นิทรรศการ “ทีฆายุวัฒนมงคล”
วาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
๑๕ กันยายน ๒๕๖๕
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
![]() |
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต สกุลเดิม ลีละหุต (นามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นธิดาคนที่ ๖ ของว่าที่อำมาตย์ตรีขุนพิทักษ์ประชารมย์ ต่อมาในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กำหนดให้สตรีมีชื่อ ๒ พยางค์ ดังนั้น ด.ญ.แม้น จึงมีชื่อว่า แม้นมาส และเหตุที่ใช้พยัญชนะ ส สะกด เพราะพยัญชนะ ศ และ ษ ถูกตัดออกจากพยัญชนะไทยในสมัยนั้น เพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น |
การศึกษา
![]() นางสาวแม้นมาส ลีละหุต เมื่อสำเร็จปริญญาตรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๔๗๗
— เริ่มการศึกษาในระดับประถมต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดท่ามอญ (ปัจจุบันคือวัดศรีทวี) อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๗๙
— ย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสตรีจุลนาค จังหวัดพระนคร จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖
พ.ศ. ๒๔๘๑
— เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ ๗ - ๘ ที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัย จนสำเร็จการศึกษา และเป็นผู้สอบชั้นมัธยมปีที่ ๘ ได้คะแนนเป็น อันดับ ๒ ของประเทศ จึงได้รับทุนเล่าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๔๘๖
— เข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
พ.ศ. ๒๔๙๒
— สอบชิงทุนกระทรวงศึกษาธิการ และทุนของมหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทวิชาบรรณารักษศาสตร์ ณ
มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษา ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ นอกจากนี้ในระหว่างปิดเทอมภาคฤดูร้อน ได้ ฝึกงานในห้องสมุดสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อหาประสบการณ์ในการทำงานห้องสมุดทุก ๆ ด้านซึ่งขณะนั้นมีคนไทยเพียง คนเดียวที่ไปศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑
— ได้รับทุนอบรมระยะสั้น จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้เข้า
อบรมวิธีสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นระยะเวลา ๖ เดือน ในโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์ ประเทศเดนมาร์ก ต่อจากนั้นได้รับการ ฝึกอบรมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินงานเอกสารของยูเนสโก ต่ออีก ๑ สัปดาห์ ณ สำนักงานใหญ่ของยูเนสโก กรุงปารีส และได้รับประกาศนียบัตรพิเศษของยูเนสโก(วิธีสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์) โรงเรียนบรรณารักษศาสตร |
ชีวิตครอบครัว
นางสาวแม้นมาส ลีละหุต สมรสกับ นายชาย ชวลิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ ระหว่างเดินทางไปศึกษาในระดับปริญญาโท ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจดทะเบียนสมรส ณ เมืองแอนอาเบอร์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา มีบุตรธิดา รวม ๓ คน คือ ๑. นางดารกา ชวลิต วงศ์ศิริ ๒. นางสิริมา ชวลิต บลอม ๓. นายตติย์ ชวลิต |
การทำงาน
เริ่มทำงานเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนภาษาอังกฤษในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ ๑ ปี จากนั้นจึงลาออกไปทำงานหนังสือพิมพ์ประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นิกรรายวัน (พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๔๙๒) ต่อมาได้เข้ารับราชการที่กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ พ.ศ. ๒๔๙๒ เริ่มรับราชการชั้นตรี ตำแหน่งครูประจำการกรมวิสามัญศึกษา (ปัจจุบันคือกรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติงานในกองการศึกษาผู้ใหญ่ พ.ศ. ๒๔๙๗ โอนไปรับราชการในกรมสามัญศึกษา (เดิม) ตำแหน่งประจำแผนกการศึกษาประชาชน กองการ ศึกษาผู้ใหญ่ พ.ศ. ๒๔๙๘ ศึกษานิเทศก์โท ฝ่ายห้องสมุด กองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๕๐๓ โอนไปรับราชการ กรมวิชาการ ตำแหน่งหัวหน้าแผนกอุปกรณ์ กองอุปกรณ์การศึกษาปฏิบัติงานในห้องสมุดกระทรวงศึกษาธิการด้วย พ.ศ. ๒๕๐๕ วิทยากรเอก กรมวิชาการ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับหนังสือเรียน ห้องสมุดกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์วัสดุการศึกษา และห้องสมุดศาลาวันเด็ก พ.ศ. ๒๕๐๗ โอนไปรับราชการกรมศิลปากร ตำแหน่งบรรณารักษ์เอก กองหอสมุดแห่งชาติ
![]() บัตรข้าราชการ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
พ.ศ. ๒๕๑๙ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปีเดียวกันนี้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ พ.ศ. ๒๕๒๐ ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมศิลปากร รับผิดชอบงานบริหารและดูแลงานด้านห้องสมุด ด้านจดหมายเหตุ และด้านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงาน ณ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือแห่งเอเชียและแปซิฟิค ณ เมืองการาจี ประเทศปากีสถาน รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาหนังสือ ฝึกอบรมการสร้างและพัฒนาหนังสือ ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลากว่า ๕ ปี ๓๐ กันยายน ๒๕๒๕ เกษียณอายุราชการ |
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ร่วมประชุมของยูเนสโก เรื่อง
“ห้องสมุดประชาชนในเอเชีย” ณ กรุงเดลีขณะดำรงตำแหน่งประจำแผนกการศึกษาประชาชน กองการศึกษาผู้ใหญ่
![]() ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือในเอเชียและแปซิฟิกของยูเนสโก |
![]() ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ขณะปฏิบัติหน้าที่ |
รางวัลและเกียรติคุณ
พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๙ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
พ.ศ. ๒๕๓๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า จตุตถจุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
พ.ศ. ๒๕๓๗ กิตติเมธีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. ๒๕๓๘ ศิษย์เก่าอักษรศาสตร์ดีเด่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นิสิตรุ่นที่ ๘ (๒๔๘๒ - ๒๔๘๕)
รับโล่จากคณบดี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในฐานะศิษย์เก่าอักษรศาสตร์ดีเด่น
พ.ศ. ๒๕๔๑ บุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต รับโล่เชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม
จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. ๒๕๔๖ รางวัลนราธิป เป็นรางวัลที่มอบให้นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ กวี นักแปล และบรรณาธิการอาวุโส ที่สร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. ๒๕๕๐ รางวัลสุรินทราชา เพื่อเชิดชูเกียรตินักแปลจากผลงานเรื่อง ผจญทะเล และวิมานลอย
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ที่ปรึกษาสมาคมนักแปล
และล่ามแห่งประเทศไทยมอบโล่ “รางวัลสุรินทราชา”
เนื่องในวันนักแปลและล่าม ครั้งที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๐ รางวัลศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ด้านการพัฒนาห้องสมุด ในโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคมมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
รับรางวัล “ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต” (ด้านการพัฒนาห้องสมุด)
ประจำปี ๒๕๕๐ ตามโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม
พ.ศ. ๒๕๕๑ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ รับรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ เนื่องใน “วันครู ๒๕๖๕” ครั้งที่ ๖๖ ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
![]() ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) |
![]() ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) |
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก , https://th.wikipedia.org/wiki/ตติยจุลจอมเกล้า
บทบาทด้านบรรณารักษ์
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยวางรากฐานงานห้องสมุดในประเทศไทยให้ก้าวหน้า ทั้งยังมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ งานที่เกี่ยวกับการพัฒนาห้องสมุดในประเทศซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้แก่
๑. การก่อตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิฟูลไบรท์ (Fulbright) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมมือกันจัดการฝึกอบรมทางบรรณารักษศาสตร์ระยะสั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ ผลจากการฝึกอบรมในครั้งนั้นก่อให้เกิด “ชมรมห้องสมุด” ขึ้น และเพื่อให้สถานภาพของชมรมห้องสมุดมีความมั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ขอจดทะเบียนเป็น “สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย” อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ มีศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นนายกสมาคมห้องสมุด ฯ คนแรก
ต่อมาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙
![]() สำนักงานสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยยุคแรก |
![]() สำนักงานสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในปัจจุบัน |
![]()
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต วิทยากรอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ |
![]() ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต |
![]() ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ในฐานะนายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนำสมาชิกไปศึกษาดูงานห้องสมุด ในประเทศมาเลเซีย |
๒. การพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิตตั้งแต่แรกเริ่มรับราชการได้ทำโครงการเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาห้องสมุดต่าง ๆ เป็นการวางระบบบริหารงานห้องสมุด การดำเนินงานทางเทคนิคการให้บริการ การออกแบบอาคาร ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในงานห้องสมุด ได้แก่
การวางระบบบริหารงานห้องสมุด การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน จัดจำแนกตำแหน่งและกำหนดหน้าที่ใน แต่ละตำแหน่ง กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการทำงานทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณา ผลการปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่ง รวมทั้งเป็นกรรมการกำหนดมาตรฐานห้องสมุดต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศ
การจัดทำมาตรฐานแบบครุภัณฑ์ห้องสมุด และการจัดวางผังห้องสมุดประชาชนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ระหว่างที่ปฏิบัติราชการในกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา
การพัฒนาห้องสมุดต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น การออกแบบห้องสมุดคุรุสภา ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และห้องสมุดโรงเรียนหลายแห่ง เช่น ห้องสมุดทดลองโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ห้องสมุดโรงเรียนตัวอย่าง เพื่อขยายบริการสู่ชุมชนที่บ้านดีลัง จังหวัดลพบุรี และห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาวัดสุตธรรมาราม จังหวัดนครนายก เป็นต้น
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ถวายรายงาน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
และมอบตู้หนังสือให้ชาวเขา ๕๙ ตู้ เนื่องในวันรัชดาภิเษก
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ถวายการแนะนำหนังสือ
และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ณ ห้องสมุดโรงเรียนพึ่งบารมี จังหวัดลพบุรี
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้รับปริญญา
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
วิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นผู้นำและสร้างความก้าวหน้าด้านบรรณารักษศาสตร์แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประกอบกับเป็นผู้ที่เสียสละ เอาใจใส่ ปรับปรุงสร้างสรรค์งานให้ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา นำความเจริญสู่วิชาชีพบรรณารักษ์โดยแท้จริง เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติและเป็นผู้สมควรแก่การยกย่องสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงเห็นสมควรมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณสืบไป
![]()
|
![]() ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต มอบของที่ระลึก |
![]() ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต |
บทบาทด้านการศึกษา
![]() ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต |
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยวางรากฐานวิชาชีพบรรณารักษ์ เป็นบุคคลแรกที่ได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านบรรณารักษศาสตร์ตามมาตรฐานสากลมาใช้ ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์นับว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นผู้มีคุณูปการต่อวิชาชีพบรรณารักษ์ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ดังนี้ |
๑. การร่วมก่อตั้งและพัฒนาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ เพื่อชดเชยความขาดแคลนบุคลากรที่มีวุฒิทางวิชาชีพโดยร่วมจัดทำหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดสอนวิชานี้เป็นแห่งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ เริ่มด้วยหลักสูตรอนุปริญญา ต่อมาขยายเป็นหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และประกาศนียบัตรชั้นสูง โดยได้เข้าร่วมเป็นกรรมการจัดทำหลักสูตรทุกระดับของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มจัดทำหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ ชุดประกาศนียบัตรครู ชุดพิเศษทั้งระดับประโยคครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (พ.ป.)
๒. เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่แรกเริ่มทั้งในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และปริญญาโท นานกว่า ๑๕ ปี ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น
บทบาทด้านหอสมุดแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๐๔ หอสมุดแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวง ศึกษาธิการ ในระยะนั้นมีผู้มาใช้บริการหอสมุดแห่งชาติหนาแน่นจนสถานที่คับแคบ จึงมีการสร้างอาคารหอสมุด แห่งชาติหลังใหม่ ณ ท่าวาสุกรี โดยกรมศิลปากรมีนโยบายจะปรับปรุงโครงสร้างและขยายงานหอสมุดแห่งชาติเข้าสู่มาตรฐานสากล จึงแยกงานหอสมุดแห่งชาติออกจากกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ตั้งเป็นกองหอสมุดแห่งชาติ โดยจัดหาทุนให้เจ้าหน้าที่เดินทางไปศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งขอโอนข้าราชการ ที่มีความสามารถและประสบการณ์ด้านห้องสมุดจากหน่วยงานอื่น เพื่อทำหน้าที่ในการปรับปรุงและพัฒนากิจการ ของหอสมุดแห่งชาติให้บรรลุเป้าหมาย
ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งวิทยากรเอกของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญและมีผลงานด้านกิจการห้องสมุด รับผิดชอบกิจการห้องสมุดของกระทรวง ศึกษาธิการ และเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานในแผนกเด็กห้องสมุดประชาชนคาร์เนกี เมืองพิตต์สเบิร์ก และแผนกวารสารหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยมิชิแกน นับเป็นประสบการณ์สำคัญที่สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาหอสมุดแห่งชาติได้เป็นอย่างดี ซึ่งภารกิจงานสำคัญที่ดำเนินงานระหว่างรับราชการที่กรมศิลปากร มีดังนี้
๑. การก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๐๗ ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้โอน ย้ายมารับราชการที่กรมศิลปากร ในตำแหน่งบรรณารักษ์เอกกองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กรมศิลปากรกำลังก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติที่ท่าวาสุกรี โดยเป็นผู้บุกเบิกงานก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติ และเป็นผู้พิจารณากำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานในอาคารใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะงานตามแบบสากล ตลอดจนร่วมพิจารณาออกแบบครุภัณฑ์ และเครื่องใช้ รวมทั้งกำหนดตำแหน่งที่ตั้งร่วมกับกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
๒. การขนย้ายและการจัดห้องสมุด
พ.ศ. ๒๕๐๘ การก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติแล้วเสร็จ การขนย้ายหนังสือตัวพิมพ์ หนังสือตัวเขียน และตู้พระธรรม ตลอดจนการจัดห้องสมุดใหม่เป็นงานใหญ่และต้องการแผนปฏิบัติงานที่รัดกุม การดำเนินงานภายใต้การบริหารงานของศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา