดิเทพย์ 2. อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง 3. อาจารย์สุพจน์ ชีรานนท์ 4. อาจารย์ชมพร เพชรอนันต์กุล 5. อาจารย์รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล 6. อาจารย์ชื่นกมล ศรีสมโภชน์ รวมถึงศิลปินและนักดนตรีจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร   ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายและการเล่นสักวาประกอบการแสดงนาฏศิลป์ บรรเลง และขับร้องดนตรีไทย ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และเข้าถึงการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live, YouTube Live และแอปพลิเคชัน NLT VDO on Demand

ภาพตัวอย่าง

โครงการจิตรกรน้อย ประจำปี 2565 ณ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 9.00-16.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติโดยหอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรมจิตรกรน้อย ประจำปี 2565 ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2565 ในหัวข้อ "เติมลวดลายระบายกรอบ"  โดยมีผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ นางสาววาสนา งามดวงใจ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความกรุณาจาก ผศ.นภพงศ์ กู้แร่ และนายอติวิชญ์ เอี่ยมสินธร จากวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นวิทยากร จัดขึ้น ณ ห้องอ่านชั้น 1 หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ มีผู้เข้าร่วมอบรม จากโรงเรียนวัดปลูกศรัทธา และโรงเรียนศึกษาพัฒนา จำนวน 50 คน

ภาพตัวอย่าง

พิธีมอบผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน

วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 10.00 น. อธิบดีกรมศิลปากร นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ เป็นประธานในการรับมอบผ้าห่อคัมภีร์ พร้อมทั้งผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ นางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร นายเทิม มีเต็ม นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ นางสาวเอมอร เชาวน์สวน และรักษาการผู้อำนวยการกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก นายจุง ดิบประโคน โดยรับมอบผ้าห่อคัมภีร์จาก นางสาวอิสรีย์ นวกุลย์ชัย ผู้มีจิตศรัทธาภาคประชาชน เป็นผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจำปี 2563 และคณะได้บริจาคผ้าห่อคัมภีร์ใบลานเพื่อการอนุรักษ์เอกสารโบราณตามวัดต่างๆ จำนวน 358 ผืน ดังนี้ 1. วัดบึง(พระอารามหลวง) จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 256  ผืน 2. วัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ จำนวน 102  ผืน โดยมีพิธีมอบผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน ณ บริเวณห้องนิทรรศการ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก อาคาร 2 ชั้น 4 สำนักหอสมุดแห่งชาติ ทั้งนี้ หลังจากรับมอบเสร็จแล้วท่านอธิบดีและคณะผู้บริจาคได้ชมนิทรรศการเอกสารโบราณแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตามสมควร

ภาพตัวอย่าง

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 4 จังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2565

โครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 4 จังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2565 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดย กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ดำเนินงานโครงการสำรวจเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 4  มีผู้ไปปฏิบัติงานตามโครงการจำนวน 5 รายดังนี้ 1. นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ (หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจเอกสารโบราณ)    2. นายสันติ วงศ์จรูญลักษณ์ นักภาษาโบราณชำนาญการ 3. นางรตนาภรณ์ สอาดโอษฐ์  นักภาษาโบราณปฏิบัติการ  4. นายจามีกร ชูทรัพย์ นักภาษาโบราณปฏิบัติการ  5. นายธน ซึมไพศาล พนักงานขับรถยนต์  คณะทำงานได้ไปปฏิบัติงาน จำนวน  2 แห่ง ดังนี้ 1. วัดเพชรสมุทรวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม  ปฏิบัติงานสำรวจและทำทะเบียนเอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลาน โดยได้รับความเมตตาจาก พระสมุทรวชิรโสภณ เจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร พระอารามหลวง อนุญาตให้เข้าไปปฏิบัติงานภายในวัด และมอบหมายให้พระครูสมุทรวชิรานุวัฒน์ เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่คณะทำงาน คณะทำงานได้สำรวจและทำทะเบียนเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน มีขั้นตอนดังนี้ 1. คัดแยกเอกสารตามลักษณะทางกายภาพ ดังนี้    - คัมภีร์ใบลานเส้นจาร ขนาดยาว    - คัมภีร์ใบลานเส้นจาร ขนาดสั้น    - คัมภีร์ใบลาน ไม่มีชื่อเรื่องหน้าปก    - คัมภีร์ใบลานเส้นชุบหมึก    - คัมภีร์ใบลานเส้นพิมพ์    - คัมภีร์ใบลานกระดาษ เส้นพิมพ์    - คัมภีร์ใบลานแตกผูก เป็นใบ ๆ ไม่สามารถนำเรื่องเดียวกันมารวมเป็นผูกได้    - คัมภีร์ใบลาน ที่มีเชื้อรา     เมื่อคัดแยกหมดแล้ว นำคัมภีร์ใบลานเส้นจาร ขนาดยาว มาดำเนินการก่อนเป็นอันดับแรก โดยมีขั้นตอนดังนี้ 2. ปัดฝุ่น เปลี่ยนสายสนองที่ชำรุด  เสริมปกหน้า-หลังผูกที่ไม่มีปก 3. ทำความสะอาดเช็ดเชื้อราออกจากคัมภีร์ใบลาน 4. อ่าน-คัดแยกคัมภีร์ใบลานตามชื่อเรื่อง 5. จัดมัดคัมภีร์  โดยนำเรื่องเดียวกัน ฉบับเดียวกัน มาจัดเข้ามัดก่อน 6. ลงทะเบียนในแบบบันทึกข้อมูล ที่ละเรื่อง พร้อมทั้งให้เลขที่ 7. เขียนเลขที่ บนคัมภีร์ใบลานทุกผูก  8. ประทับตราของวัด บนคัมภีร์ใบลาน 9. ประทับตราของวัด บนไม้ประกับ 10. เขียนป้ายหน้ามัดของคัมภีร์ใบลาน 11. นำผ้าที่ทางวัดจัดเตรียม มาห่อคัมภีร์ใบลาน 12. จัดเก็บขึ้นชั้น โดยเรียงตามเลขที่ ผลการปฏิบัติงาน 1.  ลงทะเบียนคัมภีร์ใบลานเส้นจาร ขนาดยาว อักษรขอมไทย  ภาษาบาลีและภาษาไทย  จำนวน 982 รายการ ลงทะเบียนได้ 149 เลขที่ จัดมัดได้ จำนวน 88 มัด 2. จัดเก็บคัมภีร์ใบลานเส้นพิมพ์ จำนวน 1,801 รายการ 3. วัดคงคาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี นำทะเบียนเอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย ไปส่งมอบให้วัด การดำเนินการ สำเร็จลงได้ด้วยดี จึงขอขอบพระคุณและขอบคุณทุกท่านที่ได้เมตตาและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะท่านเจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร ท่านอธิบดีกรมศิลปากร  ท่านผู้บริหารตามสายงาน หวังว่าจะได้รับความเมตตาอนุเคราะห์ ในโอกาสต่อไป

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรมพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดกิจกรรมพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 การบรรยายหัวข้อ "Open data : การปรับตัวของห้องสมุดในยุคสังคมดิจิทัล” วิทยากรบรรยาย ได้แก่ นายไกลก้อง ไวทยการ ที่ปรึกษาสถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม มูลนิธิบูรณชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) และดร.ฐิติมา ดีบุญมี ณ ชุมแพ ผู้จัดการงานบริการและจัดการความรู้ ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 50 คน และเข้าร่วมผ่านทางโปรแกรม Zoom Meeting จำนวน 100 คน

ภาพตัวอย่าง

กิจกรรม "Kids Inspiration" ปีที่ 5 ครั้งที่ 3

วันที่ 14 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 น. สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ถ่ายทอดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก (Kids Inspiration) ปีที่ 5 ครั้งที่ 3 (ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565) ในหัวข้อ DIY เชิงเทียนจากช้อนพลาสติก โดยมีการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1. การสอนประดิษฐ์เชิงเทียนจากช้อนพลาสติก และขวดน้ำพลาสติก เพื่อนำไปเวียนเทียนในวันวิสาขบูชาวันสำคัญทางพุทธศาสนา สอนให้เด็กได้รู้จักนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ รู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทำให้เด็กมีสมาธิ 2. การเล่านิทานจากบรรณารักษ์หอสมุดแห่งชาติ พร้อมแนะนำหนังสือนิทาน หนังสือเกี่ยวกับการประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ณ ห้องหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักหอสมุดแห่งชาติ กิจกรรมครั้งนี้มีการเข้าถึงการถ่ายทอด ผ่านทาง Facebook Live จำนวนกว่า 1,000 ครั้ง



เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ สามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี